สนค. จัดประชุม Focus Group รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup

สนค. จัดประชุม Focus Group รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup

avatar

Administrator


127


<p><strong>สนค. จัดประชุม Focus Group รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นางสาวภรภัทร พันธ์งอก ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เป็นประธานในการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัด รวมถึงข้อเสนอแนะการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ ธุรกิจ Startup เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 ณ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ทั้งนี้ มี ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินการ และมีผู้แทนจากธุรกิจ Startup เข้าร่วมประชุมประมาณ 10 ราย อาทิ Refinn, Bellugg, P-P Lending, สมาคม Fintech, สมาพันธ์ Digital Content, ที่ปรึกษากฎหมาย Tilleke &amp; Gibbins<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผลการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup สามารถสรุปเบื้องต้น ดังนี้<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;1. ความล่าช้าในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยเฉพาะ การขอใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจ Startup อย่างยิ่ง เพราะเศรษฐกิจยุคใหม่ต้องใช้ความรวดเร็วเป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ แต่ที่ผ่านมา ธุรกิจ Startup ในไทยประสบปัญหาความล่าช้าและไม่ชัดเจนในการดำเนินการของภาครัฐ จึงอยากให้มีความชัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ หากเป็นไปได้อยากให้มีช่องทางด่วนพิเศษ (Fast Track) และศูนย์ One Stop Service สำหรับธุรกิจ Startup ซึ่งบูรณาการการให้บริการของหลายกระทรวงเข้าด้วยกัน รวมทั้ง การปรับปรุงกฎหมายใบอนุญาตที่ล้าสมัยหรือลักลั่น การพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี ว่องไว และมีจิตบริการ (ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกมากกว่าควบคุม และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน/การสนับสนุนเงินทุน โดยธุรกิจ Startup มีข้อจำกัดในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ แม้จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็ได้รับเงินสนับสนุน&nbsp; &nbsp; ไม่เพียงพอทั้งตอนเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนต่างๆ ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น อาทิ Venture Capital, Angle Fund, Crowd Funding, Bank Loan, Government Fund เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจ Startup ไทย ได้เริ่มต้น เติบโตและขยายธุรกิจ โดยคนไทยยังคงเป็นผู้บริหารเช่นเดิม (มิใช่เติบโตแล้วขายให้ต่างชาติเช่นที่ผ่านมา)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;3. การทดลองเริ่มต้นธุรกิจและทดลองตลาด ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจ Startup เพราะในระยะแรกที่เริ่มต้นธุรกิจ จำเป็นต้องจำกัดและบริหารความเสี่ยง ดำเนินการเฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นการทดลองก่อน หากผิดพลาดจะได้เรียนรู้และปรับปรุง (รีบล้มรีบลุก) หากสำเร็จจะได้ขยายผลต่อไป ดังนั้น หากภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริม ในประเด็นนี้ก็จะช่วยเติมเต็มให้ธุรกิจ Startup ได้อย่างมาก<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;4. การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจ เพราะบุคลากรคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมเสนอแนวคิด Knowledge &amp; Talent Pool ให้ดึงคนเก่งและองค์ความรู้ทั้ง&nbsp; &nbsp;ในไทยและต่างประเทศ ให้เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจ Startup ไทย โดยให้สิ่งจูงใจ เช่นส่งเสริมกิจกรรม CSR แบ่งปันความรู้แล้วสามารถนำมาลดภาษีได้ อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดคนเก่งจากต่างประเทศ ให้เกิด Talent Village รวมทั้ง การพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้เป็นมืออาชีพ<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;5. การเข้าถึงตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์&nbsp; ซึ่งหากภาครัฐสามารถช่วยให้ธุรกิจ Startup เข้าถึงตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ดีขึ้น จะช่วยธุรกิจ Startup ได้อย่างยิ่ง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือถึง Digital Platform ของไทยเอง ที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยรุกตลาดเศรษฐกิจยุคใหม่ได้มากขึ้น<br />
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคข้างต้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะรวบรวมและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป</p>

<p>&nbsp;</p>

<p><a href="http://uploads.tpso.go.th/khaaw_kdhmaaydicchithal_focus_group_startup_230461_0.pdf" target="_blank">khaaw_kdhmaaydicchithal_focus_group_startup_230461_0.pdf</a></p>

สนค. จัดประชุม Focus Group รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup

                    นางสาวภรภัทร พันธ์งอก ผู้อำนวยการกองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เป็นประธานในการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัด รวมถึงข้อเสนอแนะการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ ธุรกิจ Startup เมื่อวันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 ณ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ทั้งนี้ มี ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินการ และมีผู้แทนจากธุรกิจ Startup เข้าร่วมประชุมประมาณ 10 ราย อาทิ Refinn, Bellugg, P-P Lending, สมาคม Fintech, สมาพันธ์ Digital Content, ที่ปรึกษากฎหมาย Tilleke & Gibbins
                    ผลการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Startup สามารถสรุปเบื้องต้น ดังนี้
                    1. ความล่าช้าในการเริ่มต้นธุรกิจ โดยเฉพาะ การขอใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจ Startup อย่างยิ่ง เพราะเศรษฐกิจยุคใหม่ต้องใช้ความรวดเร็วเป็นหนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จ แต่ที่ผ่านมา ธุรกิจ Startup ในไทยประสบปัญหาความล่าช้าและไม่ชัดเจนในการดำเนินการของภาครัฐ จึงอยากให้มีความชัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ หากเป็นไปได้อยากให้มีช่องทางด่วนพิเศษ (Fast Track) และศูนย์ One Stop Service สำหรับธุรกิจ Startup ซึ่งบูรณาการการให้บริการของหลายกระทรวงเข้าด้วยกัน รวมทั้ง การปรับปรุงกฎหมายใบอนุญาตที่ล้าสมัยหรือลักลั่น การพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยี ว่องไว และมีจิตบริการ (ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกมากกว่าควบคุม และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น)
                    2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน/การสนับสนุนเงินทุน โดยธุรกิจ Startup มีข้อจำกัดในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งนี้ แม้จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็ได้รับเงินสนับสนุน    ไม่เพียงพอทั้งตอนเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนต่างๆ ให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น อาทิ Venture Capital, Angle Fund, Crowd Funding, Bank Loan, Government Fund เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจ Startup ไทย ได้เริ่มต้น เติบโตและขยายธุรกิจ โดยคนไทยยังคงเป็นผู้บริหารเช่นเดิม (มิใช่เติบโตแล้วขายให้ต่างชาติเช่นที่ผ่านมา)
                    3. การทดลองเริ่มต้นธุรกิจและทดลองตลาด ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจ Startup เพราะในระยะแรกที่เริ่มต้นธุรกิจ จำเป็นต้องจำกัดและบริหารความเสี่ยง ดำเนินการเฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นการทดลองก่อน หากผิดพลาดจะได้เรียนรู้และปรับปรุง (รีบล้มรีบลุก) หากสำเร็จจะได้ขยายผลต่อไป ดังนั้น หากภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริม ในประเด็นนี้ก็จะช่วยเติมเต็มให้ธุรกิจ Startup ได้อย่างมาก
                    4. การพัฒนาบุคลากรของธุรกิจ เพราะบุคลากรคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ ซึ่งที่ประชุมเสนอแนวคิด Knowledge & Talent Pool ให้ดึงคนเก่งและองค์ความรู้ทั้ง   ในไทยและต่างประเทศ ให้เข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจ Startup ไทย โดยให้สิ่งจูงใจ เช่นส่งเสริมกิจกรรม CSR แบ่งปันความรู้แล้วสามารถนำมาลดภาษีได้ อำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดคนเก่งจากต่างประเทศ ให้เกิด Talent Village รวมทั้ง การพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้เป็นมืออาชีพ
                    5. การเข้าถึงตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์  ซึ่งหากภาครัฐสามารถช่วยให้ธุรกิจ Startup เข้าถึงตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ดีขึ้น จะช่วยธุรกิจ Startup ได้อย่างยิ่ง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือถึง Digital Platform ของไทยเอง ที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยรุกตลาดเศรษฐกิจยุคใหม่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคข้างต้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะรวบรวมและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561