แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563

แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563

avatar

Administrator


125


<p><strong>ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563</strong>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563 การส่งออกเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 18,948 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.12 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แม้อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.03 ตามความต้องการสินค้าอาหารของตลาดโลกในช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะข้าวกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 18 เดือน และขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 23.10 อาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 34.33 นอกจากนี้ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักและผลไม้ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป และสิ่งปรุงรสอาหาร ยังขยายตัวดีในระดับที่น่าพอใจ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.05 จากการส่งออกทองคำ อากาศยาน แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งออกรายตลาด ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น มีการขยายตัวในระดับสูง ขณะที่การระบาดรุนแรงของไวรัสโควิด-19 ในอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ส่งผลให้ตลาดสหภาพยุโรปหดตัว ทั้งนี้ ตลาดศักยภาพระดับสูง ได้แก่ ตลาดฮ่องกง กลับมาขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และไต้หวัน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยสินค้าที่โดดเด่น คือ แผงวงจรไฟฟ้า ที่การส่งออกไปทั้งสองตลาด ขยายตัวในระดับเลขสองหลัก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ประเด็นที่น่าจับตามอง คือการส่งออกทองคำในเดือนนี้ขยายตัวสูง จากการที่นักลงทุนเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงเปลี่ยนมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นในระดับสูง โดยในเดือนนี้ ไทยส่งออกทองคำไป 3 ตลาดหลัก ได้แก่ ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และฮ่องกง ขณะที่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะราคาที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัว โดยเฉพาะในอาเซียน และซีแอลเอ็มวี (CLMV) สำหรับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่เดือนนี้หดตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ เมื่อหักมูลค่าสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกในเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 7.53 โดยภาพรวมใน 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออกยังขยายตัวที่ร้อยละ 1.19 แต่เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกใน 4 เดือนแรก จะหดตัวที่ร้อยละ 0.96</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u><strong>มูลค่าการค้ารวม</strong></u></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>???? มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เดือนเมษายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 18,948 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 16,486 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 17.13 โดยการค้าเกินดุล 2,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 81,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.19 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 75,224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.72 ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 6,396 ล้านดอลลาร์สหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>???? มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เดือนเมษายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 613,979 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 541,019 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 14.61 โดยการค้า เกินดุล 72,960 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 2,517,136 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ 1.07 ขณะที่ การนำเข้า มีมูลค่า 2,349,710 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 8.06 ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 167,426 ล้านบาท</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สินค้าเกษตรและอาหารเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาดต่างประเทศ และคาดว่าจะเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง 1 &ndash; 2 ปี ซึ่งนับเป็นโอกาสในการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทย ด้านสินค้าที่มีการขนส่งทางบก โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่ประสบปัญหาการปิดด่าน กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานการเจรจากับประเทศคู่ค้า อาทิ สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย โดยสามารถเจรจาลดอุปสรรคการส่งออกสินค้าตามแนวชายแดน ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าที่ใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก รวมถึงสินค้าผักและผลไม้ ที่ไทยมีการส่งออกไปจีนตอนใต้โดยขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้านด้วย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;แนวโน้มการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังเผชิญอุปสรรคสำคัญด้านการขนส่งบริเวณท่าเรือที่ยังแออัด และการขนส่งทางอากาศที่หยุดชะงัก ส่งผลให้สินค้ามูลค่าสูงที่ขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับได้รับผลกระทบด้วย คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นหลังปัญหาการระบาดลดลง โดยประเทศต่างๆ ที่เริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว อาทิ จีน เยอรมนี อิตาลี และนิวซีแลนด์ ที่ขณะนี้กำลังเริ่มต้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และในที่สุดจะทำให้กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าเหล่านี้กลับมาขยายตัว เป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์และส่วนประกอบที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง ก็คาดว่าจะกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังวิกฤติ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำหรับ การส่งเสริมการส่งออกปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้เจรจากับประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอให้สนับสนุนผลไม้ไทย 9 ชนิด ผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดต่างๆ โดยเฉพาะการขายตรงทางโทรทัศน์ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงได้ง่าย นอกจากนี้ ยังได้หารือกับภาคเอกชน เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง พร้อมเดินหน้าผลักดันมาตรการสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทย อาทิ การเจรจาเอฟทีเอกับคู่ค้าสำคัญ เช่น สหราชอาณาจักร การช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs) ในการผลักดันการส่งออก การเร่งรัดการเปิดด่านการค้าสำคัญที่พรมแดนติดกับไทย รวมทั้งการจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพเป็นช่องทางระบายสินค้าด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรรวมทั้งผู้ผลิตแปรรูปและผู้ส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถขยายการส่งออกได้ในอนาคต</p>

<p><strong>ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติม ได้ที่</strong>&nbsp;&nbsp;<a href="http://www.tpso.moc.go.th/th/node/10687">http://www.tpso.moc.go.th/th/node/10687</a></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230809110443-1.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p>&nbsp;</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230809110511-2.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230809110521-3.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230809110547-4.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230809110554-5.jpeg" style="height:800px; width:1200px" /></p>

<p>&nbsp;</p>

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563 

                      เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนเมษายน 2563 การส่งออกเดือนเมษายน 2563 มีมูลค่า 18,948 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.12 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แม้อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 4.03 ตามความต้องการสินค้าอาหารของตลาดโลกในช่วงล็อกดาวน์ โดยเฉพาะข้าวกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 18 เดือน และขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 23.10 อาหารสัตว์เลี้ยงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 34.33 นอกจากนี้ อาหารทะเลแช่แข็ง ผักและผลไม้ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป และสิ่งปรุงรสอาหาร ยังขยายตัวดีในระดับที่น่าพอใจ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.05 จากการส่งออกทองคำ อากาศยาน แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องมือแพทย์เป็นหลัก

                      การส่งออกรายตลาด ตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น มีการขยายตัวในระดับสูง ขณะที่การระบาดรุนแรงของไวรัสโควิด-19 ในอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ส่งผลให้ตลาดสหภาพยุโรปหดตัว ทั้งนี้ ตลาดศักยภาพระดับสูง ได้แก่ ตลาดฮ่องกง กลับมาขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และไต้หวัน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 โดยสินค้าที่โดดเด่น คือ แผงวงจรไฟฟ้า ที่การส่งออกไปทั้งสองตลาด ขยายตัวในระดับเลขสองหลัก

                      ประเด็นที่น่าจับตามอง คือการส่งออกทองคำในเดือนนี้ขยายตัวสูง จากการที่นักลงทุนเห็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงเปลี่ยนมาถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกทะยานขึ้นในระดับสูง โดยในเดือนนี้ ไทยส่งออกทองคำไป 3 ตลาดหลัก ได้แก่ ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และฮ่องกง ขณะที่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะราคาที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัว โดยเฉพาะในอาเซียน และซีแอลเอ็มวี (CLMV) สำหรับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่เดือนนี้หดตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ เมื่อหักมูลค่าสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกในเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 7.53 โดยภาพรวมใน 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออกยังขยายตัวที่ร้อยละ 1.19 แต่เมื่อหักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกใน 4 เดือนแรก จะหดตัวที่ร้อยละ 0.96

                      มูลค่าการค้ารวม

                      ???? มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ
                      เดือนเมษายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 18,948 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 16,486 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 17.13 โดยการค้าเกินดุล 2,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 81,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 1.19 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 75,224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.72 ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 6,396 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                      ???? มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท
                      เดือนเมษายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 613,979 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.32 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 541,019 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 14.61 โดยการค้า เกินดุล 72,960 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 2,517,136 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ 1.07 ขณะที่ การนำเข้า มีมูลค่า 2,349,710 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 8.06 ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 167,426 ล้านบาท

                      แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563

                      ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้สินค้าเกษตรและอาหารเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาดต่างประเทศ และคาดว่าจะเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง 1 – 2 ปี ซึ่งนับเป็นโอกาสในการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทย ด้านสินค้าที่มีการขนส่งทางบก โดยเฉพาะตลาดอาเซียนที่ประสบปัญหาการปิดด่าน กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานการเจรจากับประเทศคู่ค้า อาทิ สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย โดยสามารถเจรจาลดอุปสรรคการส่งออกสินค้าตามแนวชายแดน ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าที่ใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก รวมถึงสินค้าผักและผลไม้ ที่ไทยมีการส่งออกไปจีนตอนใต้โดยขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้านด้วย

                      แนวโน้มการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังเผชิญอุปสรรคสำคัญด้านการขนส่งบริเวณท่าเรือที่ยังแออัด และการขนส่งทางอากาศที่หยุดชะงัก ส่งผลให้สินค้ามูลค่าสูงที่ขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับได้รับผลกระทบด้วย คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นหลังปัญหาการระบาดลดลง โดยประเทศต่างๆ ที่เริ่มคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว อาทิ จีน เยอรมนี อิตาลี และนิวซีแลนด์ ที่ขณะนี้กำลังเริ่มต้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และในที่สุดจะทำให้กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าเหล่านี้กลับมาขยายตัว เป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์และส่วนประกอบที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง ก็คาดว่าจะกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังวิกฤติ

                      สำหรับ การส่งเสริมการส่งออกปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้เจรจากับประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอให้สนับสนุนผลไม้ไทย 9 ชนิด ผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดต่างๆ โดยเฉพาะการขายตรงทางโทรทัศน์ในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงได้ง่าย นอกจากนี้ ยังได้หารือกับภาคเอกชน เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง พร้อมเดินหน้าผลักดันมาตรการสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทย อาทิ การเจรจาเอฟทีเอกับคู่ค้าสำคัญ เช่น สหราชอาณาจักร การช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SMEs) ในการผลักดันการส่งออก การเร่งรัดการเปิดด่านการค้าสำคัญที่พรมแดนติดกับไทย รวมทั้งการจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพเป็นช่องทางระบายสินค้าด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรรวมทั้งผู้ผลิตแปรรูปและผู้ส่งออกได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถขยายการส่งออกได้ในอนาคต

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติม ได้ที่  http://www.tpso.moc.go.th/th/node/10687

 

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563