สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2564

สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2564

avatar

Administrator


111


<p><strong>สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2564</strong>&nbsp;</p>

<p><strong>ภาพรวม</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.17 (YoY) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 นับตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มส่งผลต่อไทยในเดือนมีนาคมปีก่อน อย่างไรก็ตาม การหดตัวในเดือนนี้มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.&ndash;มี.ค. 64) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และฐานราคาที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ยกเว้น น้ำมันเชื้อเพลิง มีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก เมื่อหักอาหารสด และพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.04 (YoY)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐ ในขณะที่สถานการณ์ด้านการผลิตและบริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว สอดคล้องกับการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตที่กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อัตราการว่างงาน และรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่ช่วยลดค่าครองชีพ เพิ่มกำลังซื้อ และกระตุ้นเศรษฐกิจยังออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คาดการณ์ว่าสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการในระยะต่อไปจะมีแนวโน้มขยายตัวตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป</p>

<p><strong>แนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนมีนาคม 2564</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2564 มีแนวโน้มหดตัวเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสำคัญจากผลของมาตรการดูแลค่าครองชีพประชาชนด้านสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) ที่ยังมีผลต่อเนื่องจากเดือนนี้ รวมทั้งราคาข้าวสารที่ยังต่ำกว่าปีก่อน และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิต ในขณะที่ราคาน้ำมันในปีนี้อาจผันผวนบ้าง ตามสถานการณ์ราคาโลก แต่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 &ndash; 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง</p>

<p>ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าว ได้ที่&nbsp; <a href="https://tpso.go.th/document/2306-0000000019">click</a></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/1_4.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/2_5.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/3_6.jpg" /></p>

สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 

ภาพรวม

                    ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 1.17 (YoY) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 นับตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19 เริ่มส่งผลต่อไทยในเดือนมีนาคมปีก่อน อย่างไรก็ตาม การหดตัวในเดือนนี้มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.–มี.ค. 64) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และฐานราคาที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ยกเว้น น้ำมันเชื้อเพลิง มีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก เมื่อหักอาหารสด และพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.04 (YoY) 

                    เงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงมากในเดือนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐ ในขณะที่สถานการณ์ด้านการผลิตและบริโภคเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว สอดคล้องกับการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อัตราการใช้กำลังการผลิตที่กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อัตราการว่างงาน และรายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่ช่วยลดค่าครองชีพ เพิ่มกำลังซื้อ และกระตุ้นเศรษฐกิจยังออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คาดการณ์ว่าสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการในระยะต่อไปจะมีแนวโน้มขยายตัวตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป

แนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนมีนาคม 2564

                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2564 มีแนวโน้มหดตัวเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสำคัญจากผลของมาตรการดูแลค่าครองชีพประชาชนด้านสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) ที่ยังมีผลต่อเนื่องจากเดือนนี้ รวมทั้งราคาข้าวสารที่ยังต่ำกว่าปีก่อน และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิต ในขณะที่ราคาน้ำมันในปีนี้อาจผันผวนบ้าง ตามสถานการณ์ราคาโลก แต่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 – 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการแถลงข่าว ได้ที่  click

เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564