ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการพัฒนาธุรกิจบริการด้านอาหารของไทย
แชร์:

ผู้เข้าชมทั้งหมด: 321

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการพัฒนาธุรกิจบริการด้านอาหารของไทย

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม: 

          ธุรกิจบริการด้านอาหารเป็นธุรกิจที่ช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคบริการของไทยให้เติบโต พร้อมกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านของมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ SMEs สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เห็นความสำคัญของการส่งเสริมธุรกิจบริการด้านอาหารซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยและการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัวและมีโอกาสใน การขยายธุรกิจ จึงได้จัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยขึ้น เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจบริการด้านอาหารของไทย ทั้งในส่วนด้าน การเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการ ด้านการสร้างมาตรฐาน ด้านช่องทางตลาด และด้านการบูรณาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          ธุรกิจบริการด้านอาหาร หมายถึง กลุ่มธุรกิจที่ให้บริการอาหารสำหรับการบริโภคทันทีภายนอกสถานที่พักอาศัย อาทิ ร้านอาหารแบบภัตตาคาร (traditional restaurant) ร้านอาหารที่ลูกค้าบริการตนเอง (self service) หรือร้านที่ให้บริการอาหารแบบรับกลับบ้าน (take away) ซึ่งรวมถึงร้านทั้งที่มีหน้าร้านและไม่มีหน้าร้านและที่มีที่นั่งและไม่มีที่นั่ง โดยมื้ออาหารที่ให้บริการนั้นต้องพร้อมบริโภคโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเภทสถานที่ให้บริการ

          ในปี 2566 ตลาดธุรกิจบริการด้านอาหารของไทยมีมูลค่า 27,533.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่ามูลค่าการขายในช่วงปี 2566-2571 จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ซึ่งมากกว่าการเติบโตช่วงก่อนการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการเติบโตได้รับแรงหนุนจากการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งการทำงานในที่ทำงาน การเพิ่มขึ้นของการเดินทาง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ดี แม้ตลาดจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่อัตราการเติบโตจะชะลอตัว นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าการแข่งขันในตลาดธุรกิจบริการอาหารจะเข้มข้นขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในส่วนของจำนวนผู้ประกอบการ ในปี 2565 มีผู้ประกอบการในธุรกิจบริการด้านอาหารทั้งหมด (TSIC 56)