ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนเมษายน 2566

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนเมษายน 2566

avatar

Administrator


323


<p>วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. นายกีรติ&nbsp; รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ&ndash;การค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนเมษายน 2566 และ 4 เดือนแรกของปี 2566 พร้อมด้วย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ที่ห้องบุรฉัตรไชรยากร ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์</p>

<p><strong>การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (737,788 ล้านบาท)&nbsp;</strong><strong>หดตัวร้อยละ 7.6 หากหัก</strong><strong>สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 6.8&nbsp;</strong>ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกกดดันอุปสงค์ด้านการส่งออก หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงเผชิญกับการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่าปัจจัยด้านเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ความเปราะบางของภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน ตรงข้ามกับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกผลไม้ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงข้าว ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทยกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้&nbsp;<strong>การส่งออกไทย 4 เดือนแรก</strong><strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ</strong><strong>&nbsp;5.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับ</strong><strong>น้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ</strong>&nbsp;<strong>2.3</strong></p>

<p><strong>มูลค่าการค้ารวม</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ&nbsp;</strong>เดือนเมษายน 2566<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออก&nbsp;</strong>มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐหดตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 23,195.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.3<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;1,471.7 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออก</strong>&nbsp;มีมูลค่า 92,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การนำเข้า</strong>&nbsp;มีมูลค่า 96,519.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.2<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;4,516.0 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท&nbsp;</strong>เดือนเมษายน 2566<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออก&nbsp;</strong>มีมูลค่า 737,788 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 797,373 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.4&nbsp;<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;59,584 ล้านบาท</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออก</strong>&nbsp;มีมูลค่า 3,110,977 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การนำเข้า</strong>&nbsp;มีมูลค่า 3,305,763 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;<u>ขาดดุล</u>&nbsp;194,786 ล้านบาท</p>

<p><strong>การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร</strong></p>

<p><strong>มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน มาจากการขยายตัวของสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 23.8 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน หดตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าสำคัญที่<u>ขยายตัว</u>&nbsp;</strong>ได้แก่&nbsp;<strong>ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 142.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ และไต้หวัน)&nbsp;<strong>ข้าว&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 3.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และญี่ปุ่น)&nbsp;<strong>เครื่องดื่ม&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 2.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และสหรัฐฯ)&nbsp;<strong>ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 38.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์)&nbsp;<strong>ผักกระป๋องและผักแปรรูป&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 6.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และฟิลิปปินส์)&nbsp;<strong>นมและผลิตภัณฑ์นม</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 24.2 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และเวียดนาม)</p>

<p>&nbsp;ขณะที่<strong>สินค้าสำคัญที่<u>หดตัว</u>&nbsp;</strong>อาทิ&nbsp;<strong>ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 44.1 หดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว เนเธอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้)&nbsp;<strong>ยางพารา</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 40.2 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดจีน เยอรมนี และบัลแกเรีย)&nbsp;<strong>อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 17.1 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย ชิลี และกัมพูชา)&nbsp;<strong>ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ เวียดนาม ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย)&nbsp;<strong>อาหารสัตว์เลี้ยง</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 33.6 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดลาว กัมพูชา เมียนมา แคนาดา และเบลเยียม) ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7</strong></p>

<p><strong>การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม</strong></p>

<p><strong>มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 11.2 (YoY)&nbsp;</strong><strong>หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน แม้ว่าการส่งออก</strong><strong>ภาพรวมของหมวดจะหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่<u>ขยายตัว</u>&nbsp;</strong>อาทิ<strong>&nbsp;รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 3.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)&nbsp;<strong>เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 55.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา และฝรั่งเศส)&nbsp;<strong>อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 107.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย)&nbsp;<strong>หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 25.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี)&nbsp;<strong>เครื่องใช้สำหรับเดินทาง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 28.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 26 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง)</p>

<p>ขณะที่<strong>สินค้าสำคัญที่<u>หดตัว</u>&nbsp;</strong>อาทิ&nbsp;<strong>สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 23.5 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลาว ออสเตรเลีย ฮ่องกง และแอฟริกาใต้)&nbsp;<strong>เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 19.0 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และอินเดีย)<strong>&nbsp;เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 11.5 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอาร์เจนตินา)&nbsp;<strong>อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อินเดีย และเบลเยียม แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น ตุรกี เมียนมา และอิสราเอล)&nbsp;<strong>เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 27.1 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเมียนมา) ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong><strong>&nbsp;การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.1</strong></p>

<p><strong>ตลาดส่งออกสำคัญ</strong></p>

<p><strong>การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาหดตัว ตามการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบวกที่สำคัญจากการส่งออกไปตลาดจีนกลับที่มาขยายตัวในรอบ 11 เดือน&nbsp;</strong>ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้&nbsp;<strong>(1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 6.2&nbsp;</strong>โดยหดตัวในตลาด<u>สหรัฐฯ</u>&nbsp;ร้อยละ 9.6&nbsp;<u>ญี่ปุ่น</u>&nbsp;ร้อยละ 8.1&nbsp;<u>อาเซียน (5)</u>&nbsp;ร้อยละ 17.7&nbsp;<u>CLMV</u>&nbsp;ร้อยละ 17.0 และ<u>สหภาพยุโรป (27)</u>&nbsp;ร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตามตลาด<u>จีน</u>กลับมาขยายตัว ร้อยละ 23.0<strong>&nbsp;(2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 14.9&nbsp;</strong>โดยหดตัวในตลาด<u>เอเชียใต้</u>&nbsp;ร้อยละ 25.9&nbsp;<u>ตะวันออกกลาง</u>&nbsp;ร้อยละ 16.7&nbsp;<u>แอฟริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 26.9&nbsp;<u>ลาตินอเมริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 9.4 แต่ขยายตัวในตลาด<u>ทวีปออสเตรเลีย</u>&nbsp;ร้อยละ 4.4 ตลาด<u>รัสเซียและกลุ่ม&nbsp;</u><u>CIS</u>&nbsp;ร้อยละ 155.4 และ<u>สหราชอาณาจักร</u>&nbsp;ร้อยละ 49.0&nbsp;<strong>(3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 72.2&nbsp;</strong>อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 77.9</p>

<p><strong>ตลาดสหรัฐฯ</strong>&nbsp;<strong>กลับมาหดตัวร้อยละ&nbsp;</strong><strong>9.6</strong>&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 5.2</p>

<p><strong>ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 23.0</strong>&nbsp;(กลับมาขยายตัวในรอบ 11 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 0.7</p>

<p><strong>ตลาดญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 8.1</strong>&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ทองแดงและของทำด้วยทองแดงเม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 2.0</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดอาเซียน (5)</strong>&nbsp;<strong>หดตัวร้อยละ 17.7</strong>&nbsp;(หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และยางพารา เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 6.2</p>

<p><strong>ตลาด CLMV</strong>&nbsp;<strong>หดตัวร้อยละ 17.0</strong>&nbsp;(หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 9.0</p>

<p><strong>ตลาดสหภาพยุโรป (27)</strong>&nbsp;<strong>หดตัวร้อยละ 8.2</strong>&nbsp;(หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 3.6</p>

<p><strong>ตลาดเอเชียใต้</strong>&nbsp;<strong>หดตัวร้อยละ&nbsp;</strong><strong>25.9</strong>&nbsp;(หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 12.1</p>

<p><strong>ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 4.4&nbsp;</strong>(กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และปูนซิเมนต์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 10.5</p>

<p><strong>ตลาดตะวันออกกลาง หดตัวร้อยละ 16.7&nbsp;</strong>(กลับมาหดตัวในรอบ 15 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 7.0</p>

<p><strong>ตลาดแอฟริกา หดตัวร้อยละ 26.9&nbsp;</strong>(กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลทราย เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 0.5</p>

<p><strong>ตลาดลาตินอเมริกา (47)</strong>&nbsp;<strong>กลับมาหดตัวร้อยละ 9.4</strong>&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ข้าว เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 1.4</p>

<p><strong>ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 155.4</strong>&nbsp;(ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และข้าว เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 19.2</p>

<p><strong>ตลาดสหราชอาณาจักร</strong>&nbsp;<strong>ขยายตัวร้อยละ&nbsp;</strong><strong>49.0&nbsp;</strong>(ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้&nbsp;<strong>4 เดือนแรกของปี 2566</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 12.9</p>

<p><strong>การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป</strong></p>

<p><strong>การส่งเสริมการส่งออก</strong>&nbsp;กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ&nbsp;<strong>(1) การดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2566&nbsp;</strong>เร่งระบายผลผลิตจากแหล่งผลิตออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และรักษาราคาผลไม้ ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ด้วยโครงการ &ldquo;อมก๋อยโมเดล&rdquo; และโครงการ &ldquo;Fruit Festival 2023&rdquo; รวมถึงติดตามสถานการณ์ส่งออกผลไม้ผ่านด่านชายแดนทางบกเข้าสู่จีนผ่านด่านโหยวอี้กวนและด่านโมฮานของจีน&nbsp;<strong>(2) การนำคณะผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อขยายตลาด</strong>&nbsp;โดยนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงาน Top Thai Brands Hainan 2023 ที่มณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งได้นำกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์รวมจัดแสดงในงาน ได้แก่ เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว ยา เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ของขวัญและตกแต่ง สินค้าหัตถกรรม เสื้อผ้าแฟชั่น อัญมณีและเครื่องประดับเงิน เป็นต้น&nbsp;<strong>(3) ผลักดันตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง</strong>&nbsp;กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมมอบนโยบายปฏิบัติงานแก่ทูตพาณิชย์จากทั่วโลก ร่วมกับพาณิชย์จังหวัด และผู้แทนภาคเอกชน เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการส่งออก โดยจะเพิ่มกิจกรรมเจาะตลาดเป้าหมาย 350 กิจกรรมใน 7 ภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 19,250 ล้านบาท นอกจากนี้ จะร่วมมือกับภาคเอกชน ตั้งคณะทำงานเป็นรายกลุ่มคลัสเตอร์ หรือกลุ่มสินค้า เพื่อประเมินการส่งออกหามาตรการรองรับ และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ร้อยละ 1 &ndash; 2 ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงานที่มีความท้าทายและเป็นไปได้</p>

<p><strong>แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป</strong>&nbsp;กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปีนี้</p>

<p>--------------------------------------------</p>

<p>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า<br />
กระทรวงพาณิชย์<br />
30 พฤษภาคม 2566</p>

<p><strong>อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่:&nbsp;</strong><a href="https://tpso.netlify.app/document/2305-0000000666">https://tpso.netlify.app/document/2305-0000000666</a></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230531142026-1.jpeg" style="height:923px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/img_3469.jpg" style="height:800px; width:1200px" /><img src="http://uploads.tpso.go.th/img_3642.jpg" style="height:800px; width:1200px" /><img src="http://uploads.tpso.go.th/img_3480.jpg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230531142042-3.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. นายกีรติ  รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ–การค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนเมษายน 2566 และ 4 เดือนแรกของปี 2566 พร้อมด้วย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ที่ห้องบุรฉัตรไชรยากร ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (737,788 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 7.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 6.8 ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกกดดันอุปสงค์ด้านการส่งออก หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงเผชิญกับการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่าปัจจัยด้านเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ความเปราะบางของภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน ตรงข้ามกับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกผลไม้ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงข้าว ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทยกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 5.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.3

มูลค่าการค้ารวม

                     มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนเมษายน 2566
                     การส่งออก มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐหดตัวร้อยละ 7.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 23,195.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.3
                     ดุลการค้า ขาดดุล 1,471.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

                     ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566
                     การส่งออก มีมูลค่า 92,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 96,519.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.2
                     ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 4,516.0 ล้านเหรียญสหรัฐ

                     มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนเมษายน 2566
                     การส่งออก มีมูลค่า 737,788 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 797,373 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.4 ดุลการค้า ขาดดุล 59,584 ล้านบาท

                     ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566
                     การส่งออก มีมูลค่า 3,110,977 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 3,305,763 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8
                     ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 194,786 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน มาจากการขยายตัวของสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 23.8 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน หดตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 142.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ และไต้หวัน) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 3.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และญี่ปุ่น) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 2.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และสหรัฐฯ) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 38.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 6.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และฟิลิปปินส์) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 24.2 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และเวียดนาม)

 ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 44.1 หดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว เนเธอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้) ยางพารา หดตัวร้อยละ 40.2 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดจีน เยอรมนี และบัลแกเรีย) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 17.1 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย ชิลี และกัมพูชา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ เวียดนาม ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 33.6 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดลาว กัมพูชา เมียนมา แคนาดา และเบลเยียม) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 11.2 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดจะหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 55.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา และฝรั่งเศส) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 107.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 25.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 28.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 26 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 23.5 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลาว ออสเตรเลีย ฮ่องกง และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 19.0 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และอินเดีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.5 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอาร์เจนตินา) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อินเดีย และเบลเยียม แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น ตุรกี เมียนมา และอิสราเอล) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 27.1 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเมียนมา) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.1

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาหดตัว ตามการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบวกที่สำคัญจากการส่งออกไปตลาดจีนกลับที่มาขยายตัวในรอบ 11 เดือน ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 6.2 โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 17.7 CLMV ร้อยละ 17.0 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตามตลาดจีนกลับมาขยายตัว ร้อยละ 23.0 (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 14.9 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 25.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 16.7 แอฟริกา ร้อยละ 26.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 9.4 แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 4.4 ตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 155.4 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 49.0 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 72.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 77.9

ตลาดสหรัฐฯ กลับมาหดตัวร้อยละ 9.6 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.2

ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 23.0 (กลับมาขยายตัวในรอบ 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 0.7

ตลาดญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 8.1 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ทองแดงและของทำด้วยทองแดงเม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 2.0

                     ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 17.7 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และยางพารา เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 6.2

ตลาด CLMV หดตัวร้อยละ 17.0 (หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 9.0

ตลาดสหภาพยุโรป (27) หดตัวร้อยละ 8.2 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.6

ตลาดเอเชียใต้ หดตัวร้อยละ 25.9 (หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 12.1

ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 4.4 (กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และปูนซิเมนต์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 10.5

ตลาดตะวันออกกลาง หดตัวร้อยละ 16.7 (กลับมาหดตัวในรอบ 15 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 7.0

ตลาดแอฟริกา หดตัวร้อยละ 26.9 (กลับมาหดตัวในรอบ 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องยนต์สันดาปภายใน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และน้ำตาลทราย เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 0.5

ตลาดลาตินอเมริกา (47) กลับมาหดตัวร้อยละ 9.4 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 1.4

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 155.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 19.2

ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 49.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และวงจรพิมพ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 12.9

การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2566 เร่งระบายผลผลิตจากแหล่งผลิตออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และรักษาราคาผลไม้ ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ด้วยโครงการ “อมก๋อยโมเดล” และโครงการ “Fruit Festival 2023” รวมถึงติดตามสถานการณ์ส่งออกผลไม้ผ่านด่านชายแดนทางบกเข้าสู่จีนผ่านด่านโหยวอี้กวนและด่านโมฮานของจีน (2) การนำคณะผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อขยายตลาด โดยนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงาน Top Thai Brands Hainan 2023 ที่มณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งได้นำกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์รวมจัดแสดงในงาน ได้แก่ เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว ยา เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ของขวัญและตกแต่ง สินค้าหัตถกรรม เสื้อผ้าแฟชั่น อัญมณีและเครื่องประดับเงิน เป็นต้น (3) ผลักดันตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมมอบนโยบายปฏิบัติงานแก่ทูตพาณิชย์จากทั่วโลก ร่วมกับพาณิชย์จังหวัด และผู้แทนภาคเอกชน เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการส่งออก โดยจะเพิ่มกิจกรรมเจาะตลาดเป้าหมาย 350 กิจกรรมใน 7 ภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 19,250 ล้านบาท นอกจากนี้ จะร่วมมือกับภาคเอกชน ตั้งคณะทำงานเป็นรายกลุ่มคลัสเตอร์ หรือกลุ่มสินค้า เพื่อประเมินการส่งออกหามาตรการรองรับ และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ร้อยละ 1 – 2 ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงานที่มีความท้าทายและเป็นไปได้

แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปีนี้

--------------------------------------------

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
กระทรวงพาณิชย์
30 พฤษภาคม 2566

อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่: https://tpso.netlify.app/document/2305-0000000666

เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)