ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2563

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2563

avatar

Administrator


107


<p><strong>ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2563</strong>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกันยายน มีการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ในหลายประเทศ ส่งผลให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และควบคุมการเดินทาง ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทย พบว่ามีการหดตัวที่น้อยลงเป็นลำดับ แสดงถึงศักยภาพในการปรับตัวของธุรกิจทั้งฝั่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2.สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ 3.สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการระบาดรุนแรงในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเมียนมา</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดอื่นๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับ<br />
การส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สหราชอาณาจักร และเยอรมนี</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งออกไทยเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่า 19,621.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.86 สำหรับภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรก (มกราคม&ndash;กันยายน) มีมูลค่า 172,996.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.33</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<u><strong>มูลค่าการค้ารวม</strong></u></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เดือนกันยายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 19,621.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.86 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การนำเข้า มีมูลค่า 17,391.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 9.08 การค้าเกินดุล 2,2อ30.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 172,996.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.33 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 152,372.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 14.64 ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 20,623.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u><strong>มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท</strong></u><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เดือนกันยายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 609,838.49 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.24 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 548,019.22 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.59 การค้าเกินดุล 61,819.27 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 5,387,040.22 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.69 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 4,805,888.12 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 15.14 ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 581,152.10 ล้านบาท</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u><strong>แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563 และ 2564</strong></u></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งออกไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง การส่งออกไปตลาดสำคัญหลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมถึงตลาดอื่นๆ ที่แม้จะยังหดตัว แต่มีการหดตัวลดลงซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และเมื่อพิจารณารวมกับการกลับมาขยายตัวต่อเนื่องของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการส่งออกไทยที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินสถานการณ์การส่งออกในปี 2563 ได้แก่ สถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน นโยบายของผู้นำอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อการส่งออก การลงทุน และอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับปัจจัยลบที่อาจกระทบการส่งออก ได้แก่ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะยุโรปที่กลับมาล็อกดาวน์ในรายพื้นที่อีกครั้ง ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาที่การระบาดเข้าขั้นวิกฤติ อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของไทยในระยะสั้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานของสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ การที่ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ไม่พบการติดเชื้อในประเทศ ทำให้ภาคการผลิตดำเนินการได้ตามปกติ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและประเทศคู่ค้า</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้เร่งผลักดันสินค้าไทยผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ โดยใช้การเจรจาออนไลน์เพื่อหาออเดอร์ส่งออก ปรับรูปแบบการอบรมสัมมนาโดยผ่าน Facebook Live Webinar และ Zoom เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้ได้เร็ว ลดการเดินทาง และสอดรับกับวิถีชีวิตยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID-19 Prevention Best Practice) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และเป็นการรับรองว่าสินค้าไทยปราศจากเชื้อในกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้สินค้าอาหารของไทยสามารถขยายการส่งออกและเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย</p>

<p><strong>ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติมได้ที่</strong>&nbsp; <a href="https://tpso.go.th/document/2305-0000000621">click</a></p>

<p>&nbsp;</p>

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2563 

                    ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนกันยายน มีการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ในหลายประเทศ ส่งผลให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และควบคุมการเดินทาง ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทย พบว่ามีการหดตัวที่น้อยลงเป็นลำดับ แสดงถึงศักยภาพในการปรับตัวของธุรกิจทั้งฝั่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

                    สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2.สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ 3.สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการระบาดรุนแรงในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเมียนมา

                    ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดอื่นๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับ
การส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สหราชอาณาจักร และเยอรมนี

                    การส่งออกไทยเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่า 19,621.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.86 สำหรับภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรก (มกราคม–กันยายน) มีมูลค่า 172,996.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.33

                    มูลค่าการค้ารวม

                    มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ
                    เดือนกันยายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 19,621.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.86 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การนำเข้า มีมูลค่า 17,391.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 9.08 การค้าเกินดุล 2,2อ30.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 172,996.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.33 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 152,372.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 14.64 ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 20,623.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                    มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท
                    เดือนกันยายน 2563 การส่งออก มีมูลค่า 609,838.49 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.24 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 548,019.22 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.59 การค้าเกินดุล 61,819.27 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า 5,387,040.22 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.69 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 4,805,888.12 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 15.14 ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 581,152.10 ล้านบาท

                    แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563 และ 2564

                    การส่งออกไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง การส่งออกไปตลาดสำคัญหลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมถึงตลาดอื่นๆ ที่แม้จะยังหดตัว แต่มีการหดตัวลดลงซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และเมื่อพิจารณารวมกับการกลับมาขยายตัวต่อเนื่องของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการส่งออกไทยที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี

                    ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินสถานการณ์การส่งออกในปี 2563 ได้แก่ สถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน นโยบายของผู้นำอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อการส่งออก การลงทุน และอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับปัจจัยลบที่อาจกระทบการส่งออก ได้แก่ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะยุโรปที่กลับมาล็อกดาวน์ในรายพื้นที่อีกครั้ง ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาที่การระบาดเข้าขั้นวิกฤติ อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของไทยในระยะสั้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานของสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ การที่ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ไม่พบการติดเชื้อในประเทศ ทำให้ภาคการผลิตดำเนินการได้ตามปกติ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและประเทศคู่ค้า

                    การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้เร่งผลักดันสินค้าไทยผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ โดยใช้การเจรจาออนไลน์เพื่อหาออเดอร์ส่งออก ปรับรูปแบบการอบรมสัมมนาโดยผ่าน Facebook Live Webinar และ Zoom เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้ได้เร็ว ลดการเดินทาง และสอดรับกับวิถีชีวิตยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID-19 Prevention Best Practice) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และเป็นการรับรองว่าสินค้าไทยปราศจากเชื้อในกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้สินค้าอาหารของไทยสามารถขยายการส่งออกและเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติมได้ที่  click

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563