การศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

การศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

avatar

Administrator


336


<p><strong>การศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่</strong></p>

<ul>
	<li>โครงการได้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ 4 ประเด็น คือ ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ภาวะเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้ง 4 ประเด็น มีส่วนสำคัญต่อการขยายขอบเขตของความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน โดยที่ปรึกษาของโครงการ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสอบถามเชิงลึกกับกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน พื้นที่ตำ บลคลองโยง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่จะใช้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตรของไทยได้ โดยการลงพื้นที่ดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา</li>
	<li><strong>ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม</strong>&nbsp;ผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคม กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ต.คลองโยง จ.นครปฐม ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 1,800 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และพืชสวนประเภทอื่นๆ เช่น ผัก และผลไม้ เป็นต้น</li>
	<li><strong>ผลจากการมีส่วนร่วม&nbsp;</strong>กลุ่มผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่มีส่วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตร เกิดขึ้นจาก 4 สาเหตุสำคัญคือ
	<ul>
		<li><u>ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ</u>&nbsp;เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ่อยครั้ง ทำให้เกษตรกรสูญเสียเงินทุนที่สะสมมาทั้งหมด จึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าเกษตรประเภทอื่นได้นอกจากการทำนาข้าว แม้จะได้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า</li>
		<li><u>วงจรหนี้สิน</u>&nbsp;เมื่อเกิดความเสียหายแก่ผลผลิต เกษตรกรต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาทำการผลิตในรอบถัดไป กลายเป็นวงจรหนี้สินที่ไม่จบสิ้น หนี้สินบางส่วนถูกส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป</li>
		<li><u>การไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร</u>&nbsp;โดยเฉพาะการเข้าถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เกษตรกรไม่มีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นหลักทรัพย์สำคัญที่ใช้ในการกู้ยืมสินเชื่อในระบบ</li>
		<li><u>การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี&nbsp;</u>เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขณะที่คนหนุ่มสาวเลือกที่จะไปทำงานในตัวเมือง ทำให้การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี การใช้ประโยชน์จากบริการทางการเงิน และการรับการช่วยเหลือของภาครัฐผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล มีข้อจำกัดมาก</li>
	</ul>
	</li>
	<li><strong>ข้อเสนอโดยตรงที่มีต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ</strong>&nbsp;มีการเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดการปัญหาอย่างจริงจัง รับฟังเสียงสะท้อนในเชิงลึกของผู้ที่มีปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง รวมทั้งคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน เพื่อออกแบบนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และมีความยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
	<ul>
		<li><u>นโยบายการหาตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตร</u>&nbsp;มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะการปลูกพืชที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เช่น ข้าวอินทรีย์ และผักอินทรีย์ เป็นต้น ภาครัฐต้องทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าถ้ามีการลงทุนปลูกพืชชนิดนั้นๆ แล้ว จะสามารถขายได้จริง โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมบูรณาการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกัน</li>
		<li><u>นโยบายรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติ</u>&nbsp;การสร้างระบบป้องกันความเสี่ยงจากน้ำท่วมล่วงหน้า เช่น นโยบายให้รัฐเช่าที่นาของชาวบ้านเพื่อรองรับน้ำท่วม จะทำให้เกษตกรมีรายได้ในช่วงที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ขณะที่ภาครัฐได้พื้นที่รองรับน้ำปริมาณมหาศาลในช่วงที่เกิดอุทกภัย</li>
		<li><u>นโยบายกำกับดูแลโรงสีและพ่อค้าคนกลาง</u>&nbsp;เช่น การติดตามดูแลราคารับซื้อของโรงสี เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่กับชาวนารายย่อยได้จริง</li>
	</ul>
	</li>
	<li><strong>การนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการดำเนินงาน</strong>&nbsp;หลังจากที่กองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค ได้นำประเด็นและข้อเสนอแนะที่หารือกัน ไปปรับเปลี่ยนเป็นประเด็นคำถามสำหรับการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ โดยกลุ่มที่ได้มีการลงพื้นที่แรกเสร็จสิ้นไปแล้ว คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคลองโยง จ.นครปฐม ซึ่งเป็นตัวแทนในภาคเกษตรกรที่มาสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค แนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และข้อเสนอแนะที่มีต่อภาครัฐ ซึ่งจะนำไปประมวลผลให้ออกมาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับกระทรวงพาณิชย์ในขั้นตอนต่อไป</li>
</ul>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ดังที่ปรากฎในรายงานผลการดำเนินงาน &ldquo;โครงการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่&rdquo; งวดที่ 2 ซึ่งที่ปรึกษาโครงการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งเอกสารหลักฐานการลงพื้นที่ดังกล่าวให้แก่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566</p>

<p>----------------------------------------------------------</p>

<p>กองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค</p>

<p>24 มีนาคม 2566</p>

<p>ดาวโหลดข้อมูลได้ที่ลิงก์&nbsp;<a href="http://uploads.tpso.go.th/kaarsueksaakaarldkhwaamehluuemlamthaangesrsthkicch_1.pdf" target="_blank">kaarsueksaakaarldkhwaamehluuemlamthaangesrsthkicch_1.pdf</a></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/512410.jpg" style="height:675px; width:1200px" /><img src="http://uploads.tpso.go.th/512411.jpg" style="height:900px; width:1200px" /></p>

การศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

  • โครงการได้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเหลื่อมล้ำ 4 ประเด็น คือ ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ภาวะเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้ง 4 ประเด็น มีส่วนสำคัญต่อการขยายขอบเขตของความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน โดยที่ปรึกษาของโครงการ ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสอบถามเชิงลึกกับกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน พื้นที่ตำ บลคลองโยง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่จะใช้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตรของไทยได้ โดยการลงพื้นที่ดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา
  • ข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากภาคประชาสังคม กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ต.คลองโยง จ.นครปฐม ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกรวมกันประมาณ 1,800 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และพืชสวนประเภทอื่นๆ เช่น ผัก และผลไม้ เป็นต้น
  • ผลจากการมีส่วนร่วม กลุ่มผู้เข้าร่วมได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่มีส่วนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในภาคการเกษตร เกิดขึ้นจาก 4 สาเหตุสำคัญคือ
    • ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ่อยครั้ง ทำให้เกษตรกรสูญเสียเงินทุนที่สะสมมาทั้งหมด จึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าเกษตรประเภทอื่นได้นอกจากการทำนาข้าว แม้จะได้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า
    • วงจรหนี้สิน เมื่อเกิดความเสียหายแก่ผลผลิต เกษตรกรต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาทำการผลิตในรอบถัดไป กลายเป็นวงจรหนี้สินที่ไม่จบสิ้น หนี้สินบางส่วนถูกส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป
    • การไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร โดยเฉพาะการเข้าถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน เกษตรกรไม่มีโฉนดที่ดินซึ่งเป็นหลักทรัพย์สำคัญที่ใช้ในการกู้ยืมสินเชื่อในระบบ
    • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขณะที่คนหนุ่มสาวเลือกที่จะไปทำงานในตัวเมือง ทำให้การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี การใช้ประโยชน์จากบริการทางการเงิน และการรับการช่วยเหลือของภาครัฐผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล มีข้อจำกัดมาก
  • ข้อเสนอโดยตรงที่มีต่อกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ มีการเสนอให้รัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดการปัญหาอย่างจริงจัง รับฟังเสียงสะท้อนในเชิงลึกของผู้ที่มีปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง รวมทั้งคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน เพื่อออกแบบนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และมีความยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
    • นโยบายการหาตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตร มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเฉพาะการปลูกพืชที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เช่น ข้าวอินทรีย์ และผักอินทรีย์ เป็นต้น ภาครัฐต้องทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าถ้ามีการลงทุนปลูกพืชชนิดนั้นๆ แล้ว จะสามารถขายได้จริง โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมบูรณาการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกัน
    • นโยบายรองรับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติ การสร้างระบบป้องกันความเสี่ยงจากน้ำท่วมล่วงหน้า เช่น นโยบายให้รัฐเช่าที่นาของชาวบ้านเพื่อรองรับน้ำท่วม จะทำให้เกษตกรมีรายได้ในช่วงที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ขณะที่ภาครัฐได้พื้นที่รองรับน้ำปริมาณมหาศาลในช่วงที่เกิดอุทกภัย
    • นโยบายกำกับดูแลโรงสีและพ่อค้าคนกลาง เช่น การติดตามดูแลราคารับซื้อของโรงสี เพื่อให้ประโยชน์ตกอยู่กับชาวนารายย่อยได้จริง
  • การนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการดำเนินงาน หลังจากที่กองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค ได้นำประเด็นและข้อเสนอแนะที่หารือกัน ไปปรับเปลี่ยนเป็นประเด็นคำถามสำหรับการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ โดยกลุ่มที่ได้มีการลงพื้นที่แรกเสร็จสิ้นไปแล้ว คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคลองโยง จ.นครปฐม ซึ่งเป็นตัวแทนในภาคเกษตรกรที่มาสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค แนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และข้อเสนอแนะที่มีต่อภาครัฐ ซึ่งจะนำไปประมวลผลให้ออกมาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับกระทรวงพาณิชย์ในขั้นตอนต่อไป

        ดังที่ปรากฎในรายงานผลการดำเนินงาน “โครงการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” งวดที่ 2 ซึ่งที่ปรึกษาโครงการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ส่งเอกสารหลักฐานการลงพื้นที่ดังกล่าวให้แก่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566

----------------------------------------------------------

กองวิจัยเศรษฐกิจการค้ามหภาค

24 มีนาคม 2566

ดาวโหลดข้อมูลได้ที่ลิงก์ 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)