แนวทางการพัฒนาศักยภาพการค้าสินค้ากุ้ง
แชร์:

ผู้เข้าชมทั้งหมด: 39

แนวทางการพัฒนาศักยภาพการค้าสินค้ากุ้ง

ดาวน์โหลดเอกสาร: 

          อุตสาหกรรมกุ้งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลัก ที่สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้กับคนไทยจำนวนมาก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการส่งออกกุ้งของไทยอยู่ในกลุ่ม 1 ใน 4 ผู้นำการส่งออกกุ้งของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างอาชีพ และรายได้ให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และแรงงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การเพาะเลี้ยง การแปรรูป ไปจนถึงการตลาดในห่วงโซ่อุปทานมากกว่า 2 ล้านคน กุ้งจึงเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญที่มีบทบาทต่อครัวเรือนของไทยและมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน และด้วยมาตรฐานการผลิต การเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเลในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย จึงส่งผลให้สินค้ากุ้งของไทยได้รับการยอมรับและเป็นหนึ่งในผู้นำการส่งออกกุ้งระดับโลก

          จากการศึกษาฯ พบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การค้าสินค้ากุ้งของไทยต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคหลายประการ อาทิ (1) ปัญหาโรคระบาดไม่ได้รับการแก้ไขเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งไทยลดลง (2) ปัญหาด้านการตลาด เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการที่ปริมาณผลผลิตกุ้งในไทยลดลง ส่งผลให้เกิดความผันผวนทั้งอุปสงค์และอุปทาน (3) ปัญหาด้านเสถียรภาพราคา สาเหตุจากเรื่องต้นทุนการผลิต ปัญหาโรคระบาด การขนส่ง และอัตราแลกเปลี่ยน (4) อุปสรรคจากมาตรการกีดกันทางการค้า อาทิ การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duty: AD) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (5) การขาดสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ อาทิ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System Preference: GSP) และ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement-FTA) จากการศึกษาฯ พบว่า ประเทศไทยยังคงมีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างน้อยในตลาดนำเข้ากุ้งสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ เป็นต้น ประเทศไทย ควรมุ่งเน้นกลยุทธ์ที่หลากหลายและเชิงลึก