พลังงานสะอาด - ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

พลังงานสะอาด - ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

avatar

Administrator


379


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พลังงานสะอาด - ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ.pdf" target="_blank">พลังงานสะอาด - ปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งการเผาไหม้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<sub>2</sub>) จำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย International Energy Agency ระบุว่า ในปี 2564 การเผาไหม้พลังงานปล่อย CO<sub>2</sub> เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 หรือ 423 ล้านตัน ทุกภาคส่วนทั่วโลกจึงร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) นอกจากนี้ ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่สำคัญเริ่มบังคับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ สหภาพยุโรปออกมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Cross Border Adjustment Mechanism: CBAM) ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับสินค้านำเข้าบางประเภท ในขณะที่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กาตาร์ จีน และญี่ปุ่น มีกลไกตลาดคาร์บอน ที่เป็นตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ระหว่างผู้ที่ปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นเครื่องมือจูงใจให้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ไปสู่การดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ในอนาคต หลายประเทศมีแนวโน้มที่จะออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบมีต้นทุนการบริหารจัดการและการค้าเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุน ดังนั้น ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเตรียมการรองรับมาตรการทางการค้าแนวใหม่ โดยแนวทางหนึ่งคือการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) เพิ่มขึ้น เนื่องจากพลังงานสะอาด คือ พลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การแปรรูป การใช้พลังงาน และการจัดการของเสียจากการผลิตหรือการใช้พลังงาน ตัวอย่างพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อน</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งการเผาไหม้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดย International Energy Agency ระบุว่า ในปี 2564 การเผาไหม้พลังงานปล่อย CO2 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.3 หรือ 423 ล้านตัน ทุกภาคส่วนทั่วโลกจึงร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) นอกจากนี้ ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่สำคัญเริ่มบังคับใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาทิ สหภาพยุโรปออกมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Cross Border Adjustment Mechanism: CBAM) ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับสินค้านำเข้าบางประเภท ในขณะที่หลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กาตาร์ จีน และญี่ปุ่น มีกลไกตลาดคาร์บอน ที่เป็นตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ระหว่างผู้ที่ปล่อยคาร์บอนและผู้ที่ดูดซับคาร์บอน ซึ่งเป็นเครื่องมือจูงใจให้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ไปสู่การดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ

          นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ในอนาคต หลายประเทศมีแนวโน้มที่จะออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบมีต้นทุนการบริหารจัดการและการค้าเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เศรษฐกิจ รวมถึงการลงทุน ดังนั้น ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเตรียมการรองรับมาตรการทางการค้าแนวใหม่ โดยแนวทางหนึ่งคือการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) เพิ่มขึ้น เนื่องจากพลังงานสะอาด คือ พลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การแปรรูป การใช้พลังงาน และการจัดการของเสียจากการผลิตหรือการใช้พลังงาน ตัวอย่างพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อน

เผยแพร่เมื่อวันที่ 09 กุมภาพันธ์ 2567