สนค. แนะภาคธุรกิจเจาะตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากตลาดเดิม

สนค. แนะภาคธุรกิจเจาะตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากตลาดเดิม

avatar

Administrator


87


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ข่าวสนค. แนะภาคธุรกิจเจาะตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากตลาดเดิม.pdf" target="_blank">ข่าวสนค. แนะภาคธุรกิจเจาะตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากตลาดเดิม.pdf</a></p>

<p><strong>&nbsp;&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</strong>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้วิเคราะห์ตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจได้สร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก เนื่องจากตลาดส่งออกของไทยในปัจจุบันค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ไม่กี่ประเทศ จากข้อมูลการส่งออกในปี 2566 พบว่า ร้อยละ 70 ของการส่งออกรวม เป็นการส่งออกไปยังอาเซียน (9) (สัดส่วน 23.5%) สหรัฐฯ (สัดส่วน 17.2%) จีน (สัดส่วน 12.0%) ญี่ปุ่น (สัดส่วน 8.7%) และสหภาพยุโรป (สัดส่วน 7.7%) ทำให้การส่งออกไทยอ่อนไหวหากประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าหรือลดการนำเข้าจากไทยลง ประกอบกับทิศทางการค้าโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจากการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่กระทบต่อการส่งออกของไทย</p>

<p><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; </strong>เพื่อส่งเสริมให้ภาคการค้าระหว่างประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน สนค. จึงได้เสนอแนวทางการขยายตลาดส่งออกเชิงรุกใหม่ ๆ โดยพิจารณาจากความสามารถในการนำเข้าของประเทศคู่ค้าที่อยู่ในระดับสูง-ปานกลาง แต่ไทยยังมีความสัมพันธ์ทางการค้าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพการนำเข้าของประเทศคู่ค้า โดยวิเคราะห์จากดัชนีชี้วัดศักยภาพการนำเข้า (Import Potential Index: IPI) ที่วัดจากตัวแปรทางเศรษฐกิจและการค้า 34 ตัวชี้วัด ใน 6 มิติ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจมหภาค 2) การค้ากับต่างประเทศ 3) ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศ 4) โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า 5) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ 6) แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ร่วมกับดัชนีชี้วัดความสอดคล้องทางด้านการค้ากับไทย ประกอบด้วย ดัชนีความสอดคล้องทางการค้า (Trade Complementarity Index: TCI) และดัชนีความสัมพันธ์ทางการค้า (Trade Combination Degree: TCD) เพื่อคัดกรองประเทศศักยภาพใหม่ ๆ และวางกลยุทธ์ขยายตลาดส่งออกตามระดับศักยภาพการนำเข้าและความสอดคล้องของสินค้าระหว่างไทยกับคู่ค้า</p>

<p>&nbsp;</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้วิเคราะห์ตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจได้สร้างโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการส่งออก เนื่องจากตลาดส่งออกของไทยในปัจจุบันค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ไม่กี่ประเทศ จากข้อมูลการส่งออกในปี 2566 พบว่า ร้อยละ 70 ของการส่งออกรวม เป็นการส่งออกไปยังอาเซียน (9) (สัดส่วน 23.5%) สหรัฐฯ (สัดส่วน 17.2%) จีน (สัดส่วน 12.0%) ญี่ปุ่น (สัดส่วน 8.7%) และสหภาพยุโรป (สัดส่วน 7.7%) ทำให้การส่งออกไทยอ่อนไหวหากประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าหรือลดการนำเข้าจากไทยลง ประกอบกับทิศทางการค้าโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจากการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่กระทบต่อการส่งออกของไทย

          เพื่อส่งเสริมให้ภาคการค้าระหว่างประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน สนค. จึงได้เสนอแนวทางการขยายตลาดส่งออกเชิงรุกใหม่ ๆ โดยพิจารณาจากความสามารถในการนำเข้าของประเทศคู่ค้าที่อยู่ในระดับสูง-ปานกลาง แต่ไทยยังมีความสัมพันธ์ทางการค้าค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับศักยภาพการนำเข้าของประเทศคู่ค้า โดยวิเคราะห์จากดัชนีชี้วัดศักยภาพการนำเข้า (Import Potential Index: IPI) ที่วัดจากตัวแปรทางเศรษฐกิจและการค้า 34 ตัวชี้วัด ใน 6 มิติ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจมหภาค 2) การค้ากับต่างประเทศ 3) ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศ 4) โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า 5) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และ 6) แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ร่วมกับดัชนีชี้วัดความสอดคล้องทางด้านการค้ากับไทย ประกอบด้วย ดัชนีความสอดคล้องทางการค้า (Trade Complementarity Index: TCI) และดัชนีความสัมพันธ์ทางการค้า (Trade Combination Degree: TCD) เพื่อคัดกรองประเทศศักยภาพใหม่ ๆ และวางกลยุทธ์ขยายตลาดส่งออกตามระดับศักยภาพการนำเข้าและความสอดคล้องของสินค้าระหว่างไทยกับคู่ค้า

 

เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567