สนค. เดินหน้าจัดทำภาพอนาคต Plant-Based Food ค้นหาพืชศักยภาพไทย สร้างมูลค่าสูง ดันเศรษฐกิจยั่งยืน

สนค. เดินหน้าจัดทำภาพอนาคต Plant-Based Food ค้นหาพืชศักยภาพไทย สร้างมูลค่าสูง ดันเศรษฐกิจยั่งยืน

avatar

Administrator


80


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ข่าว สนค.  เดินหน้าจัดทำภาพอนาคต Plant Based Food.pdf" target="_blank">ข่าว สนค. เดินหน้าจัดทำภาพอนาคต Plant Based Food.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นภายใต้ &ldquo;โครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช (Plant-Based Food)&rdquo; ในวันที่ 25 เมษายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ นนทบุรี</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ข้อมูลจาก Euromonitor ในช่วงปี 2562 &ndash; 2567 มูลค่าตลาดอาหารจากพืชทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย 10.5% ต่อปี (CAGR) สำหรับในปี 2567 คาดการณ์มูลค่าตลาดประมาณ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจาก แนวโน้มการบริโภคในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) รวมถึงความกังวลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ทำให้อาหารจากพืชมีโอกาสที่จะเติบโต ประกอบกับไทยมีจุดแข็ง มีวัตถุดิบ และมีห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอาหารที่ค่อนข้างครบวงจรในประเทศ ตั้งแต่การปลูกพืช และส่งต่อถึงการผลิตและแปรรูป อีกทั้งอาหารไทยได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับโลก จึงทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและการค้าสินค้าอาหารจากพืช</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สนค. ได้ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ดำเนินโครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช หรือ Plant-Based Food โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ศักยภาพ โอกาส แนวโน้มทิศทาง และจัดทำภาพอนาคต หรือ Foresight สินค้าอาหารจากพืช เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งทางการค้าสินค้าอาหารจากพืช เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขัน เปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ในการดำเนินโครงการฯ ได้ศึกษา รวมรวม และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ ปัจจัยขับเคลื่อนและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และกฎหมาย นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูล รับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมกว่า 30 ราย โดยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสัญญาณ (Signal) แนวโน้ม (Trend) และปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) และจัดทำภาพอนาคต (Foresight) สินค้าอาหารจากพืช</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;การจัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อฉากทัศน์และภาพอนาคตที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืชของไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการค้าสินค้าอาหารจากพืชต่อไป</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยมีข้อได้เปรียบที่มีสินค้าเกษตรที่หลากหลายแต่มักส่งออกเป็นวัตถุดิบขั้นต้น ดังนั้น การหาพืชศักยภาพใหม่ ๆ ที่สามารถใช้นวัตกรรมในการผลิตแปรรูปและช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการขยายโอกาสของสินค้าเกษตรและอาหารไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคและตลาดใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นภายใต้ “โครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช (Plant-Based Food)” ในวันที่ 25 เมษายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ นนทบุรี

          ข้อมูลจาก Euromonitor ในช่วงปี 2562 – 2567 มูลค่าตลาดอาหารจากพืชทั่วโลกเติบโตเฉลี่ย 10.5% ต่อปี (CAGR) สำหรับในปี 2567 คาดการณ์มูลค่าตลาดประมาณ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจาก แนวโน้มการบริโภคในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) รวมถึงความกังวลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ทำให้อาหารจากพืชมีโอกาสที่จะเติบโต ประกอบกับไทยมีจุดแข็ง มีวัตถุดิบ และมีห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอาหารที่ค่อนข้างครบวงจรในประเทศ ตั้งแต่การปลูกพืช และส่งต่อถึงการผลิตและแปรรูป อีกทั้งอาหารไทยได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับโลก จึงทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและการค้าสินค้าอาหารจากพืช

          สนค. ได้ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ดำเนินโครงการจัดทำภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืช หรือ Plant-Based Food โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ศักยภาพ โอกาส แนวโน้มทิศทาง และจัดทำภาพอนาคต หรือ Foresight สินค้าอาหารจากพืช เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งทางการค้าสินค้าอาหารจากพืช เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขัน เปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

          ในการดำเนินโครงการฯ ได้ศึกษา รวมรวม และวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ ปัจจัยขับเคลื่อนและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และกฎหมาย นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูล รับฟังความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมกว่า 30 ราย โดยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาสัญญาณ (Signal) แนวโน้ม (Trend) และปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) และจัดทำภาพอนาคต (Foresight) สินค้าอาหารจากพืช

          การจัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อฉากทัศน์และภาพอนาคตที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ภาพอนาคตสินค้าอาหารจากพืชของไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการค้าสินค้าอาหารจากพืชต่อไป

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไทยมีข้อได้เปรียบที่มีสินค้าเกษตรที่หลากหลายแต่มักส่งออกเป็นวัตถุดิบขั้นต้น ดังนั้น การหาพืชศักยภาพใหม่ ๆ ที่สามารถใช้นวัตกรรมในการผลิตแปรรูปและช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร จะช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการขยายโอกาสของสินค้าเกษตรและอาหารไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคและตลาดใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567