พาณิชย์เผย เงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง และปรับตัวเลขคาดการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

พาณิชย์เผย เงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง และปรับตัวเลขคาดการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

avatar

Administrator


120


<p><strong>พาณิชย์เผย เงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง และปรับตัวเลขคาดการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย<strong>เดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 107.</strong><strong>83&nbsp;</strong>เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 107.58<strong>&nbsp;ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป</strong><strong>&nbsp;ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ที่ร้อยละ 0.</strong><strong>23 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน&nbsp;</strong>ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลง และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานราคาเดือนมิถุนายน 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง ทั้งนี้ สนค. ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 &ndash; 2.0 (ค่ากลาง 1.5) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ&nbsp;</strong>(ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2566) พบว่า อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (YoY)&nbsp;</strong>มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.37 (YoY)&nbsp;</strong>ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ผักและผลไม้สด (มะนาว ผักคะน้า กะหล่ำปลี เงาะ แตงโม ทุเรียน) ไข่ไก่ และไข่เป็ด &nbsp;เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียน และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูป (อาหารเช้า อาหารตามสั่ง) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์นม (นมข้นหวาน ครีมเทียม นมเปรี้ยว) และข้าวสาร ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และมีสต็อกสะสมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ขยายปริมาณการเลี้ยง ไส้กรอก เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) ผักสดบางชนิด (ผักบุ้ง พริกสด) และอาหารโทรสั่ง (Delivery)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.88 (YoY)&nbsp;</strong>ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยปรับลดลงทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน&nbsp;นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้ง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ราคายังคงลดลงต่อเนื่อง รวมถึง เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ ค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า) หน้ากากอนามัย และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ราคาปรับลดลง ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึง ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน ค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว) ค่าการศึกษา ค่าแต่งผมชายและสตรี</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>เงินเฟ้อพื้นฐาน&nbsp;</strong>เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก<strong>&nbsp;สูงขึ้นร้อยละ 1.</strong><strong>32 (YoY)&nbsp;</strong>ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.55 (YoY)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.6</strong>&nbsp;<strong>(</strong><strong>MoM) ตามราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.05</strong>&nbsp;อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า จากการสิ้นสุดมาตรการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาทต่อครัวเรือน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ค่าเช่าบ้าน เครื่องแบบนักเรียน ค่าจ้างซักรีด ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ สารกำจัดแมลง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล ค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว โฟมล้างหน้า)<strong>&nbsp;ขณะที่</strong><strong>ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.02</strong>&nbsp;อาทิ เนื้อสุกร ปลาทู ข้าวสารเจ้า ผักสด (มะเขือ มะนาว ผักบุ้ง) อาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง ส่วนไข่ไก่ ไข่เป็ด นมเปรี้ยว ผักและผลไม้สด (กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ทุเรียน ส้มเขียวหวาน มะม่วง) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำดื่ม และน้ำหวาน ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สำหรับ<strong>ไตรมาสที่ 2 ปี 2566&nbsp;</strong>เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.14 (YoY) และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.31 (QoQ)&nbsp;<strong>เฉลี่ย&nbsp;</strong><strong>6 เดือนแรก (ม.ค. &ndash; มิ.ย.) ปี 2566&nbsp;</strong>เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 2.49 (AoA)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ</strong>&nbsp;เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มทรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง ราคาอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ที่คาดว่าจะลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มสูงขึ้นจากอิทธิพลของภัยแล้ง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งของโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค และมาตรการรัฐต่าง ๆ รวมทั้งภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดได้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7 &ndash; 2.7 (ค่ากลาง 2.2) ในเดือนเมษายน 2566 เป็นระหว่างร้อยละ&nbsp; 1.0 &ndash; 2.0 (ค่ากลาง 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า และยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7</strong>&nbsp;โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมาตรการภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดค่าไฟฟ้า และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าและบริการที่อยู่ระดับสูง และช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการลงทุนในภาครัฐชะลอตัว รวมทั้ง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยทอนให้ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมปรับลดลง</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131300-1.png" style="height:660px; width:660px" /></p>

<p><strong>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า<br />
กระทรวงพาณิชย์<br />
5 กรกฎาคม 2566</strong></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131409-3.jpeg" style="height:720px; width:1080px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131419-4.jpeg" style="height:720px; width:1080px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131428-5.jpeg" style="height:720px; width:1080px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131436-6.jpeg" style="height:720px; width:1080px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230712131459-7.jpeg" style="height:720px; width:1080px" /></p>

<p>&nbsp;</p>

พาณิชย์เผย เงินเฟ้อชะลอตัวต่อเนื่อง และปรับตัวเลขคาดการณ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

                     นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนมิถุนายน 2566 เท่ากับ 107.83 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 107.58 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ต่ำสุดในรอบ 22 เดือน ที่ร้อยละ 0.23 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารที่ราคาปรับลดลง และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานราคาเดือนมิถุนายน 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้ออยู่ระดับสูง ทั้งนี้ สนค. ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 2.0 (ค่ากลาง 1.5) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

                     อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2566) พบว่า อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม)

                     อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

                     หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.37 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ผักและผลไม้สด (มะนาว ผักคะน้า กะหล่ำปลี เงาะ แตงโม ทุเรียน) ไข่ไก่ และไข่เป็ด  เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตมีไม่มาก ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียน และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูป (อาหารเช้า อาหารตามสั่ง) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์นม (นมข้นหวาน ครีมเทียม นมเปรี้ยว) และข้าวสาร ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และมีสต็อกสะสมจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ขยายปริมาณการเลี้ยง ไส้กรอก เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) ผักสดบางชนิด (ผักบุ้ง พริกสด) และอาหารโทรสั่ง (Delivery)

                     หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.88 (YoY) ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยปรับลดลงทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้ง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า ราคายังคงลดลงต่อเนื่อง รวมถึง เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ ค่าของใช้ส่วนบุคคลและสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า) หน้ากากอนามัย และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ราคาปรับลดลง ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึง ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน ค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว) ค่าการศึกษา ค่าแต่งผมชายและสตรี

                     เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 1.32 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.55 (YoY)

                     ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (MoM) ตามราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.05 อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า จากการสิ้นสุดมาตรการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า 150 บาทต่อครัวเรือน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วย ค่าเช่าบ้าน เครื่องแบบนักเรียน ค่าจ้างซักรีด ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ต และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ สารกำจัดแมลง) สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล ค่าของใช้ส่วนบุคคล (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัว โฟมล้างหน้า) ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.02 อาทิ เนื้อสุกร ปลาทู ข้าวสารเจ้า ผักสด (มะเขือ มะนาว ผักบุ้ง) อาหารโทรสั่ง (delivery) และอาหารสำเร็จรูป/แพ็คพร้อมปรุง ส่วนไข่ไก่ ไข่เป็ด นมเปรี้ยว ผักและผลไม้สด (กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักคะน้า ทุเรียน ส้มเขียวหวาน มะม่วง) กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำดื่ม และน้ำหวาน ราคาปรับสูงขึ้นเล็กน้อย

                     สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.14 (YoY) และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.31 (QoQ) เฉลี่ย 6 เดือนแรก (ม.ค. – มิ.ย.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 2.49 (AoA)

                     แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีแนวโน้มทรงตัวและเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ และอยู่ระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้ง ราคาอาหารบางชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ที่คาดว่าจะลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานราคาในปีก่อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิด โดยเฉพาะผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มสูงขึ้นจากอิทธิพลของภัยแล้ง รวมทั้งเศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งของโลก แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค และมาตรการรัฐต่าง ๆ รวมทั้งภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เงินเฟ้อไม่เป็นไปตามที่คาดได้

                     ด้วยปัจจัยดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์จึงปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 จากเดิมอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7 – 2.7 (ค่ากลาง 2.2) ในเดือนเมษายน 2566 เป็นระหว่างร้อยละ  1.0 – 2.0 (ค่ากลาง 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

                     ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2566 ปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 56.6 ในเดือนก่อนหน้า และยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สะท้อนจากภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมาตรการภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับลดค่าไฟฟ้า และการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าและบริการที่อยู่ระดับสูง และช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และการลงทุนในภาครัฐชะลอตัว รวมทั้ง ภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยทอนให้ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมปรับลดลง

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
กระทรวงพาณิชย์
5 กรกฎาคม 2566

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 05 กรกฎาคม 2566