ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย

avatar

Administrator


347


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย - แนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย.pdf" target="_blank">ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย - แนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจสำหรับผู้ที่ต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ขาดประสบการณ์ และความรู้ทางด้านธุรกิจและการตลาด โดยผู้ขายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) เป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิค (Know How) ให้แก่ผู้ร่วมธุรกิจที่เป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ธุรกิจแฟรนไชส์ช่วยสนับสนุนการจ้างงาน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับไทย ซึ่งการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจแฟรนไชส์จะมีส่วนสาคัญในการบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อน GDP ของ SMEs ให้ถึงร้อยละ 40 ในปี 2570 (ปี 2565 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 35.2) ธุรกิจแฟรนไชส์โลกและไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกสร้างรายได้มากกว่า 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าการลงทุนแฟรนไชส์ 119.82 ล้านบาท</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จึงได้จัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทยขึ้น เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ ทั้งในด้านการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถสร้างรายได้และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีศักยภาพและแนวโน้มเติบโตในแทบทุกกลุ่มธุรกิจ ในปี 2566 มีมูลค่าการลงทุนแฟรนไชส์ 119.82 ล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์จานวน 609 ธุรกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.33 (ปี 2565 มีธุรกิจแฟรนไชส์ 552 ธุรกิจ) โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม (สัดส่วนร้อยละ 25.29) กลุ่มอาหาร (สัดส่วนร้อยละ 24.3) และกลุ่มการศึกษา (สัดส่วนร้อยละ 16.09) และธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67) กลุ่มอาหาร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54) และกลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41) (ที่มา:Thaifranchisecenter.com)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ปัจจุบัน ไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ แต่มีสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น โดยผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์แบบแฟรนไชส์ซอร์ สามารถยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ และ/หรือจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เหมือนธุรกิจประเภทอื่น และสามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์การตัดสินรางวัลมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award &ndash; TQA) และเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา The Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย แบ่งได้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการ (2) ด้านมาตรฐาน (3) ด้านส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์และการสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ (4) ด้านการจัดหาทำเลที่ดีในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และ (5) ด้านการเงิน อย่างไรก็ดี จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและเปรียบเทียบกับประเทศต้นแบบ (สหรัฐอเมริกา จีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย) ทำให้เห็นถึงช่องว่างสิ่งที่ไทยยังไม่ได้ดำเนินการและปัญหาการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สรุปได้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านฐานข้อมูล/องค์ความรู้ (2) ด้านแผนงานการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทย (3) ด้านความร่วมมือและการบูรณาการ (4) ด้านศักยภาพธุรกิจ และ (5) ด้านการเงิน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย หน่วยงานภาครัฐควรดำเนินแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการเงิน โดยมุ่งเน้น 2 แนวทาง ได้แก่ (1) สร้างแฟรนไชส์ใหม่ เพื่อเพิ่มจำนวนธุรกิจ ผู้ประกอบการและแรงงานในธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากขึ้น และ (2) เสริมแฟรนไชส์เดิม เพื่อผลักดันและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจให้สามารถเพิ่มมูลค่า และขยายการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม: 

          แฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจสำหรับผู้ที่ต้องการจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ขาดประสบการณ์ และความรู้ทางด้านธุรกิจและการตลาด โดยผู้ขายแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) เป็นผู้ถ่ายทอดเทคนิค (Know How) ให้แก่ผู้ร่วมธุรกิจที่เป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) ธุรกิจแฟรนไชส์ช่วยสนับสนุนการจ้างงาน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับไทย ซึ่งการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจแฟรนไชส์จะมีส่วนสาคัญในการบรรลุเป้าหมายในการขับเคลื่อน GDP ของ SMEs ให้ถึงร้อยละ 40 ในปี 2570 (ปี 2565 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 35.2) ธุรกิจแฟรนไชส์โลกและไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกสร้างรายได้มากกว่า 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าการลงทุนแฟรนไชส์ 119.82 ล้านบาท

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) จึงได้จัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทยขึ้น เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแฟรนไชส์ ทั้งในด้านการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถสร้างรายได้และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

          ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีศักยภาพและแนวโน้มเติบโตในแทบทุกกลุ่มธุรกิจ ในปี 2566 มีมูลค่าการลงทุนแฟรนไชส์ 119.82 ล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์จานวน 609 ธุรกิจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.33 (ปี 2565 มีธุรกิจแฟรนไชส์ 552 ธุรกิจ) โดยธุรกิจที่มีสัดส่วนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม (สัดส่วนร้อยละ 25.29) กลุ่มอาหาร (สัดส่วนร้อยละ 24.3) และกลุ่มการศึกษา (สัดส่วนร้อยละ 16.09) และธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565 มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67) กลุ่มอาหาร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54) และกลุ่มเครื่องดื่มและไอศกรีม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41) (ที่มา:Thaifranchisecenter.com)

          ปัจจุบัน ไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ แต่มีสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งถือเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่น โดยผู้ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์แบบแฟรนไชส์ซอร์ สามารถยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ และ/หรือจดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เหมือนธุรกิจประเภทอื่น และสามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาธุรกิจ โดยอ้างอิงจากเกณฑ์การตัดสินรางวัลมาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) และเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา The Malcolm Baldrige National Quality Award : MBNQA)

          การดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย แบ่งได้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการ (2) ด้านมาตรฐาน (3) ด้านส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์และการสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ (4) ด้านการจัดหาทำเลที่ดีในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และ (5) ด้านการเงิน อย่างไรก็ดี จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยและเปรียบเทียบกับประเทศต้นแบบ (สหรัฐอเมริกา จีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย) ทำให้เห็นถึงช่องว่างสิ่งที่ไทยยังไม่ได้ดำเนินการและปัญหาการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย สรุปได้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านฐานข้อมูล/องค์ความรู้ (2) ด้านแผนงานการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ไทย (3) ด้านความร่วมมือและการบูรณาการ (4) ด้านศักยภาพธุรกิจ และ (5) ด้านการเงิน

          เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแฟรนไชส์ของไทย หน่วยงานภาครัฐควรดำเนินแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการเงิน โดยมุ่งเน้น 2 แนวทาง ได้แก่ (1) สร้างแฟรนไชส์ใหม่ เพื่อเพิ่มจำนวนธุรกิจ ผู้ประกอบการและแรงงานในธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากขึ้น และ (2) เสริมแฟรนไชส์เดิม เพื่อผลักดันและส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจให้สามารถเพิ่มมูลค่า และขยายการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567