สนค. เผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ตอบสนองนโยบายขยับตัวเลขส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก

สนค. เผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ตอบสนองนโยบายขยับตัวเลขส่งออกจากติดลบให้เป็นบวก

avatar

Administrator


443


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. เผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย.pdf" target="_blank">สนค. เผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย.pdf</a><br />
<strong>ดาวน์โหลดข้อมูลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทยฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย (Thailand Export Performance Analysis)_2.pdf" target="_blank">การศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย (Thailand Export Performance Analysis)_2.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ตามแนวนโยบายของรัฐบาลในการเร่งขยับตัวเลขส่งออก เปลี่ยนจากติดลบให้เป็นบวก ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่สินค้านวัตกรรมและเติบโตอย่างยั่งยืนตามเทรนด์ของโลกต่อไป</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สนค. ประเมินศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ด้วยดัชนีความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ(Revealed Comparative Advantage : RCA) โดยเปรียบเทียบข้อมูลการส่งออกสินค้าใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ เฉลี่ย 5 ปีล่าสุด (ปี 2561 &ndash; 2565) เทียบกับเฉลี่ย 5 ปีก่อนหน้า (ปี 2556 &ndash; 2560) พบว่า มูลค่าของสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก (RCA &gt; 1) มีสัดส่วนถึงร้อยละ 82.7 ของการส่งออกรวม เป็นสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 66.2 และสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 13.7 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนหน้า พบว่า อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกมากขึ้นถึงร้อยละ 19.1 สะท้อนว่าสินค้าส่งออกของไทยได้ปรับตัวให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สนค. ประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของการส่งออกสินค้าของไทย โดยใช้พลวัตการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้า (Dynamics Revealed Comparative Advantage : DRCA) แบ่งกลุ่มสถานการณ์ทางการตลาดที่ไทยเผชิญออกเป็น 6 กลุ่มสถานการณ์ เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนว่าสินค้าส่งออกของไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากภาวะการตลาดที่เผชิญอยู่</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 
ดาวน์โหลดข้อมูลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทยฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ตามแนวนโยบายของรัฐบาลในการเร่งขยับตัวเลขส่งออก เปลี่ยนจากติดลบให้เป็นบวก ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่สินค้านวัตกรรมและเติบโตอย่างยั่งยืนตามเทรนด์ของโลกต่อไป

          สนค. ประเมินศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย ด้วยดัชนีความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ(Revealed Comparative Advantage : RCA) โดยเปรียบเทียบข้อมูลการส่งออกสินค้าใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ เฉลี่ย 5 ปีล่าสุด (ปี 2561 – 2565) เทียบกับเฉลี่ย 5 ปีก่อนหน้า (ปี 2556 – 2560) พบว่า มูลค่าของสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก (RCA > 1) มีสัดส่วนถึงร้อยละ 82.7 ของการส่งออกรวม เป็นสินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 66.2 และสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 13.7 และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนหน้า พบว่า อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกมากขึ้นถึงร้อยละ 19.1 สะท้อนว่าสินค้าส่งออกของไทยได้ปรับตัวให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สนค. ประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของการส่งออกสินค้าของไทย โดยใช้พลวัตการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการแข่งขันของสินค้า (Dynamics Revealed Comparative Advantage : DRCA) แบ่งกลุ่มสถานการณ์ทางการตลาดที่ไทยเผชิญออกเป็น 6 กลุ่มสถานการณ์ เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนว่าสินค้าส่งออกของไทยมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากภาวะการตลาดที่เผชิญอยู่

เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566