ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนตุลาคม 2563

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนตุลาคม 2563

avatar

Administrator


84


<p><strong>ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนตุลาคม 2563</strong>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การค้าระหว่างประเทศของไทยอยู่ในภาวะฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากประเทศต่าง ๆ ทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่ง ส่งผลให้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้ากระเตื้องขึ้น สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะในตลาด สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ขณะเดียวกันหลายตลาดกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายเดือน ภาพรวมการส่งออกไทยเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.71 สำหรับภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรก (มกราคม&ndash;ตุลาคม) มีมูลค่า 192,372.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.26</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>สินค้าที่ขยายตัวได้ดี</strong> ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และโซลาร์เซลล์<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อราคายางพาราของไทยในช่วงนี้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก รวมทั้งตลาดอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่การค้าชายแดนของไทยโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ยังคงได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัส</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 - 2564&nbsp;</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งออกของไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี หลายสินค้ามีศักยภาพในการขยายตัวแม้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายของว่าที่ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้สถานการณ์การค้าโลกมีความผันผวนน้อยลง อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ขยายตัวในขณะนี้เป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่ขยายตัวดีอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นสินค้าศักยภาพท่ามกลางโควิด-19 อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งจะสามารถขยายตัวต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อโลกสามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ได้สำเร็จ ความต้องการสินค้าเหล่านี้อาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น การเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยในระยะถัดไป จำเป็นต้องขยายตลาดในสินค้ากลุ่มใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.พาณิชย์) แบ่งเป็น 3 หมวด คือ การเร่งรัดการส่งออก การค้าชายแดน และยุทธศาสตร์การเจรจาข้อตกลงทางการค้าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงประเด็นย่อย อาทิ การเร่งรัดการส่งออกข้าวที่เหลืออีก 3 แสนตันตาม MOU ที่ทำกับจีน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า การแก้ไขปัญหาต้นทุนค่าขนส่ง โดยเฉพาะค่าระวางเรือที่มีอัตราสูง รวมถึงการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าอาหารของไทยว่าปลอดจากเชื้อไวรัสโควิด -19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ</p>

<p><strong>ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติมได้ที่</strong>&nbsp;<a href="https://tpso.go.th/document/2305-0000000620">click</a></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103028-1.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103034-2.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103043-3.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103051-4.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103111-6.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824103131-7.jpeg" /></p>

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนตุลาคม 2563 

                    การค้าระหว่างประเทศของไทยอยู่ในภาวะฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากประเทศต่าง ๆ ทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่ง ส่งผลให้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้ากระเตื้องขึ้น สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะในตลาด สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ขณะเดียวกันหลายตลาดกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายเดือน ภาพรวมการส่งออกไทยเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.71 สำหรับภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรก (มกราคม–ตุลาคม) มีมูลค่า 192,372.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.26

                    สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
                    1) สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร
                    2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาอบไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และโซลาร์เซลล์
                    3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อราคายางพาราของไทยในช่วงนี้

                    ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก รวมทั้งตลาดอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่การค้าชายแดนของไทยโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ยังคงได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัส

                    แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 - 2564 

                    การส่งออกของไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี หลายสินค้ามีศักยภาพในการขยายตัวแม้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายของว่าที่ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้สถานการณ์การค้าโลกมีความผันผวนน้อยลง อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ขยายตัวในขณะนี้เป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่ขยายตัวดีอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นสินค้าศักยภาพท่ามกลางโควิด-19 อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งจะสามารถขยายตัวต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อโลกสามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ได้สำเร็จ ความต้องการสินค้าเหล่านี้อาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น การเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยในระยะถัดไป จำเป็นต้องขยายตลาดในสินค้ากลุ่มใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง

                    การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.พาณิชย์) แบ่งเป็น 3 หมวด คือ การเร่งรัดการส่งออก การค้าชายแดน และยุทธศาสตร์การเจรจาข้อตกลงทางการค้าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงประเด็นย่อย อาทิ การเร่งรัดการส่งออกข้าวที่เหลืออีก 3 แสนตันตาม MOU ที่ทำกับจีน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า การแก้ไขปัญหาต้นทุนค่าขนส่ง โดยเฉพาะค่าระวางเรือที่มีอัตราสูง รวมถึงการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าอาหารของไทยว่าปลอดจากเชื้อไวรัสโควิด -19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าวเพิ่มเติมได้ที่ click

เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563