พาณิชย์เผย “ภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าปี 2566 ดัชนีราคาส่วนใหญ่ขยายตัวไม่มากนัก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น”

พาณิชย์เผย “ภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าปี 2566 ดัชนีราคาส่วนใหญ่ขยายตัวไม่มากนัก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น”

avatar

Administrator


380


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เผยภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าปี 2566 .pdf" target="_blank">พาณิชย์เผยภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าปี 2566 .pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเฉลี่ยปี 2566 โดย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ขยายตัวไม่มากนักและชะลอตัวจากปี 2565 อย่างชัดเจน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคานำเข้าลดลงจากปี 2565 การชะลอตัวและลดลงของดัชนีราคาในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของราคาพลังงานตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับที่มีความเชื่อมั่นตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ในปี 2567 คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างจะชะลอตัวลงจากปี 2566 ส่วนดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนในไตรมาสแรกของปี 2567 คาดว่าจะลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 จากมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานของภาครัฐที่มีต่อเนื่องจากปี 2566 ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นและอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ ดัชนีเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ในปี 2567 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่ยังคงมีปัจจัยที่อาจทำให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยธรรมชาติ และมาตรการภาครัฐ ซึ่ง สนค. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีความถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี 2566 และจะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2567 คือ การร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างเข้มข้นในการกำกับดูแลราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมมีปริมาณเพียงพอ ดำเนินมาตรการลดราคาสินค้าอุปโภค &ndash; บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ ผลักดันภาคการส่งออก เร่งเจรจาการค้า รวมถึงเร่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ตามนโยบาย &ldquo;ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส&rdquo; เพื่อให้เศรษฐกิจการค้าของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเฉลี่ยปี 2566 โดย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ขยายตัวไม่มากนักและชะลอตัวจากปี 2565 อย่างชัดเจน ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคานำเข้าลดลงจากปี 2565 การชะลอตัวและลดลงของดัชนีราคาในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของราคาพลังงานตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับที่มีความเชื่อมั่นตลอดทั้งปี ทั้งนี้ ในปี 2567 คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างจะชะลอตัวลงจากปี 2566 ส่วนดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนในไตรมาสแรกของปี 2567 คาดว่าจะลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 จากมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานของภาครัฐที่มีต่อเนื่องจากปี 2566 ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้า คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นและอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

          ทั้งนี้ ดัชนีเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ในปี 2567 จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่สูงมากนัก แต่ยังคงมีปัจจัยที่อาจทำให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยธรรมชาติ และมาตรการภาครัฐ ซึ่ง สนค. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีความถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี 2566 และจะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2567 คือ การร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างเข้มข้นในการกำกับดูแลราคาสินค้าให้มีความเหมาะสมมีปริมาณเพียงพอ ดำเนินมาตรการลดราคาสินค้าอุปโภค – บริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ ผลักดันภาคการส่งออก เร่งเจรจาการค้า รวมถึงเร่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ตามนโยบาย “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส” เพื่อให้เศรษฐกิจการค้าของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีความเข้มแข็ง สามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 กุมภาพันธ์ 2567