การยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคเกษตร
แชร์:

ผู้เข้าชมทั้งหมด: 335

การยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคเกษตร

ดาวน์โหลดไฟล์ : 

          ปี 2565 ไทยมีจำนวนเกษตรกร 9,202,664 ราย มีเกษตรกรที่ปลูกพืชเป็นหลัก 4,472,852 ราย เลี้ยงสัตว์ 824,799 ราย และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 49,457 ราย และมีเกษตรกรที่ทำการเกษตร แบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม (3,855,556 ราย) มากถึงร้อยละ 41.9 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด เนื่องจากต้องการลดความเสี่ยงจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุด มีสัดส่วนถึงร้อยละ 48.05 ของจำนวน ครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดใหญ่ เหมาะกับการทำการเกษตรประเภทพืชไร่นา รองลงมา คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง มีสัดส่วนร้อยละ 22.35 15.65 และ 13.95 ของจำนวน ครัวเรือนเกษตรกรทั้งประเทศ ตามลำดับ

          การผลิตสินค้าเกษตรของไทยช่วง 3 ปี (ปี 2563 – 2565) พบว่า ผลผลิตสินค้ากลุ่มพืชไร่ ส่วนใหญ่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และสับปะรดโรงงาน มีอัตรา การเติบโตเฉลี่ยของผลผลิตสูงขึ้นร้อยละ 0.53 16.45 8.39 10.08 และ 1.77 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจาก มีการขยายพื้นที่ปลูก ประกอบกับนโยบายช่วยเหลือและสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงความต้องการของ ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ มีเพียงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของผลผลิตลดลง

          พืชสวน ผลผลิตมีแนวโน้มขยายตัว ปาล์มน้ำมัน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.40 ต่อปี และกลุ่มไม้ผล ทุเรียน และลำไย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 และ 14.98 ขณะที่ มังคุด และยางพารา มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยลดลงร้อยละ -14.25 และ -0.31 ต่อปี ตามลำดับ

          ปศุสัตว์ ปริมาณการผลิตไก่เนื้อ และโคเนื้อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของ ผลผลิตร้อยละ 4.72 และ 5.54 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การผลิตเนื้อสุกร เฉลี่ยลดลงร้อยละ -15.32 ต่อปี เนื่องจากในปี 2565 มีปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดสุกร ทำให้ผลผลิตลดลงมาก

          ประมง ปลานิล มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของผลผลิตสูงขึ้นร้อยละ 4.49 กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มี ปริมาณผลผลิตเท่ากันทั้ง 3 ปี ขณะที่ปลาดุก อัตราการเติบโตเฉลี่ยของผลผลิตลดลงร้อยละ -2.53 ต่อปี