อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 2567 ปรับลดลงต่อเนื่องตามคาด

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 2567 ปรับลดลงต่อเนื่องตามคาด

avatar

Administrator


10712


<p style="text-align:center"><strong>อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 2567 ปรับลดลงต่อเนื่องตามคาด</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า <strong>ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 106.98</strong> เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.18 <strong>ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 1.11 (YoY) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน</strong> ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน จากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาเดือนมกราคม 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ &nbsp; &nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ</strong> ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 0.83 ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 3 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 พบว่า ประเทศไทยสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.23 อยู่ระดับต่ำอันดับที่ 9 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของหลายประเทศที่มีทิศทางชะลอตัวจากปี 2565 ค่อนข้างชัดเจน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงร้อยละ 1.11 (YoY) ในเดือนนี้</strong> มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.13</strong> ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 E20 E85 และค่ากระแสไฟฟ้า เสื้อผ้าบุรุษและสตรี สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน) นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามการจัดโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น รวมถึง สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และแชมพูสระผม ราคาปรับลดลงเช่นกัน สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมสตรี เครื่องถวายพระ ค่าทัศนาจรต่างประเทศ บุหรี่ สุรา และไวน์ ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน &nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 1.06</strong> ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู กุ้งขาว ปลากะพง) ผักสด (มะเขือ มะนาว แตงกวา) และผลไม้ (ส้มเขียวหวาน ลองกอง มะม่วง) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ขนมอบ นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยว กะทิสำเร็จรูป น้ำพริกแกง กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) &nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2567</strong> เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 <strong>สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.28</strong> โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 4 เดือน ซึ่งปรับสูงขึ้นทั้งกลุ่มน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ นอกจากนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (โฟมล้างหน้า น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ราคาปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ราคาปรับลดลง อาทิ เสื้อและกางเกงสตรี อาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ <strong>ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.31</strong> ตามการลดลงของ ข้าวสารเหนียว ขนมปังปอนด์ ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ผักสดและผลไม้ (มะเขือเทศ ผักคะน้า พริกสด ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า) สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ปลานิล กะทิสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำหวาน กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง</strong> โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ได้แก่ การตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประชาชนได้รับประโยชน์ 17.77 ล้านราย และมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 และ (2) ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญลดลง และบางพื้นที่มีอุณหภูมิลดลง ทำให้ปริมาณผักสดเข้าสู่ตลาดมากกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ค่าระวางเรือและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญปรับตัวสูงขึ้น (2) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น (3) ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการเพิ่มขึ้น และการปรับราคาเพื่อให้มีความสมดุลและเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และ (4) การขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว หลังจากภาครัฐมีนโยบายอำนวยความสะดวกในการเดินทางมาประเทศไทย ของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ (-0.3) &ndash; 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 0.7)</strong> ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมกราคม 2567 ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น โดยปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.5</strong> จากระดับ 54.8 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีฯ ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น (ดัชนีฯ มีค่าตั้งแต่ระดับ 50 ขึ้นไป) คาดว่ามาจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน และยางพารา ประกอบกับภาครัฐดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับลดค่าไฟฟ้าและการตรึงราคาน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ส่วนปัจจัยกดดันที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลงเล็กน้อย อาทิปัญหาหนี้สินในครัวเรือน และรายได้ที่ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพเท่าที่ควร</p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125147-1.png" /></p>

<p>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า&nbsp;</p>

<p>กระทรวงพาณิชย์</p>

<p>5 กุมภาพันธ์ 2567</p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125253-2.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125305-3.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125323-4.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125331-5.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240205125343-6.jpeg" /></p>

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนแรกของปี 2567 ปรับลดลงต่อเนื่องตามคาด

                     นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมกราคม 2567 เท่ากับ 106.98 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 108.18 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ 1.11 (YoY) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 35 เดือน ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน จากมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผักสดและเนื้อสัตว์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งฐานราคาเดือนมกราคม 2566 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ    

                     อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2566 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยลดลงร้อยละ 0.83 ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 3 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และยังคงต่ำที่สุดในอาเซียนจาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2566 พบว่า ประเทศไทยสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.23 อยู่ระดับต่ำอันดับที่ 9 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของหลายประเทศที่มีทิศทางชะลอตัวจากปี 2565 ค่อนข้างชัดเจน

                     อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ลดลงร้อยละ 1.11 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

                     หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.13 ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ 91 E20 E85 และค่ากระแสไฟฟ้า เสื้อผ้าบุรุษและสตรี สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน) นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าราคายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามการจัดโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย ทั้งเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และตู้เย็น รวมถึง สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และแชมพูสระผม ราคาปรับลดลงเช่นกัน สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ค่าแต่งผมสตรี เครื่องถวายพระ ค่าทัศนาจรต่างประเทศ บุหรี่ สุรา และไวน์ ราคาเปลี่ยนแปลงตามการจัดโปรโมชัน  

                     หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 1.06 ตามการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ (เนื้อสุกร ไก่สด ปลาทู กุ้งขาว ปลากะพง) ผักสด (มะเขือ มะนาว แตงกวา) และผลไม้ (ส้มเขียวหวาน ลองกอง มะม่วง) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ขนมอบ นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยว กะทิสำเร็จรูป น้ำพริกแกง กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)  

                     ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.02 (MoM) ตามการสูงขึ้นของหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.28 โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงติดต่อกัน 4 เดือน ซึ่งปรับสูงขึ้นทั้งกลุ่มน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ นอกจากนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (โฟมล้างหน้า น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ราคาปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ราคาปรับลดลง อาทิ เสื้อและกางเกงสตรี อาหารสัตว์เลี้ยง และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.31 ตามการลดลงของ ข้าวสารเหนียว ขนมปังปอนด์ ไข่ไก่ นมเปรี้ยว ผักสดและผลไม้ (มะเขือเทศ ผักคะน้า พริกสด ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า) สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ปลานิล กะทิสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำหวาน กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว และอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง)

                     แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) มาตรการลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ได้แก่ การตรึงราคาค่ากระแสไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ซึ่งมีประชาชนได้รับประโยชน์ 17.77 ล้านราย และมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 และ (2) ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญลดลง และบางพื้นที่มีอุณหภูมิลดลง ทำให้ปริมาณผักสดเข้าสู่ตลาดมากกว่าปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ (1) สถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ค่าระวางเรือและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญปรับตัวสูงขึ้น (2) เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น (3) ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการเพิ่มขึ้น และการปรับราคาเพื่อให้มีความสมดุลและเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน และ (4) การขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว หลังจากภาครัฐมีนโยบายอำนวยความสะดวกในการเดินทางมาประเทศไทย ของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้อุปสงค์และราคาสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวปรับตัวสูงขึ้น 

                     ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ (-0.3) – 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 0.7) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

                     ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมกราคม 2567 ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น โดยปรับลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 54.5 จากระดับ 54.8 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ดัชนีฯ ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่น (ดัชนีฯ มีค่าตั้งแต่ระดับ 50 ขึ้นไป) คาดว่ามาจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน และยางพารา ประกอบกับภาครัฐดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับลดค่าไฟฟ้าและการตรึงราคาน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ส่วนปัจจัยกดดันที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับลดลงเล็กน้อย อาทิปัญหาหนี้สินในครัวเรือน และรายได้ที่ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพเท่าที่ควร

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 

กระทรวงพาณิชย์

5 กุมภาพันธ์ 2567

เผยแพร่เมื่อวันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2567