สนค. จัด Workshop ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Digital

สนค. จัด Workshop ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Digital

avatar

Administrator


66


<p><strong>สนค. จัด Workshop ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Digital</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล จัดประชุม Workshopครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัด รวมถึงข้อเสนอแนะการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 61 ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ มี ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Digital ผู้เข้าร่วม 70 หน่วยงาน ทั้งสมาคม ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาครัฐ อาทิ สมาคมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย สมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี สมาคมประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิต ธนาคารพาณิชย์ บริษัทสื่อสารและโทรคมนาคม บริษัทเทคโนโลยี Fintech, DEPA, สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล มหาวิทยาลัยต่างๆ<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ซึ่งภาครัฐควรให้ความสำคัญ เช่น&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;1. ควร &ldquo;บูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ&rdquo; และควรมี &ldquo;บุคลากรที่เข้าใจและเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล&rdquo; ให้มากขึ้น โดยเฉพาะ ในระดับตัดสินใจ เช่น คณะกรรมการต่างๆ รวมทั้ง ในระดับบริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีภาคเอกชนหรือสมาคมฯ เข้าเป็นส่วนร่วมในองค์ประกอบคณะกรรมการฯ ด้วย<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;2. ควร &ldquo;ส่งเสริมการวิจัยร่วมกัน และมีทิศทางหรือเป้าหมายเดียวกัน&rdquo; เพื่อเติมเต็มและต่อยอดศักยภาพการวิจัยและการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ควรมี &ldquo;พื้นที่ทดลอง (Sandbox)&rdquo; สำหรับเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือต้องผ่อนคลายกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;3. ควร &ldquo;มีหน่วยงานที่สนับสนุนธุรกิจดิจิทัลครบวงจร สะดวก รวดเร็ว&rdquo; และมี &ldquo;กฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกที่ครอบคลุม&rdquo; (หากแก้กฎหมายเดิมไม่สะดวก เสนอให้มีกฎหมายใหม่ที่ครอบคลุม) ทั้งนี้ อาจถ่ายโอนภารกิจการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลให้กับภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญกว่าดำเนินการ ส่วนภาครัฐให้มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวก ส่งเสริมสนับสนุน และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น อาทิ คุณภาพ มาตรฐาน ราคา ความทั่วถึง<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;4. ควร &ldquo;ส่งเสริมการสร้างสรรค์ไอเดียและแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์&rdquo; ให้มากขึ้น และควรมี &ldquo;แหล่งเงินทุนสนับสนุน&rdquo; ในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ เงินทุนในการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ระดับประเทศ (เช่น Digital Platform, เครื่องวัด Rating)&nbsp;<br />
รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้ธุรกิจไทยมี &ldquo;ช่องทางการค้าออนไลน์ (Digital Platform)&rdquo; ของตัวเอง เพื่อให้ผลประโยชน์เกิดกับธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ทั้งธุรกิจ Digital Contents, Digital Trade (สินค้าและบริการ) &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนภาครัฐสนับสนุนส่งเสริม อำนวยความสะดวก และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;5. ควร &ldquo;เปิดเผยและเชื่อมโยงข้อมูล&rdquo; ระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งข้อมูลบุคคลธรรมดาและข้อมูลนิติบุคคล (ที่ไม่กระทบข้อมูลส่วนบุคคล) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-KYC : Electronic Know Your Customer ) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกรรมการเงินและประกันออนไลน์ รวมถึงธุรกรรมออนไลน์อื่นๆ ด้วย<br />
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะข้างต้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะรวบรวมและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป</p>

<p>&nbsp;</p>

<p><a href="http://uploads.tpso.go.th/khaaw_kdhmaaydicchithal_workshop_n_krungethph_170561.pdf" target="_blank">khaaw_kdhmaaydicchithal_workshop_n_krungethph_170561.pdf</a></p>

สนค. จัด Workshop ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะธุรกิจ Digital

                    สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล จัดประชุม Workshopครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัด รวมถึงข้อเสนอแนะการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 61 ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ มี ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้แทนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Digital ผู้เข้าร่วม 70 หน่วยงาน ทั้งสมาคม ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาครัฐ อาทิ สมาคมการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทย สมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี สมาคมประกันชีวิต บริษัทประกันชีวิต ธนาคารพาณิชย์ บริษัทสื่อสารและโทรคมนาคม บริษัทเทคโนโลยี Fintech, DEPA, สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล มหาวิทยาลัยต่างๆ
                    ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจในระหว่างการประชุมครั้งนี้ ซึ่งภาครัฐควรให้ความสำคัญ เช่น 
                    1. ควร “บูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ” และควรมี “บุคลากรที่เข้าใจและเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล” ให้มากขึ้น โดยเฉพาะ ในระดับตัดสินใจ เช่น คณะกรรมการต่างๆ รวมทั้ง ในระดับบริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีภาคเอกชนหรือสมาคมฯ เข้าเป็นส่วนร่วมในองค์ประกอบคณะกรรมการฯ ด้วย
                    2. ควร “ส่งเสริมการวิจัยร่วมกัน และมีทิศทางหรือเป้าหมายเดียวกัน” เพื่อเติมเต็มและต่อยอดศักยภาพการวิจัยและการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง ควรมี “พื้นที่ทดลอง (Sandbox)” สำหรับเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือต้องผ่อนคลายกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย
                    3. ควร “มีหน่วยงานที่สนับสนุนธุรกิจดิจิทัลครบวงจร สะดวก รวดเร็ว” และมี “กฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกที่ครอบคลุม” (หากแก้กฎหมายเดิมไม่สะดวก เสนอให้มีกฎหมายใหม่ที่ครอบคลุม) ทั้งนี้ อาจถ่ายโอนภารกิจการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลให้กับภาคเอกชนที่เชี่ยวชาญกว่าดำเนินการ ส่วนภาครัฐให้มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวก ส่งเสริมสนับสนุน และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น อาทิ คุณภาพ มาตรฐาน ราคา ความทั่วถึง
                    4. ควร “ส่งเสริมการสร้างสรรค์ไอเดียและแผนธุรกิจเชิงกลยุทธ์” ให้มากขึ้น และควรมี “แหล่งเงินทุนสนับสนุน” ในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ เงินทุนในการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ระดับประเทศ (เช่น Digital Platform, เครื่องวัด Rating) 
รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้ธุรกิจไทยมี “ช่องทางการค้าออนไลน์ (Digital Platform)” ของตัวเอง เพื่อให้ผลประโยชน์เกิดกับธุรกิจไทยที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ทั้งธุรกิจ Digital Contents, Digital Trade (สินค้าและบริการ)       ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนภาครัฐสนับสนุนส่งเสริม อำนวยความสะดวก และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
                    5. ควร “เปิดเผยและเชื่อมโยงข้อมูล” ระหว่างกันให้มากขึ้น ทั้งข้อมูลบุคคลธรรมดาและข้อมูลนิติบุคคล (ที่ไม่กระทบข้อมูลส่วนบุคคล) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจดิจิทัล โดยเฉพาะ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-KYC : Electronic Know Your Customer ) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนธุรกรรมการเงินและประกันออนไลน์ รวมถึงธุรกรรมออนไลน์อื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะข้างต้น สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะรวบรวมและนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561