กระทรวงพาณิชย์แจงผลการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจไทย มั่นใจมาตรการรัฐบาลป้องกันแล้วหลายด้าน เศรษฐกิจไทยรับมือได้

กระทรวงพาณิชย์แจงผลการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจไทย มั่นใจมาตรการรัฐบาลป้องกันแล้วหลายด้าน เศรษฐกิจไทยรับมือได้

avatar

Administrator


71


<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์&nbsp;ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่สภาธุรกิจโลก หรือ World Economic Forum มีการศึกษาเรื่องความเสี่ยงในระดับโลกและระดับภูมิภาคในการทำธุรกิจ (</strong>Regional Risk of Doing Business 2019) ว่า รายงานของ WEF จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ เตรียมการรองรับในระยะยาว และอยากให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น&nbsp;<strong>โดยในส่วนของไทย นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ ถือว่าจะเร่งปิดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ในอนาคต</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นางสาวพิมพ์ชนกชี้แจงว่า ตามที่</strong>&nbsp;<strong>WEF ทำการจัดลำดับความสามารถทางการแข่งขัน ปี 2019 โดยประเทศไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจากปี 2018 เดิม 67.5 คะแนนเป็น 68.1</strong>&nbsp;คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก จากทั้งหมด 141 ประเทศ ซึ่งในขณะเดียวกันได้จัดทำ<strong>รายงานความเสี่ยงโลก</strong>&nbsp;(Global Risk Report) ทุกปีด้วยเช่นกัน&nbsp; โดยการสอบถามความคิดเห็น (Opinion Survey) ของผู้นำภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกเกี่ยวกับ<strong>คาดการณ์ในอนาคต ไม่ใช่ถามถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงแล้ว</strong>&nbsp;และวิเคราะห์เป็นรายภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ คือ</p>

<ul>
	<li>1) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ</li>
	<li>2) กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเตรียมการรองรับในระยะยาว และ</li>
	<li>3) เพื่อสร้างความร่วมมือกันในระดับโลกและระดับภูมิภาคมากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงหลายอย่าง อาจจะต้องอาศัยความร่วมกันของภูมิภาคและโลก เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ &nbsp;</li>
</ul>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (รวมถึงประเทศไทย) ให้ความสำคัญกับความเสี่ยง<strong>ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอันดับ 1</strong>&nbsp;เพราะหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผ่นดินไหนและสึนามิ ส่งผลกระทบแก่ประชากรกว่า 50 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 56.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความเสี่ยง<strong>อันดับที่ 2 คือ เรื่องการโจมตีทางไซเบอร์</strong>&nbsp;ที่มีการลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ บ่อยครั้งขึ้น&nbsp;<strong>ลำดับรองลงมา (ประมาณร้อยละ 30) คือ เรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ</strong>&nbsp;เช่น สถานการณ์ของเกาหลีเหนือ หรือ แรงกดดันจากสถานการณ์ของสหรัฐ-จีน เป็นต้น</p>

<p>&nbsp;<strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจของไทยที่กล่าวถึงเรื่อง&nbsp;<strong>Asset Bubble</strong>&nbsp;หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่กังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเกินไป แต่เกิดจากความกังวลว่าดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มต่ำอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้อสังหาริมทรัพย์ออกมาล้นตลาด (Oversupply) ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นมาระยะหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างเข้มงวดออกมานานพอสมควร จึงไม่น่าจะต้องกังวลในระยะต่อไป สำหรับประเด็นความกังวลเรื่อง<strong>เสถียรภาพของรัฐบาล</strong>นั้น ในช่วงที่ทำการสำรวจความเห็นเป็นช่วงที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล แต่ในขณะนี้ รัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อย มีการประกาศนโยบายที่ชัดเจน และได้ดำเนินนโยบายและขับเคลื่อนด้านต่าง ๆ มาเป็นรูปธรรมตามลำดับ การมีเสถียรภาพจึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยความเสี่ยงในระยะต่อไป</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>ในด้าน&nbsp;<strong>Cyber Attack</strong>&nbsp;ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และมีความพยายามในการป้องกันปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับเรื่อง<strong>ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม</strong>&nbsp;ที่รัฐบาลเดินหน้าเรื่องการลดการใช้พลาสติค ฟื้นฟูทะเลและสภาพแวดล้อมในที่ต่าง ๆ การสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือก การอนุญาตติดโซลาร์เซลส์ที่บ้านและที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น และนโยบายอื่น ๆ แต่ทั้งสองประเด็นความเสี่ยงนี้ ไทยอาจจะเพิ่มความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมากขึ้นได้ เพราะสามารถเรียนรู้และช่วยกันป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้ามพรมแดนได้</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>สุดท้ายคือ<strong>ความเสี่ยงทางด้านสังคม</strong>&nbsp;ตรงนี้ต้องถือว่า&nbsp;<strong>รัฐบาลให้ความสำคัญกับการยกระดับการดูและกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจมีความเสี่ยงมาก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร มานานแล้ว</strong>&nbsp;จะเห็นได้ว่า นโยบายที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ทั้งการเพิ่มรายได้ผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการประชารัฐ โครงการ ชิม ช็อป ใช้ การสนับสนุนด้านการออมเงินของประชาชน ไปถึงนโยบายประกันรายได้ของสินค้าเกษตรสำคัญ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างเป็นรูปธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการที่จะลดความเสี่ยงทางด้านสังคมของไทย และจะเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในทุกหน่วยงานต่อไป จึงน่าจะลดความเสี่ยงลงไปได้อย่างมาก</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวสรุปว่า&nbsp;<strong>ประเด็นความเสี่ยงที่&nbsp;</strong><strong>WEF ได้จากการสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจนั้น ถือเป็นประเด็นที่เตือนล่วงหน้า (Early Warning) ให้ประเทศต่าง ๆ มีแนวทางรองรับและป้องกัน ซึ่งในส่วนของไทย หลายด้านได้มีมาตรการออกมาล่วงหน้าแล้ว และอีกบางด้านก็กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งการปรับตัวเพื่อรองรับความเสี่ยงเหล่านี้ ถือว่าประเทศไทยมีจุดแข็งหลายด้าน ที่จะทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้</strong>&nbsp;<strong>ทั้งความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาค ความสามารถและศักยภาพในการปรับตัวของผู้ส่งออกและผู้ประกอบการของไทย แนวนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและ</strong><strong>SME &nbsp;การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และนโยบายที่จะเดินหน้าพัฒนาภาคบริการใหม่ๆ ที่จะเป็นกลไกสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นให้คนไทยและเศรษฐกิจไทย</strong>&nbsp;เช่น ดิจิทัล ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และ Wellness นอกจากนี้ ดังนั้น ประเด็นความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจของไทย ถือว่ารัฐบาลรับมือไว้แล้ว จึงไม่น่ามีความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของไทยจะเติบโตต่อไปได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างแน่นอน</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>ทั้งนี้ วิธีการที่ WEF ใช้ในการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจ เป็นลักษณะสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจ โดยให้เลือกจาก 30 ปัจจัยความเสี่ยงที่<strong>คาดการณ์ว่าภายใน</strong><strong>&nbsp;10 ปี จะมีความเสี่ยงอะไรที่สำคัญในภูมิภาคนั้น</strong>&nbsp;ๆ ที่ธุรกิจต้องติดตาม ซึ่งไม่ได้แปลว่าเกิดปัญหานั้นขึ้นแล้วจริง ๆ แต่เป็นระบบการเตือนภัยให้ต้องหาทางรับมือ รวมถึงไม่ได้ประเมินโอกาส&nbsp; (Probability) หรือขนาด (Magnitude) ของความเสียหายหากความเสี่ยงประเภทนั้นเกิดขึ้น และผลการสำรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาคจะให้ความสำคัญกับประเด็นไหน ก็แล้วแต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น โดยประเทศไทยยังคงต้องศึกษาและติดตามประเด็นต่าง ๆ เพื่อรักษาและขยายความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและฐานะการเงินของประเทศที่ยังดีอยู่ให้เดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่มีทิศทางที่ชัดเจน และมีการดำเนินการเป็นรูปธรรม</p>

<p>&nbsp;</p>

<p>ไฟล์อัพโหลด:&nbsp;<a href="http://uploads.tpso.go.th/pr_regional_risk_report_rev._3.pdf" target="_blank">pr_regional_risk_report_rev._3.pdf</a></p>

          นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่สภาธุรกิจโลก หรือ World Economic Forum มีการศึกษาเรื่องความเสี่ยงในระดับโลกและระดับภูมิภาคในการทำธุรกิจ (Regional Risk of Doing Business 2019) ว่า รายงานของ WEF จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ เตรียมการรองรับในระยะยาว และอยากให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศมากขึ้น โดยในส่วนของไทย นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ ถือว่าจะเร่งปิดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ในอนาคต

           นางสาวพิมพ์ชนกชี้แจงว่า ตามที่ WEF ทำการจัดลำดับความสามารถทางการแข่งขัน ปี 2019 โดยประเทศไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจากปี 2018 เดิม 67.5 คะแนนเป็น 68.1 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก จากทั้งหมด 141 ประเทศ ซึ่งในขณะเดียวกันได้จัดทำรายงานความเสี่ยงโลก (Global Risk Report) ทุกปีด้วยเช่นกัน  โดยการสอบถามความคิดเห็น (Opinion Survey) ของผู้นำภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกเกี่ยวกับคาดการณ์ในอนาคต ไม่ใช่ถามถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงแล้ว และวิเคราะห์เป็นรายภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  • 1) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชนและภาครัฐเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ
  • 2) กระตุ้นให้ทุกฝ่ายเตรียมการรองรับในระยะยาว และ
  • 3) เพื่อสร้างความร่วมมือกันในระดับโลกและระดับภูมิภาคมากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงหลายอย่าง อาจจะต้องอาศัยความร่วมกันของภูมิภาคและโลก เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้  

           โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (รวมถึงประเทศไทย) ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 เพราะหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผ่นดินไหนและสึนามิ ส่งผลกระทบแก่ประชากรกว่า 50 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 56.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความเสี่ยงอันดับที่ 2 คือ เรื่องการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มีการลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในสิงคโปร์และประเทศอื่นๆ บ่อยครั้งขึ้น ลำดับรองลงมา (ประมาณร้อยละ 30) คือ เรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ของเกาหลีเหนือ หรือ แรงกดดันจากสถานการณ์ของสหรัฐ-จีน เป็นต้น

            น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจของไทยที่กล่าวถึงเรื่อง Asset Bubble หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่กังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเกินไป แต่เกิดจากความกังวลว่าดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มต่ำอย่างต่อเนื่องอาจจะทำให้อสังหาริมทรัพย์ออกมาล้นตลาด (Oversupply) ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลไทยได้เล็งเห็นมาระยะหนึ่งแล้ว จะเห็นได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างเข้มงวดออกมานานพอสมควร จึงไม่น่าจะต้องกังวลในระยะต่อไป สำหรับประเด็นความกังวลเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาลนั้น ในช่วงที่ทำการสำรวจความเห็นเป็นช่วงที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล แต่ในขณะนี้ รัฐบาลจัดตั้งเรียบร้อย มีการประกาศนโยบายที่ชัดเจน และได้ดำเนินนโยบายและขับเคลื่อนด้านต่าง ๆ มาเป็นรูปธรรมตามลำดับ การมีเสถียรภาพจึงไม่น่าจะเป็นปัจจัยความเสี่ยงในระยะต่อไป

           ในด้าน Cyber Attack ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ และมีความพยายามในการป้องกันปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับเรื่องปัญหาทางสิ่งแวดล้อม ที่รัฐบาลเดินหน้าเรื่องการลดการใช้พลาสติค ฟื้นฟูทะเลและสภาพแวดล้อมในที่ต่าง ๆ การสนับสนุนให้ใช้พลังงานทางเลือก การอนุญาตติดโซลาร์เซลส์ที่บ้านและที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น และนโยบายอื่น ๆ แต่ทั้งสองประเด็นความเสี่ยงนี้ ไทยอาจจะเพิ่มความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมากขึ้นได้ เพราะสามารถเรียนรู้และช่วยกันป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้ามพรมแดนได้

           สุดท้ายคือความเสี่ยงทางด้านสังคม ตรงนี้ต้องถือว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการยกระดับการดูและกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจมีความเสี่ยงมาก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร มานานแล้ว จะเห็นได้ว่า นโยบายที่ดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ทั้งการเพิ่มรายได้ผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการประชารัฐ โครงการ ชิม ช็อป ใช้ การสนับสนุนด้านการออมเงินของประชาชน ไปถึงนโยบายประกันรายได้ของสินค้าเกษตรสำคัญ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างเป็นรูปธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการที่จะลดความเสี่ยงทางด้านสังคมของไทย และจะเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากในทุกหน่วยงานต่อไป จึงน่าจะลดความเสี่ยงลงไปได้อย่างมาก

           น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวสรุปว่า ประเด็นความเสี่ยงที่ WEF ได้จากการสำรวจความเห็นของภาคธุรกิจนั้น ถือเป็นประเด็นที่เตือนล่วงหน้า (Early Warning) ให้ประเทศต่าง ๆ มีแนวทางรองรับและป้องกัน ซึ่งในส่วนของไทย หลายด้านได้มีมาตรการออกมาล่วงหน้าแล้ว และอีกบางด้านก็กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งการปรับตัวเพื่อรองรับความเสี่ยงเหล่านี้ ถือว่าประเทศไทยมีจุดแข็งหลายด้าน ที่จะทำให้เราเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาค ความสามารถและศักยภาพในการปรับตัวของผู้ส่งออกและผู้ประกอบการของไทย แนวนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและSME  การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และนโยบายที่จะเดินหน้าพัฒนาภาคบริการใหม่ๆ ที่จะเป็นกลไกสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นให้คนไทยและเศรษฐกิจไทย เช่น ดิจิทัล ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และ Wellness นอกจากนี้ ดังนั้น ประเด็นความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจของไทย ถือว่ารัฐบาลรับมือไว้แล้ว จึงไม่น่ามีความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจของไทยจะเติบโตต่อไปได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างแน่นอน

           ทั้งนี้ วิธีการที่ WEF ใช้ในการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจ เป็นลักษณะสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารภาคธุรกิจ โดยให้เลือกจาก 30 ปัจจัยความเสี่ยงที่คาดการณ์ว่าภายใน 10 ปี จะมีความเสี่ยงอะไรที่สำคัญในภูมิภาคนั้น ๆ ที่ธุรกิจต้องติดตาม ซึ่งไม่ได้แปลว่าเกิดปัญหานั้นขึ้นแล้วจริง ๆ แต่เป็นระบบการเตือนภัยให้ต้องหาทางรับมือ รวมถึงไม่ได้ประเมินโอกาส  (Probability) หรือขนาด (Magnitude) ของความเสียหายหากความเสี่ยงประเภทนั้นเกิดขึ้น และผลการสำรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาคจะให้ความสำคัญกับประเด็นไหน ก็แล้วแต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น โดยประเทศไทยยังคงต้องศึกษาและติดตามประเด็นต่าง ๆ เพื่อรักษาและขยายความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและฐานะการเงินของประเทศที่ยังดีอยู่ให้เดินหน้าต่อไปได้ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่มีทิศทางที่ชัดเจน และมีการดำเนินการเป็นรูปธรรม

 

ไฟล์อัพโหลด: 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562