66 วัน จับตาวิกฤตทะเลแดงขยายวง กระทบเศรษฐกิจการค้าไทย

66 วัน จับตาวิกฤตทะเลแดงขยายวง กระทบเศรษฐกิจการค้าไทย

avatar

Administrator


1079


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/66 วัน จับตาวิกฤตทะเลแดงขยายวง กระทบเศรษฐกิจการค้าไทย.pdf" target="_blank">66 วัน จับตาวิกฤตทะเลแดงขยายวง กระทบเศรษฐกิจการค้าไทย.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ความตึงเครียดในทะเลแดงที่เริ่มต้นจากการโจมตีเรือสินค้าโดยกลุ่มฮูตี ดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 66 วัน และยังคงยกระดับความรุนแรงต่อเนื่อง หลังมีการโจมตีตอบโต้โดยกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าพื้นที่ทะเลแดงอาจกลายเป็นสมรภูมิใหม่ของตะวันออกกลาง ควบคู่ไปกับสงครามอิสราเอล-ฮามาสในฉนวนกาซา และอาจทำให้ความขัดแย้งขยายสู่ระดับภูมิภาคกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าไทยเป็นวงกว้าง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่กลุ่มฮูตีในเยเมนโจมตีและยึดเรือสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอลซึ่งแล่นผ่านช่องแคบบับเอลมันเดบ (Bab-el-Mandeb) ในทะเลแดง เมื่อ 19 พ.ย. 66 เพื่อแสดงการต่อต้านอิสราเอลที่ทำสงครามในฉนวนกาซา จนทำให้สหรัฐฯ และพันธมิตร ประกาศจัดตั้งกองกำลัง Operation Prosperity Guardian เพื่อปกป้องการเดินเรือบริเวณทะเลแดง แต่กลุ่มฮูตีก็ยังคงยืนกรานว่าจะโจมตีเป้าหมายต่อไปจนกว่าสงครามของอิสราเอลในฉนวนกาซาจะยุติลง ซึ่งเหตุการณ์ตึงเครียดที่เกิดขึ้นบริเวณทะเลแดงซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือขนส่ง และหากเหตุการณ์ยังคงยืดเยื้อ ก็อาจกระทบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันดิบทั่วโลก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ทะเลแดงซึ่งเชื่อมต่อกับคลองสุเอซเป็นเส้นทางการค้าหลักระหว่างเอเชียกับยุโรป และยังครอบคลุมเส้นทางการค้าทางทะเลประมาณ 12% ของโลก โดยหลังเกิดเหตุโจมตีเรือขนส่งสินค้าทำให้บริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกระงับการเดินเรือในเส้นทางทะเลแดง และเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่นที่ใช้ระยะเวลาขนส่งยาวนานขึ้น ผลักดันให้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นในหลายเส้นทาง ไม่เพียงแต่เฉพาะค่าระวางเรือที่ผ่านทะเลแดงและคลองสุเอซเท่านั้น ซึ่งผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้นทำให้สินค้าจากไทยที่จะไปยังตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกาเหนือ รวมถึงสหรัฐฯ ฝั่งตะวันออกบางส่วน ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยข้อมูลอัตราค่าระวางเรือ ณ สัปดาห์ที่ 2 ของปี 2567 จากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พบว่า ค่าระวางเรือในเดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 66 ทั้งในเส้นทางไทย-Jebel Ali (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เส้นทางไทย-ยุโรป (Main Port) เส้นทางไทย-สหรัฐฯ ฝั่งตะวันตก และเส้นทางไทย-สหรัฐฯ ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะเส้นทางไทย-ยุโรป ที่ค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นถึง 252% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต และ 196% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต มาอยู่ที่ 3,200 &ndash; 4,500 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้ส่งออกสินค้ายังเผชิญกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มอื่น ๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมการหยุดชะงักของระบบขนส่ง ค่าบริการเพิ่มเติมในช่วงหนาแน่น และค่าธรรมเนียมฉุกเฉิน เป็นต้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          ความตึงเครียดในทะเลแดงที่เริ่มต้นจากการโจมตีเรือสินค้าโดยกลุ่มฮูตี ดำเนินมาเป็นระยะเวลากว่า 66 วัน และยังคงยกระดับความรุนแรงต่อเนื่อง หลังมีการโจมตีตอบโต้โดยกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าพื้นที่ทะเลแดงอาจกลายเป็นสมรภูมิใหม่ของตะวันออกกลาง ควบคู่ไปกับสงครามอิสราเอล-ฮามาสในฉนวนกาซา และอาจทำให้ความขัดแย้งขยายสู่ระดับภูมิภาคกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าไทยเป็นวงกว้าง

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่กลุ่มฮูตีในเยเมนโจมตีและยึดเรือสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับอิสราเอลซึ่งแล่นผ่านช่องแคบบับเอลมันเดบ (Bab-el-Mandeb) ในทะเลแดง เมื่อ 19 พ.ย. 66 เพื่อแสดงการต่อต้านอิสราเอลที่ทำสงครามในฉนวนกาซา จนทำให้สหรัฐฯ และพันธมิตร ประกาศจัดตั้งกองกำลัง Operation Prosperity Guardian เพื่อปกป้องการเดินเรือบริเวณทะเลแดง แต่กลุ่มฮูตีก็ยังคงยืนกรานว่าจะโจมตีเป้าหมายต่อไปจนกว่าสงครามของอิสราเอลในฉนวนกาซาจะยุติลง ซึ่งเหตุการณ์ตึงเครียดที่เกิดขึ้นบริเวณทะเลแดงซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญของโลก ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือขนส่ง และหากเหตุการณ์ยังคงยืดเยื้อ ก็อาจกระทบกับห่วงโซ่อุปทานสินค้าต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันดิบทั่วโลก

          ทะเลแดงซึ่งเชื่อมต่อกับคลองสุเอซเป็นเส้นทางการค้าหลักระหว่างเอเชียกับยุโรป และยังครอบคลุมเส้นทางการค้าทางทะเลประมาณ 12% ของโลก โดยหลังเกิดเหตุโจมตีเรือขนส่งสินค้าทำให้บริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกระงับการเดินเรือในเส้นทางทะเลแดง และเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่นที่ใช้ระยะเวลาขนส่งยาวนานขึ้น ผลักดันให้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นในหลายเส้นทาง ไม่เพียงแต่เฉพาะค่าระวางเรือที่ผ่านทะเลแดงและคลองสุเอซเท่านั้น ซึ่งผลกระทบจากสถานการณ์ข้างต้นทำให้สินค้าจากไทยที่จะไปยังตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกาเหนือ รวมถึงสหรัฐฯ ฝั่งตะวันออกบางส่วน ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยข้อมูลอัตราค่าระวางเรือ ณ สัปดาห์ที่ 2 ของปี 2567 จากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พบว่า ค่าระวางเรือในเดือน ม.ค. 67 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 66 ทั้งในเส้นทางไทย-Jebel Ali (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เส้นทางไทย-ยุโรป (Main Port) เส้นทางไทย-สหรัฐฯ ฝั่งตะวันตก และเส้นทางไทย-สหรัฐฯ ฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะเส้นทางไทย-ยุโรป ที่ค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นถึง 252% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต และ 196% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 40 ฟุต มาอยู่ที่ 3,200 – 4,500 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้ส่งออกสินค้ายังเผชิญกับค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มอื่น ๆ อาทิ ค่าธรรมเนียมการหยุดชะงักของระบบขนส่ง ค่าบริการเพิ่มเติมในช่วงหนาแน่น และค่าธรรมเนียมฉุกเฉิน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567