ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2564

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2564

avatar

Administrator


84


<p><strong>ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2564</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (760,556 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 17.1</strong>&nbsp;หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 14.8 การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ได้รับแรงหนุนจากการส่งเสริม ผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของกระทรวงพาณิชย์ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตดี และการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันสินค้าไทย ทั้งนี้&nbsp;<strong>การส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 20.4 สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;กระทรวงพาณิชย์ คาดการส่งออกยังมีทิศทางที่ดีตลอดทั้งปี ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 บ่งชี้จากองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกแถลงปรับเพิ่มคาดการณ์ การขยายตัวของการค้าโลกในปี 2564 จากเดิมเติบโตร้อยละ 8.0 เป็นเติบโตร้อยละ 10.8 เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มการใช้มาตรการจำกัดการค้าน้อยลง และใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า มากขึ้น นอกจากนี้ สถาบัน IHS Markit ได้เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) เดือนกันยายน 2564 ที่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 และดัชนีย่อยคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ (New Export Order) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเช่นกันเป็นเดือนที่ 13 สะท้อนมุมมองบวกของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี</strong>&nbsp;ได้แก่&nbsp;<strong>1) สินค้าเกษตรและอาหาร</strong>&nbsp;โดยเฉพาะข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร&nbsp;<strong>2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน</strong>&nbsp;เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์&nbsp;<strong>3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด</strong>&nbsp;เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์&nbsp;<strong>4) สินค้าขั้นกลางหรือสินค้าวัตถุดิบ</strong>&nbsp;เช่น เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ&nbsp;<strong>5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง</strong>&nbsp;เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ยังขยายตัวได้ดี</p>

<p><strong>มูลค่าการค้ารวม</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>&nbsp;มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2564</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การส่งออก</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การนำเข้า</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 22,426.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 30.3<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ดุลการค้า<strong>เกินดุล</strong>&nbsp;609.8 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออก</strong>&nbsp;มีมูลค่า 199,997.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.5<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การนำเข้า</strong>&nbsp;มีมูลค่า 197,980.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.9<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดุลการค้า 9 เดือนแรก เกินดุล</strong>&nbsp;2,016.8 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>&nbsp;มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2564</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การส่งออก</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 760,556.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การนำเข้า</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 750,267.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.4<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ดุลการค้า<strong>เกินดุล</strong>&nbsp;10,289.3 ล้านบาท</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การส่งออก</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 6,202,170.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.0<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<u><strong>การนำเข้า</strong></u>&nbsp;มีมูลค่า 6,226,790.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.5<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดุลการค้า 9 เดือนแรก</strong>&nbsp;ขาดดุล 24,620.7 ล้านบาท</p>

<p><strong>การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร&nbsp;<u>ขยายตัว</u>ร้อยละ 12.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน สินค้าที่<u>ขยายตัวดี</u></strong>&nbsp;ได้แก่&nbsp;<strong>ยางพารา</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 83.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)&nbsp;<strong>ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 44.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้)&nbsp;<strong>ข้าว</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 33.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ แอฟริกาใต้ จีน อิรัก และมาเลเซีย)&nbsp;<strong>อาหารสัตว์เลี้ยง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 23.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 25 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อิตาลี และฟิลิปปินส์)&nbsp;<strong>ผลไม้กระป๋องและแปรรูป</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 29.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และรัสเซีย)&nbsp;<strong>สินค้าที่<u>หดตัว</u></strong>&nbsp;ได้แก่&nbsp;<strong>ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 22.0 กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง และเวียดนาม แต่ขยายตัวดีในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)&nbsp;<strong>อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 18.2 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดา แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน กัมพูชา และแอฟริกาใต้)&nbsp;<strong>ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 22.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย)&nbsp;<strong>สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 66.3 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย)&nbsp;<strong>เครื่องดื่ม</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 25.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา เวียดนาม เมียนมา จีน และสปป.ลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และกานา)&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.5</strong></p>

<p><strong>การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;<strong>&nbsp;มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม&nbsp;<u>ขยายตัว</u>ร้อยละ 15.8 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน สินค้าที่<u>ขยายตัวดี</u></strong>&nbsp;ได้แก่&nbsp;<strong>สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 61.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย กัมพูชา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย)&nbsp;<strong>รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 4.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้)&nbsp;<strong>เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 22.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์)&nbsp;<strong>เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 32.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์)&nbsp;<strong>แผงวงจรไฟฟ้า</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 16.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ)&nbsp;<strong>เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 38.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน และอินเดีย)&nbsp;<strong>สินค้าที่<u>หดตัว</u></strong>&nbsp;ได้แก่&nbsp;<strong>เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 8.0 กลับมาหดตัวในรอบ 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา)&nbsp;<strong>เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 24.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดนีเซีย)&nbsp;<strong>ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 52.6 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดกัมพูชา สปป.ลาว ฮ่องกง และอินโดนีเซีย)&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.6</strong></p>

<p><strong>ตลาดส่งออกสำคัญ</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าทั่วโลกที่คลี่คลายลง และการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 18.1</strong>&nbsp;โดยขยายตัว ในตลาด<u>สหรัฐฯ</u>&nbsp;ร้อยละ 20.2 จีน ร้อยละ 23.3&nbsp;<u>ญี่ปุ่น</u>&nbsp;ร้อยละ 13.2&nbsp;<u>อาเซียน (5)</u>&nbsp;ร้อยละ 25.7&nbsp;<u>CLMV</u>&nbsp;ร้อยละ 8.2 และ&nbsp;<u>สหภาพยุโรป (27)</u>&nbsp;ร้อยละ 12.6&nbsp;<strong>2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 21.8</strong>&nbsp;ขยายตัวทุกกลุ่มตลาด ได้แก่&nbsp;<u>เอเชียใต้</u>&nbsp;ร้อยละ 69.0&nbsp;<u>ทวีปออสเตรเลีย</u>&nbsp;ร้อยละ 3.0&nbsp;<u>ตะวันออกกลาง</u>&nbsp;ร้อยละ 17.4&nbsp;<u>ทวีปแอฟริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 30.2&nbsp;<u>ลาตินอเมริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 10.1 และ<u>รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS</u>&nbsp;ร้อยละ 42.5 และ 3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 65.5<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดสหรัฐอเมริกา</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 20.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ อัญมณีและเครื่องประดับ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 20.5<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดจีน</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทองแดง และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 27.4<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดญี่ปุ่น</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 13.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ทองแดง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 13.5<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดอาเซียน (5)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 25.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 12.4<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาด CLMV</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 8.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 14.9<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดสหภาพยุโรป (27)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 12.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 23.1<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดเอเชียใต้</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 69.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 56.2<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดอินเดีย</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 76.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 58.4<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 3.0 (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 15.1<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดตะวันออกกลาง (15)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 17.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์ และตู้เย็นและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 17.6<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดทวีปแอฟริกา (57)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 30.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปฯ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 24.1<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดลาตินอเมริกา (47)</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 10.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยางพารา และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 41.7<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 42.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>9 เดือนแรกของปี 2564</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 24.5</p>

<p><strong>แนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564</strong><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดี</strong>&nbsp;สะท้อนจาก (1) ทิศทางการค้าโลกขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 (2) ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย (3) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเตรียมเปิดประเทศในหลายประเทศ และ (4) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวและเติบโต ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี</strong>&nbsp;รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ยังคงมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ&nbsp;<strong>ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ &ldquo;ตลาดนำการผลิต&rdquo; และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้</strong>&nbsp;โดยในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์ยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรม ที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออก อาทิ การนำสินค้าไทยไปขายบนแพลตฟอร์มของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสินค้าอาหารสุขภาพ ความงาม และไลฟ์สไตล์ การเร่งรัดการส่งออกข้าวไปยังตลาดแอฟริกาใต้ จีน เยเมน และอิรัก พร้อมแผนประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ และจีน นอกจากนี้ ยังจะมีแผนการดำเนินการที่เป็นผลจากการลงพื้นที่ของรองนายกรัฐมนตรีฯ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก 17 มาตรการ พร้อมผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการค้าอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และการเร่งรัดให้มีการเปิดด่านการค้าชายแดนอีก 11 ด่าน หลังจากที่ได้ปิดชั่วคราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/image-20230908135729-1.jpeg" /></p>

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนกันยายน 2564

                     การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (760,556 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 17.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 14.8 การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ได้รับแรงหนุนจากการส่งเสริม ผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของกระทรวงพาณิชย์ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตดี และการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันสินค้าไทย ทั้งนี้ การส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 20.4 สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)

                     กระทรวงพาณิชย์ คาดการส่งออกยังมีทิศทางที่ดีตลอดทั้งปี ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 บ่งชี้จากองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกแถลงปรับเพิ่มคาดการณ์ การขยายตัวของการค้าโลกในปี 2564 จากเดิมเติบโตร้อยละ 8.0 เป็นเติบโตร้อยละ 10.8 เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มการใช้มาตรการจำกัดการค้าน้อยลง และใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า มากขึ้น นอกจากนี้ สถาบัน IHS Markit ได้เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) เดือนกันยายน 2564 ที่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 และดัชนีย่อยคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ (New Export Order) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเช่นกันเป็นเดือนที่ 13 สะท้อนมุมมองบวกของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึงการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

                     กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 1) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 4) สินค้าขั้นกลางหรือสินค้าวัตถุดิบ เช่น เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ยังขยายตัวได้ดี

มูลค่าการค้ารวม
                     มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2564
                     การส่งออก มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 22,426.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 30.3
                     ดุลการค้าเกินดุล 609.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

                     ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564
                     การส่งออก มีมูลค่า 199,997.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.5
                     การนำเข้า มีมูลค่า 197,980.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.9
                     ดุลการค้า 9 เดือนแรก เกินดุล 2,016.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

                     มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2564
                     การส่งออก มีมูลค่า 760,556.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                     การนำเข้า มีมูลค่า 750,267.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.4
                     ดุลการค้าเกินดุล 10,289.3 ล้านบาท

                     ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564
                     การส่งออก มีมูลค่า 6,202,170.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.0
                     การนำเข้า มีมูลค่า 6,226,790.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.5
                     ดุลการค้า 9 เดือนแรก ขาดดุล 24,620.7 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                     มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 83.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 44.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 33.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ แอฟริกาใต้ จีน อิรัก และมาเลเซีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 23.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 25 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อิตาลี และฟิลิปปินส์) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 29.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และรัสเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 22.0 กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง และเวียดนาม แต่ขยายตัวดีในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 18.2 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดา แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน กัมพูชา และแอฟริกาใต้) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 22.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ หดตัวร้อยละ 66.3 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 25.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา เวียดนาม เมียนมา จีน และสปป.ลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และกานา) 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.5

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                     มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 15.8 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 61.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย กัมพูชา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 16.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 38.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน และอินเดีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 8.0 กลับมาหดตัวในรอบ 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดนีเซีย) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป หดตัวร้อยละ 52.6 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดกัมพูชา สปป.ลาว ฮ่องกง และอินโดนีเซีย) 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.6

ตลาดส่งออกสำคัญ
                     การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าทั่วโลกที่คลี่คลายลง และการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น

                     ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 18.1 โดยขยายตัว ในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 20.2 จีน ร้อยละ 23.3 ญี่ปุ่น ร้อยละ 13.2 อาเซียน (5) ร้อยละ 25.7 CLMV ร้อยละ 8.2 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 12.6 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 21.8 ขยายตัวทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ ร้อยละ 69.0 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 3.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 17.4 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 30.2 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 10.1 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 42.5 และ 3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 65.5
                     ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 20.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ อัญมณีและเครื่องประดับ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 20.5
                     ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ทองแดง และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 27.4
                     ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 13.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ทองแดง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 13.5
                     ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 25.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 12.4
                     ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 8.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 14.9
                     ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 12.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 23.1
                     ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 69.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 56.2
                     ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 76.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 58.4
                     ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) ขยายตัวร้อยละ 3.0 (กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.1
                     ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 17.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ โทรศัพท์และอุปกรณ์ และตู้เย็นและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 17.6
                     ตลาดทวีปแอฟริกา (57) ขยายตัวร้อยละ 30.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปฯ และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 24.1
                     ตลาดลาตินอเมริกา (47) ขยายตัวร้อยละ 10.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยางพารา และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 41.7
                     ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 42.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก และโทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 24.5

แนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564
                     การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดี สะท้อนจาก (1) ทิศทางการค้าโลกขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 (2) ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย (3) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเตรียมเปิดประเทศในหลายประเทศ และ (4) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวและเติบโต ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์

                     สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ยังคงมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ โดยในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์ยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรม ที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออก อาทิ การนำสินค้าไทยไปขายบนแพลตฟอร์มของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสินค้าอาหารสุขภาพ ความงาม และไลฟ์สไตล์ การเร่งรัดการส่งออกข้าวไปยังตลาดแอฟริกาใต้ จีน เยเมน และอิรัก พร้อมแผนประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ และจีน นอกจากนี้ ยังจะมีแผนการดำเนินการที่เป็นผลจากการลงพื้นที่ของรองนายกรัฐมนตรีฯ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก 17 มาตรการ พร้อมผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการค้าอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และการเร่งรัดให้มีการเปิดด่านการค้าชายแดนอีก 11 ด่าน หลังจากที่ได้ปิดชั่วคราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564