พาณิชย์เผยประชาชนซื้อของออนไลน์ต่อเนื่อง และชื่นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

พาณิชย์เผยประชาชนซื้อของออนไลน์ต่อเนื่อง และชื่นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

avatar

Administrator


160


<p><strong>พาณิชย์เผยประชาชนซื้อของออนไลน์ต่อเนื่อง และชื่นชอบ</strong><strong>มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 สนค. ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการบริโภคออนไลน์ยังคงทรงตัว ขณะที่มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐได้รับความนิยมหลายโครงการ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ผลการสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคทั่วประเทศใน 7 กลุ่มอาชีพทุกอำเภอ</strong>&nbsp;(884 อำเภอ/เขต) จำนวน 8,072 คน พบว่า ผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ใกล้เคียงกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ซื้อเท่าเดิม (ร้อยละ 46.14) ซื้อลดลง (ร้อยละ 35.83) และซื้อเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.03) ซึ่งผู้ที่ซื้อเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานรัฐ และกลุ่มนักศึกษา โดยนิยมซื้อสินค้าและบริการผ่าน Platform สมัยใหม่ อาทิ Lazada, Shopee มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.45 รองลงมาคือ ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โลตัส/บิ๊กซี/วัตสัน/โรบินสัน) ร้อยละ 25.32 และ Facebook ร้อยละ 16.44 สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ส่วนใหญ่มียอดซื้อต่ำกว่า 1,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 49.23 รองลงมา คือ 1,001 &ndash; 3,000 บาท ร้อยละ 37.57 และมากกว่า 3,000 บาทร้อยละ 13.20 สอดคล้องกับเดือนสิงหาคมและช่วงรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้ที่มีรายได้สูง จะมีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยต่อเดือนสูงมากกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า ทั้งนี้&nbsp;<strong>สนค.&nbsp;</strong><strong>ได้ประมาณการยอดการใช้จ่ายออนไลน์รายเดือนตามข้อมูลที่มีการสำรวจพบว่า มีมูลค่าถึง 52</strong><strong>,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือประมาณร้อยละ 7.80&nbsp;</strong><strong>ของยอดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมของประเทศ</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>สำหรับสินค้าและบริการที่นิยมซื้อผ่านออนไลน์มากที่สุดยังคงเดิม&nbsp;</strong>ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 27.46&nbsp; อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 21.13&nbsp; ผลิตภัณฑ์และของใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 18.69&nbsp; และสุขภาพและความงาม/ของใช้ส่วนบุคคล ร้อยละ 17.71&nbsp;&nbsp;<strong>โดยเหตุผลหลักในการซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องความสะดวก&nbsp;</strong>ร้อยละ 33.28 รองลงมา คือ ราคาถูก ร้อยละ 20.30 และมีให้เลือกหลากหลาย ร้อยละ 18.94&nbsp;<a id="_Hlk57724433" name="_Hlk57724433">ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าออนไลน์นับวันจะยิ่งได้รับความนิยมและทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อได้อย่างมีนัยสำคัญได้ ซึ่ง สนค. ได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวและอยู่ระหว่างการศึกษาพฤติกรรมราคาสินค้า/บริการออนไลน์</a>เพื่อกำหนดวิธีการจัดทำเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับบริบทโลกใหม่โดยเร็ว</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกจากนี้ สนค. ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นของภาครัฐ พบว่า&nbsp;<strong>โครงการคนละครึ่งได้รับความนิยมเข้าร่วมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.18</strong>&nbsp;ตามด้วย ชิม ช้อป ใช้ ร้อยละ 45.30 เราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 21.06 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 7.70&nbsp; ทั้งนี้&nbsp;<a id="_Hlk57724734" name="_Hlk57724734"><strong>ประชาชนที่เข้าร่วมกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ&nbsp;</strong>เห็นว่า</a>&nbsp;<strong>โครงการดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ&nbsp;</strong><strong>39.63</strong>&nbsp;สอดคล้องกับความต้องการ ร้อยละ 22.81 สามารถกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้จริง ร้อยละ 22.66 และเห็นว่าใช้สะดวก ร้อยละ 14.90 ทั้งนี้<a id="_Hlk57724834" name="_Hlk57724834"><strong>โครงการที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง สูงถึงร้อยละ&nbsp;</strong></a><strong>47.95</strong>&nbsp;&nbsp;ชิม ช้อป ใช้ ร้อยละ 25.82 เพิ่มวันหยุดยาว ร้อยละ 19.04 เราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 4.70 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 2.49</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>สำหรับเหตุผลหลักของผู้ไม่เข้าร่วมโครงการของภาครัฐ&nbsp;</strong>คือ ขั้นตอนลงทะเบียน/การใช้ยุ่งยาก (ร้อยละ 30.90) รองลงมา ลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนด (ร้อยละ 27.71) และเหตุผลอื่นๆ อาทิ ไม่จูงใจ อุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวยในการใช้งาน ไม่ทราบ/ไม่เข้าใจมาตรการ ไม่อยากเปิดเผยข้อมูล (ร้อยละ 41.39) &nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สนค. คาดว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐดังกล่าว จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำลังการซื้อ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีรายได้ รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการและประชาชนให้สามารถเข้าถึงและใช้ระบบดิจิทัลในการซื้อขายสินค้าได้เป็นอย่างดี &nbsp;นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้าในระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ภาครัฐสามารถเข้าถึงผู้ค้าและผู้บริโภคเพื่อรับทราบความต้องการและเสนอมาตรการให้ตรงเป้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงการทั้งหลาย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อไม่มากนัก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>นอกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลข้างต้นแล้ว ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังมีมาตรการและนโยบายอื่นๆ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพของภาคประชาชนอีกหลายโครงการ</strong>&nbsp;เช่น โครงการพาณิชย์ลดราคา โครงการธงฟ้า เป็นต้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือภาคผู้ประกอบการ เช่น การจัดทำ Platform Online ของสินค้าไทย (Thaitrade.com) การอบรมส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการของไทย (Thailand Trust Mark) การจัดงานขายสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด เป็นต้น ซึ่งแต่ละโครงการต่างมีเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างกัน ทั้งนี้&nbsp;<strong>กระทรวงพาณิชย์จะมีโครงการที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่หลากหลาย และกระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนออกมาอย่างต่อเนื่อง&nbsp;</strong><strong>เพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปได้อย่างดีที่สุด</strong></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824111133-1.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824111142-2.jpeg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230824111151-3.jpeg" /></p>

<p><strong>ไฟล์อัพโหลด:</strong>&nbsp;<a href="http://uploads.tpso.go.th/infographic_2.pdf" target="_blank">infographic_2.pdf</a></p>

พาณิชย์เผยประชาชนซื้อของออนไลน์ต่อเนื่อง และชื่นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

                       น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 สนค. ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการบริโภคออนไลน์ยังคงทรงตัว ขณะที่มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐได้รับความนิยมหลายโครงการ

                       ผลการสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคทั่วประเทศใน 7 กลุ่มอาชีพทุกอำเภอ (884 อำเภอ/เขต) จำนวน 8,072 คน พบว่า ผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ใกล้เคียงกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ซื้อเท่าเดิม (ร้อยละ 46.14) ซื้อลดลง (ร้อยละ 35.83) และซื้อเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 18.03) ซึ่งผู้ที่ซื้อเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานรัฐ และกลุ่มนักศึกษา โดยนิยมซื้อสินค้าและบริการผ่าน Platform สมัยใหม่ อาทิ Lazada, Shopee มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.45 รองลงมาคือ ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ (โลตัส/บิ๊กซี/วัตสัน/โรบินสัน) ร้อยละ 25.32 และ Facebook ร้อยละ 16.44 สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ส่วนใหญ่มียอดซื้อต่ำกว่า 1,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 49.23 รองลงมา คือ 1,001 – 3,000 บาท ร้อยละ 37.57 และมากกว่า 3,000 บาทร้อยละ 13.20 สอดคล้องกับเดือนสิงหาคมและช่วงรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้ที่มีรายได้สูง จะมีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยต่อเดือนสูงมากกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า ทั้งนี้ สนค. ได้ประมาณการยอดการใช้จ่ายออนไลน์รายเดือนตามข้อมูลที่มีการสำรวจพบว่า มีมูลค่าถึง 52,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือประมาณร้อยละ 7.80 ของยอดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมของประเทศ

                       สำหรับสินค้าและบริการที่นิยมซื้อผ่านออนไลน์มากที่สุดยังคงเดิม ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ร้อยละ 27.46  อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 21.13  ผลิตภัณฑ์และของใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 18.69  และสุขภาพและความงาม/ของใช้ส่วนบุคคล ร้อยละ 17.71  โดยเหตุผลหลักในการซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องความสะดวก ร้อยละ 33.28 รองลงมา คือ ราคาถูก ร้อยละ 20.30 และมีให้เลือกหลากหลาย ร้อยละ 18.94 ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าออนไลน์นับวันจะยิ่งได้รับความนิยมและทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อเงินเฟ้อได้อย่างมีนัยสำคัญได้ ซึ่ง สนค. ได้ตระหนักถึงประเด็นดังกล่าวและอยู่ระหว่างการศึกษาพฤติกรรมราคาสินค้า/บริการออนไลน์เพื่อกำหนดวิธีการจัดทำเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับบริบทโลกใหม่โดยเร็ว

                       นอกจากนี้ สนค. ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นของภาครัฐ พบว่า โครงการคนละครึ่งได้รับความนิยมเข้าร่วมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.18 ตามด้วย ชิม ช้อป ใช้ ร้อยละ 45.30 เราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 21.06 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 7.70  ทั้งนี้ ประชาชนที่เข้าร่วมกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เห็นว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 39.63 สอดคล้องกับความต้องการ ร้อยละ 22.81 สามารถกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้จริง ร้อยละ 22.66 และเห็นว่าใช้สะดวก ร้อยละ 14.90 ทั้งนี้โครงการที่ประชาชนเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง สูงถึงร้อยละ 47.95  ชิม ช้อป ใช้ ร้อยละ 25.82 เพิ่มวันหยุดยาว ร้อยละ 19.04 เราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 4.70 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 2.49

                       สำหรับเหตุผลหลักของผู้ไม่เข้าร่วมโครงการของภาครัฐ คือ ขั้นตอนลงทะเบียน/การใช้ยุ่งยาก (ร้อยละ 30.90) รองลงมา ลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนด (ร้อยละ 27.71) และเหตุผลอื่นๆ อาทิ ไม่จูงใจ อุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวยในการใช้งาน ไม่ทราบ/ไม่เข้าใจมาตรการ ไม่อยากเปิดเผยข้อมูล (ร้อยละ 41.39)  

                       สนค. คาดว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐดังกล่าว จะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำลังการซื้อ ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีรายได้ รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการและประชาชนให้สามารถเข้าถึงและใช้ระบบดิจิทัลในการซื้อขายสินค้าได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้าในระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ภาครัฐสามารถเข้าถึงผู้ค้าและผู้บริโภคเพื่อรับทราบความต้องการและเสนอมาตรการให้ตรงเป้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โครงการทั้งหลาย คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อไม่มากนัก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป

                       นอกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลข้างต้นแล้ว ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังมีมาตรการและนโยบายอื่นๆ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพของภาคประชาชนอีกหลายโครงการ เช่น โครงการพาณิชย์ลดราคา โครงการธงฟ้า เป็นต้น รวมถึงมาตรการช่วยเหลือภาคผู้ประกอบการ เช่น การจัดทำ Platform Online ของสินค้าไทย (Thaitrade.com) การอบรมส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ เครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการของไทย (Thailand Trust Mark) การจัดงานขายสินค้าเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด เป็นต้น ซึ่งแต่ละโครงการต่างมีเป้าหมาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างกัน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จะมีโครงการที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่หลากหลาย และกระจายอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วนออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปได้อย่างดีที่สุด

ไฟล์อัพโหลด: 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 08 ธันวาคม 2563