เส้นทางการค้าสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: โอกาสเชื่อมภูมิภาค-เชื่อมโลก
แชร์:

ผู้เข้าชมทั้งหมด: 186

เส้นทางการค้าสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง: โอกาสเชื่อมภูมิภาค-เชื่อมโลก

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม: 

          ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่กำลังคุกรุ่น สร้างความเปราะบาง แก่ธุรกิจและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ซึ่งไทยเองก็ยากจะหลีกเลี่ยง และเมื่อการค้าได้รับผลกระทบ ธุรกิจบริการ โลจิสติกส์ที่รองรับห่วงโซ่อุปทานของการค้าก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย อย่างไรก็ดี ยังมีกลไกสำคัญ บางประการที่อาจช่วยลดทอนผลกระทบเชิงลบ สร้างความแข็งแกร่ง ตลอดจนคว้าโอกาสจากผลกระทบ เชิงบวก หนึ่งในนั้นคือความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยสำหรับประเทศไทย มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจหนึ่ง ที่สำคัญ คืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ระหว่าง เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน1
          ในปี 2567 การค้าระหว่างไทยกับประเทศใน GMS มีมูลค่า 5,748,689 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.57% เมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 26.81% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย แบ่งเป็นการส่งออก มูลค่า 2,295,419 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.42% คิดเป็นสัดส่วน 21.76% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และการนำเข้า มูลค่า 3,453,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.75% คิดเป็นสัดส่วน 31.69% ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย โดยไทยขาดดุลการค้า 1,157,850 ล้านบาท GMS จึงเป็นคู่ค้าที่สำคัญ เป็นอันดับต้น ๆ ของไทย เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการค้าดังกล่าว นอกจากนั้น มูลค่าการค้าระหว่างไทย กับ GMS ยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ในเชิงพื้นที่ อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอาจครอบคลุมเฉพาะจีนตอนใต้ แต่ในเชิงการค้า พื้นที่ตอนใต้ของจีนก็เป็นประตูเชื่อม อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงสู่ตลาดจีนในภาพรวม บทความฉบับนี้จึงกล่าวถึงการค้ากับจีนในภาพรวม ไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของจีน