สนค. ผนึกกำลังยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้าอย่างต่อเนื่อง

สนค. ผนึกกำลังยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้าอย่างต่อเนื่อง

avatar

Administrator


277


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. ยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้า.pdf" target="_blank">สนค. ยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้า.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกับสถาบันกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ <strong>หลักสูตร &ldquo;เพิ่มศักยภาพในการสำรวจ จัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนีเศรษฐกิจการค้า&rdquo;</strong> ระหว่างวันที่ 13 &ndash; 15 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จ.นนทบุรี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งสิ้นกว่า 360 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ และผู้รับจ้างจัดเก็บข้อมูลทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาค โดยมี <strong>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผอ.สนค.</strong> เป็นประธานในพิธีเปิดและเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ<strong> &ldquo;บทบาทความสำคัญของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด กับการจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า&rdquo;</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;โดยนายพูนพงษ์ ได้กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางนโยบายและการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี เพิ่มศักยภาพทางการค้าของเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงฯ จึงได้มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศทางการค้าที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในนั้น คือ <strong>การพัฒนาและจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า ให้ทันสมัย มีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ทั้งนี้ การจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้าที่ถูกต้อง แม่นยำ ตามมาตรฐานสากล จำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จัดเก็บ ในระดับพื้นที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างถูกต้อง การมีข้อมูลเชิงลึก จะช่วยทำให้เห็นภาพของเศรษฐกิจ แต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัด ที่ครบถ้วน รวดเร็ว และทันสมัย สะท้อนภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า ยังมีความท้าทายอีกหลายประการ โดยเฉพาะการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ผู้ค้า หน่วยงานภาครัฐ และสาธารณชน รวมถึงบุคลากรของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมมาใช้ในกระบวนการจัดทำดัชนีเศรษฐกิจการค้า ซึ่งจะทำให้เครื่องชี้วัดดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ ทิ้งท้ายว่า การอบรมในครั้งนี้จะช่วยยกระดับ และเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้าให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง สนค. และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างแนบแน่น เพื่อให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้าของไทยมีคุณภาพ ทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป เช่น การนำอัตราเงินเฟ้อที่ สนค. จัดทำไปใช้ประกอบในการกำหนดอัตราค่าแรง ดอกเบี้ยนโยบาย และการจัดทำผลิตภัณฑ์ผลรวม (GDP: Gross Domestic Product) ของประเทศและจังหวัด เป็นต้น</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ร่วมกับสถาบันกรมพระจันทบุรีนฤนาถ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เพิ่มศักยภาพในการสำรวจ จัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนีเศรษฐกิจการค้า” ระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จ.นนทบุรี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งสิ้นกว่า 360 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ และผู้รับจ้างจัดเก็บข้อมูลทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาค โดยมี นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผอ.สนค. เป็นประธานในพิธีเปิดและเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “บทบาทความสำคัญของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด กับการจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า”

          โดยนายพูนพงษ์ ได้กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางนโยบายและการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี เพิ่มศักยภาพทางการค้าของเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กระทรวงฯ จึงได้มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศทางการค้าที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในนั้น คือ การพัฒนาและจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า ให้ทันสมัย มีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล

          ทั้งนี้ การจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้าที่ถูกต้อง แม่นยำ ตามมาตรฐานสากล จำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ จัดเก็บ ในระดับพื้นที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างถูกต้อง การมีข้อมูลเชิงลึก จะช่วยทำให้เห็นภาพของเศรษฐกิจ แต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัด ที่ครบถ้วน รวดเร็ว และทันสมัย สะท้อนภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้า ยังมีความท้าทายอีกหลายประการ โดยเฉพาะการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ผู้ค้า หน่วยงานภาครัฐ และสาธารณชน รวมถึงบุคลากรของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมมาใช้ในกระบวนการจัดทำดัชนีเศรษฐกิจการค้า ซึ่งจะทำให้เครื่องชี้วัดดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์

          นายพูนพงษ์ ทิ้งท้ายว่า การอบรมในครั้งนี้จะช่วยยกระดับ และเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านดัชนีเศรษฐกิจการค้าให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง สนค. และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ให้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างแนบแน่น เพื่อให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้าของไทยมีคุณภาพ ทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป เช่น การนำอัตราเงินเฟ้อที่ สนค. จัดทำไปใช้ประกอบในการกำหนดอัตราค่าแรง ดอกเบี้ยนโยบาย และการจัดทำผลิตภัณฑ์ผลรวม (GDP: Gross Domestic Product) ของประเทศและจังหวัด เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567