สนค. ระดมความเห็นแก้ไขปัญหาความยากจน 6 จังหวัด ชี้หลังโควิด-19 ต้องเร่งส่งเสริมธุรกิจบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง

สนค. ระดมความเห็นแก้ไขปัญหาความยากจน 6 จังหวัด ชี้หลังโควิด-19 ต้องเร่งส่งเสริมธุรกิจบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง

avatar

Administrator


90


<p><strong>สนค. ระดมความเห็นแก้ไขปัญหาความยากจน 6 จังหวัด ชี้หลังโควิด-19 ต้องเร่งส่งเสริมธุรกิจบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เป็นประธานการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM ณ ห้องตรีรัตนพร ชั้น 14 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) รายงานแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ใน 6 จังหวัด อาทิ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาหอการค้าจังหวัด กลุ่ม Biz Club กลุ่ม YEC สหกรณ์การเกษตร สภาเกษตรกรจังหวัด วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ที่ทาง สนค. ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากให้จังหวัดยากจนเรื้อรัง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก เพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(ร่าง) รายงานข้อเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก มีสาระสำคัญประกอบไปด้วย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ผลการดำเนินกิจกรรมจากการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี จากการประชุมหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายการค้า ในการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงเดือนธันวาคม 2562</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ผลจากการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดกาฬสินธุ์) และภาคเหนือ (จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน) โดยเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 และประมวลผลเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2563</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ข้อเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ขึ้น รวมทั้งมีตัวอย่างโครงการสำคัญ (Flagship Project) ที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าเห็นว่าหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ สามารถพิจารณาใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ของตนต่อไปได้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ที่ประชุมมีความเห็นต่อ (ร่าง) รายงานฉบับดังกล่าวในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเห็นว่า ในช่วงหลังโควิด-19 ที่มีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตและช่วยลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ ทั้งในภาคเกษตรกรรม รวมถึงภาคการค้าและบริการ โดยเฉพาะการค้าออนไลน์ (E-Commerce) ที่จะเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่ สามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญในการทำการค้าออนไลน์ คือ ผู้ประกอบการไทยในระดับท้องถิ่น ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการตลาด และการทำธุรกิจ จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งเสริมความเข้มแข็งในส่วนนี้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ หลาย ๆ จังหวัดก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวซบเซา จากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และทำให้แรงงานบางส่วนหายไปจากระบบ อีกทั้ง ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้น จำเป็นจะต้องมีนโยบายหรือมาตรการที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าและธุรกิจบริการ ที่มุ่งตอบโจทย์ต่อกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น โดยการเน้นพัฒนาจุดแข็งของแต่ละจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านการพัฒนาสาขาบริการสุขภาพ (Wellness) เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเดิมเป็นจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ประสบปัญหาอย่างมากจากการไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ แต่ทางจังหวัดเองก็มีนโยบายขับเคลื่อนสาขาบริการสุขภาพอยู่แล้ว โดยจะมีการเร่งทำต้นแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ การจัดหาสถานประกอบการเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจการบริบาลผู้สูงอายุ และการเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ให้มีการปรับตัว หรือการเร่งฝึกอบรมทักษะใหม่ ๆ (Reskill) ให้กับกลุ่มคนเปราะบางต่าง ๆ เช่น คนไร้สัญชาติ คนไม่มีอาชีพ คนไม่มีที่ดินทำกิน ที่ต้องการปรับเปลี่ยนอาชีพเข้าสู่ภาคการค้าและบริการมากขึ้น เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวสรุปในช่วงท้ายว่า สำนักงานฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก โดยกระทรวงพาณิชย์มีกิจกรรมต่าง ๆ จากหลากหลายกรมที่เน้นส่งเสริมและให้ความรู้ในด้านการค้าออนไลน์อย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางสื่อ Social Media ต่าง ๆ และจะเร่งขยายการฝึกอบรมต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ในขณะเดียวกัน สำนักงานฯ เพิ่งเปิดตัวเว็บไซต์ www. คิดค้า .com ที่จะเป็นอีกช่องทางสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในด้านการค้าทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการในประเทศมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ สำนักงานฯ จะให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ 6 จังหวัดมากขึ้น โดยจะนำร่องในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่จะพัฒนาให้เป็นจังหวัดต้นแบบสำหรับการพัฒนาภาคธุรกิจบริการต่อไป</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230817144754-1.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230817144802-2.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230817144810-3.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230817144817-4.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230817144826-5.jpeg" /></p>

สนค. ระดมความเห็นแก้ไขปัญหาความยากจน 6 จังหวัด ชี้หลังโควิด-19 ต้องเร่งส่งเสริมธุรกิจบริการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง

                    เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เป็นประธานการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM ณ ห้องตรีรัตนพร ชั้น 14 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) รายงานแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ใน 6 จังหวัด อาทิ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สภาหอการค้าจังหวัด กลุ่ม Biz Club กลุ่ม YEC สหกรณ์การเกษตร สภาเกษตรกรจังหวัด วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น ที่ทาง สนค. ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากให้จังหวัดยากจนเรื้อรัง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก เพื่อลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่

                    (ร่าง) รายงานข้อเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก มีสาระสำคัญประกอบไปด้วย

                    1. ผลการดำเนินกิจกรรมจากการลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี จากการประชุมหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายการค้า ในการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงเดือนธันวาคม 2562

                    2. ผลจากการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดกาฬสินธุ์) และภาคเหนือ (จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน) โดยเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 และประมวลผลเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2563

                    3. ข้อเสนอแนวทางการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก ขึ้น รวมทั้งมีตัวอย่างโครงการสำคัญ (Flagship Project) ที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าเห็นว่าหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ สามารถพิจารณาใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ของตนต่อไปได้

                    ที่ประชุมมีความเห็นต่อ (ร่าง) รายงานฉบับดังกล่าวในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเห็นว่า ในช่วงหลังโควิด-19 ที่มีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตและช่วยลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่าง ๆ ทั้งในภาคเกษตรกรรม รวมถึงภาคการค้าและบริการ โดยเฉพาะการค้าออนไลน์ (E-Commerce) ที่จะเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่ สามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญในการทำการค้าออนไลน์ คือ ผู้ประกอบการไทยในระดับท้องถิ่น ยังขาดองค์ความรู้ในด้านการตลาด และการทำธุรกิจ จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งเสริมความเข้มแข็งในส่วนนี้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ หลาย ๆ จังหวัดก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวซบเซา จากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และทำให้แรงงานบางส่วนหายไปจากระบบ อีกทั้ง ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ดังนั้น จำเป็นจะต้องมีนโยบายหรือมาตรการที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าและธุรกิจบริการ ที่มุ่งตอบโจทย์ต่อกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น โดยการเน้นพัฒนาจุดแข็งของแต่ละจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านการพัฒนาสาขาบริการสุขภาพ (Wellness) เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเดิมเป็นจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ประสบปัญหาอย่างมากจากการไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ แต่ทางจังหวัดเองก็มีนโยบายขับเคลื่อนสาขาบริการสุขภาพอยู่แล้ว โดยจะมีการเร่งทำต้นแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ทั้งในเรื่องธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ การจัดหาสถานประกอบการเพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจการบริบาลผู้สูงอายุ และการเร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ให้มีการปรับตัว หรือการเร่งฝึกอบรมทักษะใหม่ ๆ (Reskill) ให้กับกลุ่มคนเปราะบางต่าง ๆ เช่น คนไร้สัญชาติ คนไม่มีอาชีพ คนไม่มีที่ดินทำกิน ที่ต้องการปรับเปลี่ยนอาชีพเข้าสู่ภาคการค้าและบริการมากขึ้น เป็นต้น

                    นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวสรุปในช่วงท้ายว่า สำนักงานฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก โดยกระทรวงพาณิชย์มีกิจกรรมต่าง ๆ จากหลากหลายกรมที่เน้นส่งเสริมและให้ความรู้ในด้านการค้าออนไลน์อย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางสื่อ Social Media ต่าง ๆ และจะเร่งขยายการฝึกอบรมต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น

                    ในขณะเดียวกัน สำนักงานฯ เพิ่งเปิดตัวเว็บไซต์ www. คิดค้า .com ที่จะเป็นอีกช่องทางสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในด้านการค้าทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการในประเทศมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ สำนักงานฯ จะให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ 6 จังหวัดมากขึ้น โดยจะนำร่องในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่จะพัฒนาให้เป็นจังหวัดต้นแบบสำหรับการพัฒนาภาคธุรกิจบริการต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563