แนวโน้มธุรกิจบริการกับผู้บริโภคยุคใหม่

แนวโน้มธุรกิจบริการกับผู้บริโภคยุคใหม่

avatar

Administrator


1117


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ข่าว - แนวโน้มธุรกิจบริการกับผู้บริโภคยุคใหม่.pdf" target="_blank">ข่าว - แนวโน้มธุรกิจบริการกับผู้บริโภคยุคใหม่.pdf</a><br />
<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ผ่านการลดภาระและลดต้นทุน อำนวยความสะดวก และสร้างโอกาส เพื่อสร้างพลังของผู้ประกอบการรายย่อยให้แข็งแรง สนค. จึงเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจบริการให้สามารถปรับตัวให้เท่าทันแนวโน้มของผู้บริโภคยุคใหม่ เนื่องจากปัจจุบันภาคบริการมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของโลกมากกว่าภาคเกษตรและอุตสาหกรรมรวมกัน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 ในปี 2513 เป็นร้อยละ 67 ในปี 2564 และสร้างการจ้างงานร้อยละ 50 ของการจ้างงานทั่วโลก ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าในห่วงโซ่อุปทานของโลกให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเป็นตัวกลางในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ และสร้างมูลค่าประมาณ 3.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าสองเท่าของการส่งออกบริการในฐานะสินค้าขั้นสุดท้าย ภาคบริการจึงเป็นภาคส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยุคใหม่</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ผอ. สนค. ให้ข้อเสนอแนะว่า แนวโน้มของธุรกิจบริการในปัจจุบัน ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ (1) ติดตามแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงของโลก และแสวงหาความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ (2) สร้างความร่วมมือกับคู่ค้าที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถร่วมพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกันได้ (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจบริการและสร้างนวัตกรรมที่หลากหลาย ตอบสนองแนวโน้มใหม่ ๆ พัฒนารูปแบบหรือช่องทางการให้บริการผ่านทางดิจิทัล และปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และ (4) ให้ความสำคัญกับคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการทำธุรกิจบริการตอบสนองต่อแนวโน้มใหม่ของโลกที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตามแนวทางให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแนวทางส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตามแนวโน้มธุรกิจบริการให้สามารถรองรับกับผู้บริโภคยุคใหม่ ทั้งเด็ก Gen ใหม่ และ Gen ผู้ใหญ่ทันสมัย โดยมีสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ที่ช่วยพัฒนาผู้ประกอบการให้ทันต่อแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจ รวมทั้งมีการอบรมออนไลน์ทางเว็บไซต์ DBD Academy เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ในการแสวงหาข้อมูล ความรู้ และนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจต่อไปได้</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

           นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ผ่านการลดภาระและลดต้นทุน อำนวยความสะดวก และสร้างโอกาส เพื่อสร้างพลังของผู้ประกอบการรายย่อยให้แข็งแรง สนค. จึงเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจบริการให้สามารถปรับตัวให้เท่าทันแนวโน้มของผู้บริโภคยุคใหม่ เนื่องจากปัจจุบันภาคบริการมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก โดยมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของโลกมากกว่าภาคเกษตรและอุตสาหกรรมรวมกัน โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 ในปี 2513 เป็นร้อยละ 67 ในปี 2564 และสร้างการจ้างงานร้อยละ 50 ของการจ้างงานทั่วโลก ตลอดจนมีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าในห่วงโซ่อุปทานของโลกให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเป็นตัวกลางในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ และสร้างมูลค่าประมาณ 3.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าสองเท่าของการส่งออกบริการในฐานะสินค้าขั้นสุดท้าย ภาคบริการจึงเป็นภาคส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการยุคใหม่

          ผอ. สนค. ให้ข้อเสนอแนะว่า แนวโน้มของธุรกิจบริการในปัจจุบัน ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ (1) ติดตามแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงของโลก และแสวงหาความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ (2) สร้างความร่วมมือกับคู่ค้าที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถร่วมพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจซึ่งกันและกันได้ (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจบริการและสร้างนวัตกรรมที่หลากหลาย ตอบสนองแนวโน้มใหม่ ๆ พัฒนารูปแบบหรือช่องทางการให้บริการผ่านทางดิจิทัล และปรับตัวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และ (4) ให้ความสำคัญกับคุณค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการทำธุรกิจบริการตอบสนองต่อแนวโน้มใหม่ของโลกที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมผู้สูงอายุ สุขภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตามแนวทางให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก

          ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มีแนวทางส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตามแนวโน้มธุรกิจบริการให้สามารถรองรับกับผู้บริโภคยุคใหม่ ทั้งเด็ก Gen ใหม่ และ Gen ผู้ใหญ่ทันสมัย โดยมีสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ที่ช่วยพัฒนาผู้ประกอบการให้ทันต่อแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจ รวมทั้งมีการอบรมออนไลน์ทางเว็บไซต์ DBD Academy เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ในการแสวงหาข้อมูล ความรู้ และนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจต่อไปได้

เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567