สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนธันวาคม 2564

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนธันวาคม 2564

avatar

Administrator


117


<p><strong>สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนธันวาคม 2564</strong></p>

<p><strong>ภาพรวม</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป&nbsp;</strong>เดือนธันวาคม 2564&nbsp;เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<strong>&nbsp;สูงขึ้นร้อยละ 2.17 (</strong><strong>YoY)</strong>&nbsp;สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 2.71 จากราคา<strong>น้ำมันเชื้อเพลิง</strong>ขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ&nbsp;<strong>ราคาผักสด</strong>ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน&nbsp;<strong>เนื้อสุกรและไข่ไก่&nbsp;</strong>ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการโรคระบาดในสุกร นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยลดปริมาณการเลี้ยงสุกร รวมทั้ง&nbsp;<strong>น้ำมันพืช กับข้าวสำเร็จรูปและข้าวราดแกง</strong>&nbsp;ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนและวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม&nbsp;<strong>ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษายังคงปรับลดลง</strong>&nbsp;ส่วนสินค้าอื่น ๆ อาทิ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และของใช้ส่วนบุคคลยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและปริมาณผลผลิต&nbsp;</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายตัว&nbsp;<strong>ด้านอุปสงค์</strong>&nbsp;ได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งการจัดเก็บจากจากการนำเข้า รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีและต่อเนื่อง&nbsp;<strong>ด้านอุปทาน</strong>&nbsp;ได้แก่ อัตราการใช้กำลังการผลิต และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เงินเฟ้อพื้นฐาน&nbsp;</strong>เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก&nbsp;<strong>ในเดือนนี้ทรงตัวที่ร้อยละ 0.29 (</strong><strong>YoY)&nbsp;</strong>เท่ากับเดือนก่อน<br />
<strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เงินเฟ้อทั่วไป&nbsp;</strong>เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564&nbsp;<strong>ลดลงร้อยละ 0.38 (</strong><strong>MoM) ไตรมาสที่ 4 ปี 2564&nbsp;</strong>เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน<strong>&nbsp;สูงขึ้นร้อยละ 2.42 (</strong><strong>YoY)</strong>&nbsp;เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า&nbsp;<strong>สูงขึ้นร้อยละ 1.80</strong>&nbsp;<strong>(</strong><strong>QoQ)</strong>&nbsp;และ<strong>เฉลี่ยทั้งปี 2564</strong>&nbsp;เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน<strong>&nbsp;สูงขึ้นร้อยละ 1.23 (</strong><strong>AoA)</strong></p>

<p><strong>สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อปี 2564</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23</strong>&nbsp;ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.8 &ndash; 1.2&nbsp;<strong>และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.23</strong>&nbsp;ซึ่งขยายตัวเท่ากับปีก่อน&nbsp;<strong>ปัจจัยบวก</strong>ที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีนี้ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง จากอุปทานที่ไม่สมดุลกับอุปสงค์ของโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และผลผลิตที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับ<strong>ปัจจัยลบ</strong>&nbsp;ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัวลง รวมถึงผลผลิตมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ&nbsp;<strong>เงินเฟ้อดังกล่าวชี้ว่า สถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2564 &nbsp;ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์</strong></p>

<p><strong>แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป</strong><strong>&nbsp;ปี 2565</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น</strong>ในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยด้าน<strong>อุปสงค์</strong>ทั้งในและต่างประเทศจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต และอุปสงค์ด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน&nbsp;<strong>สำหรับอุปทาน</strong>ที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต การขนส่ง เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อภาคการผลิตและสินค้าในหมวดอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวน รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากโควิด-19 ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>ทั้งนี้&nbsp;<strong>กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี&nbsp;</strong><strong>2565 จะมีค่ากลางที่ร้อยละ 1.5</strong>&nbsp;ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสม</p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/1_25.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/2_26.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/3_26.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/4_22.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/5_19.jpg" /></p>

<p><img src="http://uploads.tpso.go.th/6_14.jpg" /></p>

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนธันวาคม 2564

ภาพรวม

                     ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.17 (YoY) สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 2.71 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ ราคาผักสดยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื้อสุกรและไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการโรคระบาดในสุกร นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยลดปริมาณการเลี้ยงสุกร รวมทั้ง น้ำมันพืช กับข้าวสำเร็จรูปและข้าวราดแกง ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนและวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษายังคงปรับลดลง ส่วนสินค้าอื่น ๆ อาทิ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และของใช้ส่วนบุคคลยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและปริมาณผลผลิต 

                     เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายตัว ด้านอุปสงค์ ได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งการจัดเก็บจากจากการนำเข้า รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีและต่อเนื่อง ด้านอุปทาน ได้แก่ อัตราการใช้กำลังการผลิต และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี

                     เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก ในเดือนนี้ทรงตัวที่ร้อยละ 0.29 (YoY) เท่ากับเดือนก่อน
                     เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ลดลงร้อยละ 0.38 (MoM) ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.42 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.80 (QoQ) และเฉลี่ยทั้งปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.23 (AoA)

สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อปี 2564

                     เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23 ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.8 – 1.2 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.23 ซึ่งขยายตัวเท่ากับปีก่อน ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีนี้ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง จากอุปทานที่ไม่สมดุลกับอุปสงค์ของโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และผลผลิตที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัวลง รวมถึงผลผลิตมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เงินเฟ้อดังกล่าวชี้ว่า สถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2564  ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์

แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565

                     คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต และอุปสงค์ด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน สำหรับอุปทานที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต การขนส่ง เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อภาคการผลิตและสินค้าในหมวดอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวน รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากโควิด-19 ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด

                     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2565 จะมีค่ากลางที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสม

เผยแพร่เมื่อวันที่ 06 มกราคม 2565