ส่งออกฟื้น เศรษฐกิจไทยพุ่ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลก

ส่งออกฟื้น เศรษฐกิจไทยพุ่ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลก

avatar

Administrator


125


<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230724131422-1.jpeg" style="height:640px; width:960px" /></p>

<p><strong>ส่งออกฟื้น เศรษฐกิจไทยพุ่ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลก</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ Thailand Economic Outlook : A Year in Transformation ในงาน Krungsri Exclusive Economic and Investment Outlook 2018 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230724131508-2.jpeg" style="height:960px; width:720px" /></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ.สนค. ได้กล่าวย้ำในงานเสวนาว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวต่อเนื่อง นำโดยการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ในปี 2560 โดยการขยายตัวของการส่งออกทำได้ดีในหลายกลุ่มสินค้า อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Internet of Things (IoT) น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ โดยการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2561 และอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 คาดการณ์ว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-1.7 ค่ากลางที่ร้อยละ 1.2 เข้ากรอบล่างของค่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเห็นสาขาการผลิตหลายสาขามีการใช้กำลังการผลิตเกินศักยภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230724131600-3.jpeg" style="height:640px; width:960px" /></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ.สนค. ยังเน้นย้ำด้วยว่า ในระยะยาว นอกจากโอกาสของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งถือเป็นรากแก้วของเศรษฐกิจไทย ภาคบริการ จะมีบทบาทมากขึ้นในฐานะรากฝอย ที่คอยสนับสนุนให้การกระจายรายได้เป็นไปอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ โอกาสของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ที่ความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์การค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV ต่อเนื่องไปจีนและภูมิภาคใกล้เคียงที่มีศักยภาพ</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230724131634-4.jpeg" style="height:948px; width:960px" /></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม จุดเปราะบางของเศรษฐกิจไทยมีอยู่ในภาคต่างประเทศและในประเทศ โดยในต่างประเทศอยู่ที่นโยบายของสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่แน่นอน และพัฒนาการของเศรษฐกิจจีนที่เศรษฐกิจไทยเข้าไปพึ่งพาและเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีน&nbsp; มากขึ้น ส่วนในประเทศอยู่ที่ภาคเกษตรที่เกษตรกรยังไม่สามารถได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไทยจำเป็นต้องสร้าง Smart Farmer รวมทั้ง พัฒนาผู้ประกอบการ และธุรกิจให้รองรับเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ สอดรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกให้ได้</p>

<p><strong>ดาวน์โหลดเอกสาร:&nbsp;</strong><a href="http://uploads.tpso.go.th/khaaw_krungsri_economic_outlook_130267.pdf" target="_blank">khaaw_krungsri_economic_outlook_130267.pdf</a></p>

ส่งออกฟื้น เศรษฐกิจไทยพุ่ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลก

                          นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ Thailand Economic Outlook : A Year in Transformation ในงาน Krungsri Exclusive Economic and Investment Outlook 2018 ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้

 

 

 

 

 

        ผอ.สนค. ได้กล่าวย้ำในงานเสวนาว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวต่อเนื่อง นำโดยการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ในปี 2560 โดยการขยายตัวของการส่งออกทำได้ดีในหลายกลุ่มสินค้า อาทิ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Internet of Things (IoT) น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ โดยการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องในปี 2561 และอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 คาดการณ์ว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-1.7 ค่ากลางที่ร้อยละ 1.2 เข้ากรอบล่างของค่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเห็นสาขาการผลิตหลายสาขามีการใช้กำลังการผลิตเกินศักยภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้

        ผอ.สนค. ยังเน้นย้ำด้วยว่า ในระยะยาว นอกจากโอกาสของเศรษฐกิจไทยจะอยู่ที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งถือเป็นรากแก้วของเศรษฐกิจไทย ภาคบริการ จะมีบทบาทมากขึ้นในฐานะรากฝอย ที่คอยสนับสนุนให้การกระจายรายได้เป็นไปอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ โอกาสของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ที่ความเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์การค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV ต่อเนื่องไปจีนและภูมิภาคใกล้เคียงที่มีศักยภาพ

 

 

        อย่างไรก็ตาม จุดเปราะบางของเศรษฐกิจไทยมีอยู่ในภาคต่างประเทศและในประเทศ โดยในต่างประเทศอยู่ที่นโยบายของสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่แน่นอน และพัฒนาการของเศรษฐกิจจีนที่เศรษฐกิจไทยเข้าไปพึ่งพาและเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของจีน  มากขึ้น ส่วนในประเทศอยู่ที่ภาคเกษตรที่เกษตรกรยังไม่สามารถได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างเต็มที่ ซึ่งไทยจำเป็นต้องสร้าง Smart Farmer รวมทั้ง พัฒนาผู้ประกอบการ และธุรกิจให้รองรับเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ สอดรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลกให้ได้

ดาวน์โหลดเอกสาร: 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561