ภูมิธรรม สั่ง สนค. ศึกษาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

ภูมิธรรม สั่ง สนค. ศึกษาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกรไทย

avatar

Administrator


328


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ภูมิธรรม สั่ง สนค. ศึกษาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกรไทย.pdf" target="_blank">ภูมิธรรม สั่ง สนค. ศึกษาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกรไทย.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาปากท้องของคนไทย โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ติดตามและศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร พบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 &ndash; 2565) รายได้ครัวเรือนเกษตรของไทยเติบโตอย่างอ่อนแรง เนื่องจากภาวะหนี้สินของเกษตรกรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาที่จะต้องเร่งเครื่องยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และพลิกวงการการเกษตรไทยในอนาคต</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวทางการยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกร มีข้อเสนอ 16 แนวทาง ประกอบด้วยแนวทาง <strong>&ldquo;7 สร้าง 3 กระตุ้น 6 พัฒนา&rdquo;</strong> ดังนี้</p>

<p><strong>&ldquo;7 สร้าง&rdquo;</strong> ได้แก่<br />
1. สร้างโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด<br />
2. สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุนการผลิต<br />
3. สร้างโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ<br />
4. สร้างปัจจัยการผลิตภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์<br />
5. สร้างความเข้มแข็งแก่สหกรณ์การเกษตร เป็นตัวแทนรวบรวมผลผลิตของสมาชิกจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ และสหกรณ์ฯ สามารถของบประมาณภาครัฐซื้อเครื่องจักร/เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อใช้ในกลุ่ม<br />
6. สร้างหลักประกันความมั่นคงทางรายได้ เช่น ส่งเสริมการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม<br />
7. สร้างการเชื่อมโยงการผลิตสินค้าเกษตรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต</p>

<p><strong>&ldquo;3 กระตุ้น</strong>&rdquo; ได้แก่<br />
1. กระตุ้นงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งด้านพันธุ์พืชและวิธีการผลิต<br />
2. กระตุ้นการลงทุนในภาคการเกษตร<br />
3. กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร</p>

<p><br />
<strong>&ldquo;6 พัฒนา&rdquo;</strong> ได้แก่<br />
1. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรและชุมชนเกษตรกร อาทิ การทำเกษตรอัจฉริยะและเกษตรคาร์บอนต่ำ<br />
2. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคการเกษตร เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร สู่การค้าออนไลน์ และกฎระเบียบทางการค้าสินค้า<br />
3. พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ อาทิ ตลาดชุมชน ตลาดออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์สินค้าเกษตร<br />
4. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและการแปรรูป&nbsp;<br />
5. พัฒนาฐานข้อมูลด้านเกษตร ที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด<br />
6. พัฒนาระบบขนส่ง โลจิสติกส์ และคลังสินค้าเกษตร</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาปากท้องของคนไทย โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร จึงมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ติดตามและศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจครัวเรือนภาคเกษตร เพื่อยกระดับและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร พบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2565) รายได้ครัวเรือนเกษตรของไทยเติบโตอย่างอ่อนแรง เนื่องจากภาวะหนี้สินของเกษตรกรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาที่จะต้องเร่งเครื่องยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และพลิกวงการการเกษตรไทยในอนาคต

          แนวทางการยกระดับและเพิ่มรายได้เกษตรกร มีข้อเสนอ 16 แนวทาง ประกอบด้วยแนวทาง “7 สร้าง 3 กระตุ้น 6 พัฒนา” ดังนี้

“7 สร้าง” ได้แก่
1. สร้างโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด
2. สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุนการผลิต
3. สร้างโครงสร้างพื้นฐานการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
4. สร้างปัจจัยการผลิตภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า เช่น ปุ๋ยอินทรีย์
5. สร้างความเข้มแข็งแก่สหกรณ์การเกษตร เป็นตัวแทนรวบรวมผลผลิตของสมาชิกจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ และสหกรณ์ฯ สามารถของบประมาณภาครัฐซื้อเครื่องจักร/เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อใช้ในกลุ่ม
6. สร้างหลักประกันความมั่นคงทางรายได้ เช่น ส่งเสริมการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม
7. สร้างการเชื่อมโยงการผลิตสินค้าเกษตรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

“3 กระตุ้น” ได้แก่
1. กระตุ้นงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร ทั้งด้านพันธุ์พืชและวิธีการผลิต
2. กระตุ้นการลงทุนในภาคการเกษตร
3. กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร


“6 พัฒนา” ได้แก่
1. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรและชุมชนเกษตรกร อาทิ การทำเกษตรอัจฉริยะและเกษตรคาร์บอนต่ำ
2. พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการภาคการเกษตร เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร สู่การค้าออนไลน์ และกฎระเบียบทางการค้าสินค้า
3. พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ อาทิ ตลาดชุมชน ตลาดออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์สินค้าเกษตร
4. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและการแปรรูป 
5. พัฒนาฐานข้อมูลด้านเกษตร ที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด
6. พัฒนาระบบขนส่ง โลจิสติกส์ และคลังสินค้าเกษตร

เผยแพร่เมื่อวันที่ 02 มกราคม 2567