โอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในครึ่งปีหลัง ปี 2561

โอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในครึ่งปีหลัง ปี 2561

avatar

Administrator


78


<p><strong>&quot;โอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในครึ่งปีหลัง ปี 2561&rdquo;</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายงาน การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยครึ่งปีแรก มีสินค้าหลายรายการที่มีศักยภาพ ครึ่งปีแรก ( ม.ค. - มิ.ย.61 ) ขยายตัวร้อยละ 4.0 นำโดย</p>

<ul>
	<li><strong>ข้าว</strong>&nbsp;<br />
	การส่งออกครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.61) มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ชครึ่งปีหลังคาดว่าไทยน่าจะยังส่งออกข้าวได้ 11 ล้านตัน ตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน เพราะตลาดมีความต้องการที่จะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างเช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป</strong>&nbsp;<br />
	มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลัก ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 12.1 โดยขยายตัวในเกือบทุกตลาด แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงขยายตัว เนื่องจากตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้รับปัจจัยหนุนจากการได้รับใบอนุญาตให้ส่งออกไก่สดจากรัฐบาลจีน</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป</strong>&nbsp;<br />
	ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยเฉพาะในตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 44.86 แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกผักและผลไม้ไทยจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลไม้ไทย ยังเป็นที่นิยมของผู้นำเข้าหลักอย่างจีน แม้กระทั่งเวียดนามเองก็มักนำเอาผลไม้ไทยไปคัดบรรจุ และติดตราสัญลักษณ์ของเวียดนามส่งออกไปยังจีน</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป</strong>&nbsp;<br />
	มีแนวโน้มครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 2.4 สินค้าที่มีสัดส่วนการขยายตัวสูงได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ไทยยังมีศักยภาพที่จะส่งออกได้อีกมาก และเป็นโอกาสจากสงครามการค้าที่จีนขึ้นภาษีสินค้าประมงจากสหรัฐฯ ทำให้ไทยมีแนวโน้มส่งออกไปจีนได้มากขึ้นในครึ่งปีหลัง ตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่สินค้าที่หดตัว ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 20.8 และยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากปริมาณความต้องการลดลง ผู้นำเข้าหลักอย่างสหรัฐฯ หันไปนำเข้าจากแหล่งอื่น แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงหดตัว จากราคากุ้งที่ปรับตัวลดลงตามปริมาณผลผลิตกุ้งโลกที่เพิ่มขึ้นมาก</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>ยางพารา</strong><br />
	ครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 25.4 เนื่องจากผลผลิตมีมากเกินกว่าความต้องการ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงหดตัว จากราคายางที่อาจปรับลดลง เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง</strong><br />
	ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 17.2 เนื่องจากตลาดโลกยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกจะหดตัว เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลังเพื่อแปรรูปและส่งออก คาดว่าการส่งออกจะลดลงจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>น้ำตาลทราย</strong><br />
	มูลค่าการส่งออกครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 13.8 โดยเป็นการหดตัวในด้านราคาเป็นหลัก แม้ว่าในเดือนมิถุนายน ไทยจะสามารถส่งออกได้มากขึ้น เพราะผู้ส่งออกหลักอย่างบราซิลจะส่งออกน้อยลง เนื่องจากมีปัญหารถบรรทุกประท้วงขึ้นค่าแรง และปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน แต่ก็น่าจะเป็นในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อการผลิตของบราซิลเริ่มกลับมา น่าจะส่งผลให้ราคาลดต่ำลงอีก ประกอบกับปริมาณการส่งออกของประเทศอินเดียที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาตลาดโลกลดต่ำลง ผลผลิตล่าสุดยังเกินกว่าความต้องการของโลกอยู่ถึง 9 ล้านตัน การส่งออกน้ำตาลทรายครึ่งปีแรกขยายตัวได้ดี แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกจะหดตัว จากราคาน้ำตาลทรายที่ปรับตัวลดลง ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก</li>
</ul>

<p><strong>การส่งออกของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในครึ่งปีหลัง</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<u><strong>สนค.คาดว่าการส่งออกของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ลดลงในระยะสั้นอาจต้องเผชิญความผันผวนจากมาตรการการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไทยที่มีลักษณะการกระจายตัวในตลาดใหม่มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบได้บ้าง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกเร่งผลักดันส่งออกสินค้าและทำให้รายได้การส่งออกในรูปเงินบาทสูงขึ้น</strong></u></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230725114609-1.jpeg" style="height:1200px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230725114636-2.jpeg" style="height:1200px; width:923px" /><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230725114715-3.jpeg" style="height:1200px; width:849px" /></p>

<p>&nbsp;</p>

<p>&nbsp;</p>

"โอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในครึ่งปีหลัง ปี 2561”

                    นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายงาน การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยครึ่งปีแรก มีสินค้าหลายรายการที่มีศักยภาพ ครึ่งปีแรก ( ม.ค. - มิ.ย.61 ) ขยายตัวร้อยละ 4.0 นำโดย

  • ข้าว 
    การส่งออกครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.61) มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ชครึ่งปีหลังคาดว่าไทยน่าจะยังส่งออกข้าวได้ 11 ล้านตัน ตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน เพราะตลาดมีความต้องการที่จะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างเช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
  • ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป 
    มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นการขยายตัวด้านปริมาณเป็นหลัก ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 12.1 โดยขยายตัวในเกือบทุกตลาด แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงขยายตัว เนื่องจากตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับได้รับปัจจัยหนุนจากการได้รับใบอนุญาตให้ส่งออกไก่สดจากรัฐบาลจีน
  • ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 
    ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยเฉพาะในตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 44.86 แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกผักและผลไม้ไทยจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลไม้ไทย ยังเป็นที่นิยมของผู้นำเข้าหลักอย่างจีน แม้กระทั่งเวียดนามเองก็มักนำเอาผลไม้ไทยไปคัดบรรจุ และติดตราสัญลักษณ์ของเวียดนามส่งออกไปยังจีน
  • อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 
    มีแนวโน้มครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 2.4 สินค้าที่มีสัดส่วนการขยายตัวสูงได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ไทยยังมีศักยภาพที่จะส่งออกได้อีกมาก และเป็นโอกาสจากสงครามการค้าที่จีนขึ้นภาษีสินค้าประมงจากสหรัฐฯ ทำให้ไทยมีแนวโน้มส่งออกไปจีนได้มากขึ้นในครึ่งปีหลัง ตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่สินค้าที่หดตัว ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 20.8 และยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากปริมาณความต้องการลดลง ผู้นำเข้าหลักอย่างสหรัฐฯ หันไปนำเข้าจากแหล่งอื่น แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงหดตัว จากราคากุ้งที่ปรับตัวลดลงตามปริมาณผลผลิตกุ้งโลกที่เพิ่มขึ้นมาก
  • ยางพารา
    ครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 25.4 เนื่องจากผลผลิตมีมากเกินกว่าความต้องการ ในขณะที่ผู้ส่งออกต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้น แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกยังคงหดตัว จากราคายางที่อาจปรับลดลง เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
    ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 17.2 เนื่องจากตลาดโลกยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกจะหดตัว เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลังเพื่อแปรรูปและส่งออก คาดว่าการส่งออกจะลดลงจากปริมาณผลผลิตที่ลดลง
  • น้ำตาลทราย
    มูลค่าการส่งออกครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 13.8 โดยเป็นการหดตัวในด้านราคาเป็นหลัก แม้ว่าในเดือนมิถุนายน ไทยจะสามารถส่งออกได้มากขึ้น เพราะผู้ส่งออกหลักอย่างบราซิลจะส่งออกน้อยลง เนื่องจากมีปัญหารถบรรทุกประท้วงขึ้นค่าแรง และปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน แต่ก็น่าจะเป็นในระยะสั้นเท่านั้น เมื่อการผลิตของบราซิลเริ่มกลับมา น่าจะส่งผลให้ราคาลดต่ำลงอีก ประกอบกับปริมาณการส่งออกของประเทศอินเดียที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาตลาดโลกลดต่ำลง ผลผลิตล่าสุดยังเกินกว่าความต้องการของโลกอยู่ถึง 9 ล้านตัน การส่งออกน้ำตาลทรายครึ่งปีแรกขยายตัวได้ดี แนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าการส่งออกจะหดตัว จากราคาน้ำตาลทรายที่ปรับตัวลดลง ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจำนวนมาก

การส่งออกของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในครึ่งปีหลัง

                    สนค.คาดว่าการส่งออกของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ลดลงในระยะสั้นอาจต้องเผชิญความผันผวนจากมาตรการการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไทยที่มีลักษณะการกระจายตัวในตลาดใหม่มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบได้บ้าง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกเร่งผลักดันส่งออกสินค้าและทำให้รายได้การส่งออกในรูปเงินบาทสูงขึ้น

 

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 06 สิงหาคม 2561