ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ

avatar

Administrator


75


หมวดหมู่:

<p style="text-align:center"><strong>ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ</strong></p>

<p><strong>ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ.pdf" target="_blank">แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ภาคบริการเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย มูลค่าและอัตราการเติบโตของภาคบริการในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สูงกว่าภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2565 GDP ภาคบริการมีมูลค่า 10.20 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.71 ของ GDP ทั้งหมดของประเทศ และขยายตัวร้อยละ 4.3 จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) มากที่สุด โดยในปี 2565 ผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคบริการมีจำนวนทั้งสิ้น 2.61 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 82.03 ของจำนวนผู้ประกอบการ MSMEs ทั้งหมดของไทย และขยายตัวร้อยละ 1.46 จากปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 1.69 และ 16.28 ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคบริการส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 85) เป็นผู้ประกอบการรายย่อย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จึงได้ศึกษาและประมวลผลข้อมูลเพื่อระบุสาขาบริการที่มีความสำคัญ โดยพิจารณาจากจำนวนและสัดส่วนผู้ประกอบการ มูลค่าและสัดส่วนต่อ GDP ของ ภาค MSMEs จำนวนและสัดส่วนแรงงาน รวมถึงบทบาทความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ๆ&nbsp;รวมถึงถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาประเทศต้นแบบมาจัดทำ <strong>ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย</strong> เพื่อการขับเคลื่อน MSMEs ในภาคบริการ ด้วยแนวทางกลยุทธ์ <strong>&ldquo;8 เปลี่ยน&rdquo; </strong>ได้แก่ (1) เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ให้เทคโนโลยีและและนวัตกรรมช่วยในการทำงานทั้งระบบ (2) เปลี่ยนสนามแข่งขัน เป็นสนามความร่วมมือ เปิดเสรีการค้าบริการ และส่งเสริม การเชื่อมโยงระหว่างรายใหญ่-รายย่อย ท้องถิ่น-ในประเทศ-ต่างประเทศ &ldquo;เชื่อมไทย เชื่อมโลก&rdquo;&nbsp; (3)&nbsp;ปลี่ยนคนไทยให้เป็นผู้ประกอบการและแรงงานคุณภาพสูงที่ตลาดต้องการ (4)&nbsp;เปลี่ยนจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ สู่การอำนวย ความสะดวก (5)&nbsp;เปลี่ยนประเทศไทย ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อธุรกิจยิ่งขึ้น (6)&nbsp;เปลี่ยนโลกการเงินไทย ให้เป็นมิตรกับ MSMEs (7)&nbsp;เปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจบริการไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ (8)&nbsp;เปลี่ยนใจผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เลือกใช้บริการ MSMEs ไทย</p>

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อน MSMEs ด้วยการค้าบริการ

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม: 

          ภาคบริการเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย มูลค่าและอัตราการเติบโตของภาคบริการในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สูงกว่าภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2565 GDP ภาคบริการมีมูลค่า 10.20 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.71 ของ GDP ทั้งหมดของประเทศ และขยายตัวร้อยละ 4.3 จากปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) มากที่สุด โดยในปี 2565 ผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคบริการมีจำนวนทั้งสิ้น 2.61 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 82.03 ของจำนวนผู้ประกอบการ MSMEs ทั้งหมดของไทย และขยายตัวร้อยละ 1.46 จากปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 1.69 และ 16.28 ตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ MSMEs ในภาคบริการส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 85) เป็นผู้ประกอบการรายย่อย

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จึงได้ศึกษาและประมวลผลข้อมูลเพื่อระบุสาขาบริการที่มีความสำคัญ โดยพิจารณาจากจำนวนและสัดส่วนผู้ประกอบการ มูลค่าและสัดส่วนต่อ GDP ของ ภาค MSMEs จำนวนและสัดส่วนแรงงาน รวมถึงบทบาทความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาประเทศต้นแบบมาจัดทำ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อการขับเคลื่อน MSMEs ในภาคบริการ ด้วยแนวทางกลยุทธ์ “8 เปลี่ยน” ได้แก่ (1) เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ให้เทคโนโลยีและและนวัตกรรมช่วยในการทำงานทั้งระบบ (2) เปลี่ยนสนามแข่งขัน เป็นสนามความร่วมมือ เปิดเสรีการค้าบริการ และส่งเสริม การเชื่อมโยงระหว่างรายใหญ่-รายย่อย ท้องถิ่น-ในประเทศ-ต่างประเทศ “เชื่อมไทย เชื่อมโลก”  (3) ปลี่ยนคนไทยให้เป็นผู้ประกอบการและแรงงานคุณภาพสูงที่ตลาดต้องการ (4) เปลี่ยนจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ สู่การอำนวย ความสะดวก (5) เปลี่ยนประเทศไทย ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อธุรกิจยิ่งขึ้น (6) เปลี่ยนโลกการเงินไทย ให้เป็นมิตรกับ MSMEs (7) เปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจบริการไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ (8) เปลี่ยนใจผู้บริโภคชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้เลือกใช้บริการ MSMEs ไทย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 01 เมษายน 2567