ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนตุลาคม 2565

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนตุลาคม 2565

avatar

Administrator


134


<p><strong>ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนตุลาคม 2565</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (801,273 ล้านบาท)&nbsp;</strong><strong>หดตัวร้อยละ 4.4 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.8&nbsp;</strong>อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค ภาคการผลิตของโลกชะลอลงต่อเนื่องสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลกที่ต่ำกว่าระดับ 50 โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่ขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง และตลาดจีนที่ยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าในหลายหมวดชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีการส่งออกยังมีปัจจัยบวกจากภาวะเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล ทั้งนี้&nbsp;<strong>การส่งออกไทย 10 เดือนแรก ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 9.1 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 7.4</strong></p>

<p><strong>มูลค่าการค้ารวม</strong></p>

<ul>
	<li><strong>มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ&nbsp;</strong>เดือนตุลาคม 2565<br />
	<strong>การส่งออก&nbsp;</strong>มีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
	<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 22,368.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.1<br />
	<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;596.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

	<p>ขณะที่<strong>ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี&nbsp;</strong><strong>2565</strong>&nbsp;<strong>(มกราคม - ตุลาคม)<br />
	<strong>การส่งออก</strong>&nbsp;มีมูลค่า 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.1<br />
	<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.3<br />
	<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;15,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐ</strong></p>
	</li>
</ul>

<ul>
	<li><strong>มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท&nbsp;</strong>เดือนตุลาคม 2565<br />
	<strong>การส่งออก&nbsp;</strong>มีมูลค่า 801,273 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน<br />
	<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 832,875 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1<br />
	<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;31,602 ล้านบาท

	<p>ขณะที่<strong>ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี&nbsp;</strong><strong>2565</strong>&nbsp;<strong>(มกราคม - ตุลาคม)</strong><br />
	<strong>การส่งออก&nbsp;</strong>มีมูลค่า 8,325,091 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.7<br />
	<strong>การนำเข้า&nbsp;</strong>มีมูลค่า 8,981,477 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 29.8<br />
	<strong>ดุลการค้า&nbsp;</strong><u>ขาดดุล</u>&nbsp;656,386 ล้านบาท</p>
	</li>
</ul>

<p><strong>การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.4 (YoY) หดในรอบ 23 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่<u>ขยายตัวดี</u>&nbsp;</strong>ได้แก่&nbsp;<strong>ข้าว&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น)&nbsp;<strong>ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 38.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย)&nbsp;<strong>ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 26.3 (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย)&nbsp;<strong>อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย และเกาหลีใต้)&nbsp;<strong>อาหารสัตว์เลี้ยง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 4.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 38 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเยอรมนี)&nbsp;<strong>เครื่องดื่ม</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 20.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย)&nbsp;<strong>ทุเรียนแช่แข็ง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 23.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน)&nbsp;<strong>ไอศกรีม</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 13.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 29 เดือน (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์)&nbsp;<strong>กล้วยไม้</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 10.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้) ขณะที่<strong>สินค้าสำคัญที่<u>หดตัว</u>&nbsp;</strong>ได้แก่&nbsp;<strong>ยางพารา</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 28.5 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี โรมาเนีย และโปแลนด์)&nbsp;<strong>ผลไม้สดและผลไม้แห้ง&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 34.9 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และออสเตรเลีย)&nbsp;<strong>ผลไม้กระป๋องและแปรรูป</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 11.3 หดตัวในรอบ 18 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเมียนมา) ทั้งนี้&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออก</strong><strong>สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ&nbsp;</strong><strong>12.0 (YoY)</strong></p>

<p><strong>การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.5 (YoY) หดตัวในรอบ 20 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่<u>ขยายตัวดี</u>&nbsp;</strong>อาทิ<strong>&nbsp;รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย และนิวซีแลนด์)&nbsp;<strong>อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 5.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ เบลเยียม ญี่ปุ่น)&nbsp;<strong>เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 90.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์)&nbsp;<strong>เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 8.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส)&nbsp;<strong>อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 74.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และไต้หวัน)&nbsp;<strong>รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 14.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ กัมพูชา เบลเยียม และออสเตรเลีย) ขณะที่<strong>สินค้าสำคัญที่<u>หดตัว</u>&nbsp;</strong>อาทิ<strong>&nbsp;สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 22.8 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดลาว)&nbsp;เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หดตัวร้อยละ 27.4 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ&nbsp;ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ไอร์แลนด์ อินเดีย และออสเตรเลีย)&nbsp;<strong>เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 13.1 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย แคนาดา ลาว และกัมพูชา) ทั้งนี้&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี&nbsp;</strong><strong>2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.8 (YoY)</strong></p>

<p><strong>ตลาดส่งออกสำคัญ</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่หดตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก&nbsp;</strong>ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้&nbsp;<strong>(1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.5&nbsp;</strong>โดยหดตัวในตลาด<u>สหรัฐฯ</u>&nbsp;ร้อยละ 0.9&nbsp;<u>จีน</u>ร้อยละ 8.5&nbsp;<u>ญี่ปุ่น</u>&nbsp;ร้อยละ 3.1&nbsp;<u>อาเซียน (5)</u>&nbsp;ร้อยละ 13.1&nbsp;<u>สหภาพยุโรป (27)</u>&nbsp;ร้อยละ 9.8 ขณะที่&nbsp;<u>CLMV</u>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 10.6&nbsp;<strong>(2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 5.7&nbsp;</strong>โดยหดตัวในตลาด<u>เอเชียใต้</u>&nbsp;ร้อยละ 21.8&nbsp;<u>ทวีปแอฟริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 22.5&nbsp;<u>ลาตินอเมริกา</u>&nbsp;ร้อยละ 5.0&nbsp;<u>รัสเซียและกลุ่ม&nbsp;</u><u>CIS</u>&nbsp;ร้อยละ 62.9 ขณะที่<u>ทวีปออสเตรเลีย</u>และ<u>ตะวันออกกลาง</u>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 18.8 และร้อยละ 22.4 ตามลำดับ&nbsp;<strong>(3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 51.7&nbsp;</strong>อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 103.5</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดสหรัฐฯ&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 0.9 (หดตัวในรอบ 29 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 16.8</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดจีน</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 8.5 (หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ยางพารา เม็ดพลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 6.1</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดญี่ปุ่น</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 3.1 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ไก่แปรรูป แก้วและกระจก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 0.5</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดอาเซียน (5)</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 13.1 (หดตัวในรอบ 18 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 16.5</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาด CLMV&nbsp;</strong>ขยายตัวร้อยละ 10.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรก</strong><strong>ของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 15.5</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดสหภาพยุโรป (27)</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 9.8 (หดตัวในรอบ 6 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 6.8</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดเอเชียใต้</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 21.8 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 17.2</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดทวีปออสเตรเลีย</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 18.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 4.8</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดตะวันออกกลาง</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 26.2</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดทวีปแอฟริกา&nbsp;</strong>หดตัวร้อยละ 22.5 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเม็ดพลาสติก เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย เป็นต้น ขณะที่<strong>&nbsp;10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 1.8</p>

<p>&nbsp;<strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตลาดลาตินอเมริกา</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 5.0 (หดตัวในรอบ 3 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเม็ดพลาสติก เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ขณะที่<br />
<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;ขยายตัวร้อยละ 7.6</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 62.9 (หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน)&nbsp;<u>สินค้าสำคัญที่หดตัว</u>&nbsp;ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น&nbsp;<u>สินค้าสำคัญ</u><u>ที่ขยายตัว</u>&nbsp;ได้แก่ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และข้าว เป็นต้น ขณะที่&nbsp;<strong>10 เดือนแรกของปี 2565</strong>&nbsp;หดตัวร้อยละ 36.8</p>

<p><strong>การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป</strong></p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การส่งเสริมการส่งออก</strong>&nbsp;กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ&nbsp;<strong>(1) การผลักดันไทยให้เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปข้าวเพื่อส่งออก&nbsp;</strong>ในการประชุมข้าวโลก ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และผู้ประกอบการค้าข้าวทั้งในและต่างประเทศ โดยยืนยันคุณภาพข้าวไทยและพร้อมสนับสนุนนโยบายการค้าข้าวเสรีและปราศจากการแทรกแซง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าว่าราคาข้าวของไทยเป็นไปตามกลไกตลาดโลกอย่างแท้จริง&nbsp;<strong>(2) การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น</strong>&nbsp;เพื่อจับคู่เครือข่ายภาครัฐและเอกชนตามแนวคิด Co-create Vision เพื่อลงทุนซื้อขายสินค้าและบริการ การบริหารซัพพลายเชนร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ Green Economy นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์กติกาในการส่งออกสินค้าเกษตรแก่ไทยด้วย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังส่งออกสินค้าเกษตรต่ำกว่าโควตาที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้อยู่มาก&nbsp;<strong>(3) มาตรการส่งเสริมการส่งออกปาล์มน้ำมันของไทย</strong>&nbsp;เพื่อรักษาสมดุลในด้านราคา หลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย เร่งส่งออกน้ำมันปาล์มสู่ตลาดโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มเริ่มปรับลดลง โดยเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม และสนับสนุนการส่งออกกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป</strong>&nbsp;กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าการส่งออกของไทยยังสามารถบรรลุกรอบเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีปัจจัยหนุนจากต้นทุนด้านพลังงานที่เริ่มลดลง ค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่เข้าสู่สมดุล อุปทานชิปประมวลผลที่มีมากขึ้นเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีเพื่อการส่งออก การขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยที่ส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเงินบาทที่ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักของไทย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการหดตัวของอุปสงค์ในคู่ค้าสำคัญ ความไม่แน่นอนที่เกิดจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงความไม่สงบในยูเครนที่ยังคงอยู่ เป็นปัจจัยเฝ้าระวังที่กระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป</p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/1_57.jpg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/2_62.jpg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/3_59.jpg" /></p>

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนตุลาคม 2565

                       การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2565 มีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (801,273 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.4 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.8 อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค ภาคการผลิตของโลกชะลอลงต่อเนื่องสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลกที่ต่ำกว่าระดับ 50 โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรปที่ขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง และตลาดจีนที่ยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าในหลายหมวดชะลอตัวลง อย่างไรก็ดีการส่งออกยังมีปัจจัยบวกจากภาวะเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรก ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 9.1 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 7.4

มูลค่าการค้ารวม

  • มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2565
    การส่งออก มีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
    การนำเข้า มีมูลค่า 22,368.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.1
    ดุลการค้า ขาดดุล 596.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

    ขณะที่ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - ตุลาคม)
    การส่งออก มีมูลค่า 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.1
    การนำเข้า มีมูลค่า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.3
    ดุลการค้า ขาดดุล 15,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

  • มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนตุลาคม 2565
    การส่งออก มีมูลค่า 801,273 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
    การนำเข้า มีมูลค่า 832,875 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.1
    ดุลการค้า ขาดดุล 31,602 ล้านบาท

    ขณะที่ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - ตุลาคม)
    การส่งออก มีมูลค่า 8,325,091 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.7
    การนำเข้า มีมูลค่า 8,981,477 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 29.8
    ดุลการค้า ขาดดุล 656,386 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

                       มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.4 (YoY) หดในรอบ 23 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 38.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 26.3 (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 0.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 4.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 38 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเยอรมนี) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 20.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย) ทุเรียนแช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 23.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน) ไอศกรีม ขยายตัวร้อยละ 13.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 29 เดือน (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์) กล้วยไม้ ขยายตัวร้อยละ 10.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวร้อยละ 28.5 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี โรมาเนีย และโปแลนด์) ผลไม้สดและผลไม้แห้ง หดตัวร้อยละ 34.9 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และออสเตรเลีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 11.3 หดตัวในรอบ 18 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเมียนมา) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.0 (YoY)

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

                       มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 3.5 (YoY) หดตัวในรอบ 20 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย และนิวซีแลนด์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 5.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ เบลเยียม ญี่ปุ่น) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 90.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 8.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 74.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และไต้หวัน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 14.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ กัมพูชา เบลเยียม และออสเตรเลีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 22.8 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดลาว) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หดตัวร้อยละ 27.4 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ไอร์แลนด์ อินเดีย และออสเตรเลีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 13.1 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย แคนาดา ลาว และกัมพูชา) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.8 (YoY)

ตลาดส่งออกสำคัญ

                       การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่หดตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.5 โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 0.9 จีนร้อยละ 8.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 3.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.1 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 9.8 ขณะที่ CLMV ขยายตัวร้อยละ 10.6 (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 5.7 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 21.8 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 22.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 5.0 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 62.9 ขณะที่ทวีปออสเตรเลียและตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 18.8 และร้อยละ 22.4 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 51.7 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 103.5

                       ตลาดสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.9 (หดตัวในรอบ 29 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 16.8

                       ตลาดจีน หดตัวร้อยละ 8.5 (หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา เม็ดพลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 หดตัวร้อยละ 6.1

                       ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 3.1 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไก่แปรรูป แก้วและกระจก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 0.5

                       ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 13.1 (หดตัวในรอบ 18 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 16.5

                       ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 10.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 15.5

                       ตลาดสหภาพยุโรป (27) หดตัวร้อยละ 9.8 (หดตัวในรอบ 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และไก่แปรรูป เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.8

                       ตลาดเอเชียใต้ หดตัวร้อยละ 21.8 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 17.2

                       ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 18.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.8

                       ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 26.2

                       ตลาดทวีปแอฟริกา หดตัวร้อยละ 22.5 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และน้ำตาลทราย เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 หดตัวร้อยละ 1.8

                       ตลาดลาตินอเมริกา หดตัวร้อยละ 5.0 (หดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ขณะที่
10 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.6

                       ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 62.9 (หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และข้าว เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2565 หดตัวร้อยละ 36.8

การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

                       การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การผลักดันไทยให้เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปข้าวเพื่อส่งออก ในการประชุมข้าวโลก ครั้งที่ 14 ที่จัดขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และผู้ประกอบการค้าข้าวทั้งในและต่างประเทศ โดยยืนยันคุณภาพข้าวไทยและพร้อมสนับสนุนนโยบายการค้าข้าวเสรีและปราศจากการแทรกแซง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าว่าราคาข้าวของไทยเป็นไปตามกลไกตลาดโลกอย่างแท้จริง (2) การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เพื่อจับคู่เครือข่ายภาครัฐและเอกชนตามแนวคิด Co-create Vision เพื่อลงทุนซื้อขายสินค้าและบริการ การบริหารซัพพลายเชนร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ Green Economy นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทให้ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์กติกาในการส่งออกสินค้าเกษตรแก่ไทยด้วย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังส่งออกสินค้าเกษตรต่ำกว่าโควตาที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้อยู่มาก (3) มาตรการส่งเสริมการส่งออกปาล์มน้ำมันของไทย เพื่อรักษาสมดุลในด้านราคา หลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย เร่งส่งออกน้ำมันปาล์มสู่ตลาดโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มเริ่มปรับลดลง โดยเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม และสนับสนุนการส่งออกกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

                       แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าการส่งออกของไทยยังสามารถบรรลุกรอบเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีปัจจัยหนุนจากต้นทุนด้านพลังงานที่เริ่มลดลง ค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่เข้าสู่สมดุล อุปทานชิปประมวลผลที่มีมากขึ้นเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีเพื่อการส่งออก การขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยที่ส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเงินบาทที่ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักของไทย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการหดตัวของอุปสงค์ในคู่ค้าสำคัญ ความไม่แน่นอนที่เกิดจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงความไม่สงบในยูเครนที่ยังคงอยู่ เป็นปัจจัยเฝ้าระวังที่กระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565