สนค. แนะพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้วยการพัฒนาคน โดยเฉพาะทักษะด้านดิจิทัล

สนค. แนะพัฒนาขีดความสามารถของประเทศด้วยการพัฒนาคน โดยเฉพาะทักษะด้านดิจิทัล

avatar

Administrator


593


<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการบุคลากรและตลาดแรงงานทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของเทคโนโลยีและความท้าทายของโลกที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 การแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ไปจนถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical tension) ปัจจัยเหล่านี้ได้สร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อบุคลากรในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคบริการ ซึ่งรวมถึงภาคการศึกษาที่อาจมีความจำเป็นต้องปรับหลักสูตรให้เท่าทันกับโลกยุคใหม่ พร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) สอดคล้องกับความกังวลของรัฐบาลปัจจุบันต่อภาพรวมการศึกษาไทยยังมีความท้าทายเชิงคุณภาพ ที่ยังไม่สามารถผลิตบุคลากรให้ตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ได้ ในขณะเดียวกัน วิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการมีความคาดหวังกับการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน โดยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเฉพาะมากขึ้น อาทิ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการทำงานที่หลากหลาย (Multitasking skill) รวมถึงความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ตรงกับข้อมูลจากรายงานของบริษัท PWC บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก โดยสำรวจคนทำงานกว่า 19,500 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2566 ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นเป็นทักษะที่จำเป็นที่สุด และเชื่อว่านายจ้างจะสนับสนุนการยกระดับทักษะด้านดิจิทัล โดยเห็นว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทำงานนับเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ประกอบกับเกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ภายใน 5 ปี ข้างหน้าทักษะที่จำเป็นสำหรับงานของตนจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากความต้องการที่เปลี่ยนไป</p>

<p><a href="https://uploads.tpso.go.th/Press พัฒนาคน FINAL.pdf" target="_blank">Press พัฒนาคน FINAL.pdf</a></p>

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการบุคลากรและตลาดแรงงานทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาของเทคโนโลยีและความท้าทายของโลกที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 การแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ไปจนถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical tension) ปัจจัยเหล่านี้ได้สร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องต่อบุคลากรในตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคบริการ ซึ่งรวมถึงภาคการศึกษาที่อาจมีความจำเป็นต้องปรับหลักสูตรให้เท่าทันกับโลกยุคใหม่ พร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital economy) สอดคล้องกับความกังวลของรัฐบาลปัจจุบันต่อภาพรวมการศึกษาไทยยังมีความท้าทายเชิงคุณภาพ ที่ยังไม่สามารถผลิตบุคลากรให้ตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ได้ ในขณะเดียวกัน วิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการมีความคาดหวังกับการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน โดยมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะเฉพาะมากขึ้น อาทิ ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการทำงานที่หลากหลาย (Multitasking skill) รวมถึงความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ตรงกับข้อมูลจากรายงานของบริษัท PWC บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก โดยสำรวจคนทำงานกว่า 19,500 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2566 ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นเป็นทักษะที่จำเป็นที่สุด และเชื่อว่านายจ้างจะสนับสนุนการยกระดับทักษะด้านดิจิทัล โดยเห็นว่าการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการทำงานนับเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ประกอบกับเกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ภายใน 5 ปี ข้างหน้าทักษะที่จำเป็นสำหรับงานของตนจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากความต้องการที่เปลี่ยนไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566