กาแฟไทยร้อนแรง! ตลาดโตต่อเนื่อง ดันส่งออกพุ่ง

กาแฟไทยร้อนแรง! ตลาดโตต่อเนื่อง ดันส่งออกพุ่ง

avatar

Administrator


1001


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/กาแฟไทยร้อนแรง! ตลาดโตต่อเนื่อง ดันส่งออกพุ่ง.pdf" target="_blank">กาแฟไทยร้อนแรง! ตลาดโตต่อเนื่อง ดันส่งออกพุ่ง.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ติดตามข้อมูลการค้าของสินค้ากาแฟ พบว่าตลาดกาแฟไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นแนวโน้มและโอกาสที่ดีในการปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อเร่งพัฒนาตลาดกาแฟของไทย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;บริษัทสำรวจข้อมูลทางการตลาดระดับโลก Euromonitor International รายงานมูลค่าตลาดกาแฟไทย พบว่ากาแฟเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าตลาดกาแฟไทยเติบโตต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564 &ndash; 2566 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 8.55 ต่อปี ขณะที่ล่าสุดปี 2566 มีมูลค่าตลาด 34,470.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.34 (ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 9.78) และเมื่อพิจารณายอดขายตามประเภทกาแฟ ในปี 2566 พบว่ากาแฟสำเร็จรูปมีมูลค่าตลาดสูงถึง 28,951.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของมูลค่าตลาดกาแฟในประเทศ และกาแฟสดมีมูลค่าตลาด 5,519.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน สภาพอากาศที่ร้อนของไทย และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่ม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;กระแสความต้องการบริโภคกาแฟในไทยที่เพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่หลากหลาย ประกอบกับสภาพอากาศร้อน ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ความต้องการกาแฟเย็นจากร้านสะดวกซื้อ กาแฟสำเร็จรูปแบบ RTD (Ready To Drink) และกาแฟบรรจุขวดพร้อมทานเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบและดื่มด่ำกับบรรยากาศในการดื่มกาแฟสดที่ได้เห็นความพิถีพิถันในการชงกาแฟก็ทำให้กาแฟสดเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายเหล่านี้ เกิดจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มศึกษาและเรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;ในปี 2566 ประเทศไทยมีผลผลิตกาแฟ 16,575 ตัน แบ่งเป็นพันธุ์อาราบิก้า และโรบัสตา ร้อยละ 48.2 และ 51.8 ตามลำดับ เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้ากาแฟ พบว่าการนำเข้ากาแฟของไทยเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2566<sup>1</sup> ไทยมีมูลค่าการนำเข้ากาแฟ 338.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.90 เมื่อเทียบกับปี 2565 (299.77 ล้านเหรียญสหรัฐ) แบ่งเป็นการนำเข้า&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(1) กาแฟดิบ (พิกัดศุลกากร 090111 และ 090112) 184.76 ล้านเหรียญสหรัฐ (62,171.01 ตัน)&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(2) กาแฟคั่ว (พิกัดศุลกากร 090121 และ 090122) 27.55 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,647.14 ตัน)&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(3) กาแฟสำเร็จรูป (พิกัดศุลกากร 210111 และ 210112) 126.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (15,947.11 ตัน)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. &ndash; มี.ค.) ไทยมีมูลค่าการนำเข้ากาแฟ 76.3 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (1) กาแฟดิบ 31.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) กาแฟคั่ว 6.15 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) กาแฟสำเร็จรูป 38.94 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นอกจากนี้ พบว่า มูลค่าการส่งออกกาแฟของไทยก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2566 ไทยมีมูลค่าการส่งออกกาแฟ 125.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับปี 2565 (108.92 ล้านเหรียญสหรัฐ) แบ่งเป็นการส่งออก<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(1) กาแฟดิบ 2.20 ล้านเหรียญสหรัฐ (255.18 ตัน)&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(2) กาแฟคั่ว 2.75 ล้านเหรียญสหรัฐ (243.23 ตัน)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;(3) กาแฟสำเร็จรูป 120.95 ล้านเหรียญสหรัฐ (24,517.72 ตัน)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. &ndash; มี.ค.) ไทยมีมูลค่าการส่งออกกาแฟ 34.18 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (1) กาแฟดิบ 0.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) กาแฟคั่ว 1.24 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) กาแฟสำเร็จรูป 32.72 ล้านเหรียญสหรัฐ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า ไทยมีการนำเข้ากาแฟดิบในปริมาณมาก เพื่อบริโภคในประเทศและแปรรูปส่งออกเป็นกาแฟสำเร็จรูป แสดงให้ถึงศักยภาพด้านการแปรรูปกาแฟของไทย โดยในปี 2566 ตลาดส่งออกกาแฟสำเร็จรูปอันดับหนึ่งของไทย คือ กัมพูชา รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ ส่วนด้านการนำเข้า ไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบจากเวียดนามมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย และ สปป.ลาว&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;นายพูนพงษ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ตลาดกาแฟของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคในประเทศ และการแปรรูปเพื่อส่งออก ประเทศไทยมีศักยภาพในการแปรรูปกาแฟดิบเป็นกาแฟสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสุขภาพและความยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และปรับตัวให้เท่าทัน<br />
การเปลี่ยนแปลง พร้อมกับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รักษ์โลกมาใช้ในขั้นตอนการผลิต เพื่อสามารถพัฒนากาแฟที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และสอดคล้องกับระเบียบการค้าโลกใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกกาแฟไทยไปยังตลาดคู่ค้าใหม่ ๆ มีโอกาสขยายตัว เนื่องจากตลาดกาแฟยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมากทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลก</p>

<p>&nbsp;</p>

<hr />
<p><sup>1</sup> ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, พฤษภาคม 2567</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ติดตามข้อมูลการค้าของสินค้ากาแฟ พบว่าตลาดกาแฟไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นแนวโน้มและโอกาสที่ดีในการปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อเร่งพัฒนาตลาดกาแฟของไทย

          บริษัทสำรวจข้อมูลทางการตลาดระดับโลก Euromonitor International รายงานมูลค่าตลาดกาแฟไทย พบว่ากาแฟเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าตลาดกาแฟไทยเติบโตต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 8.55 ต่อปี ขณะที่ล่าสุดปี 2566 มีมูลค่าตลาด 34,470.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.34 (ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 9.78) และเมื่อพิจารณายอดขายตามประเภทกาแฟ ในปี 2566 พบว่ากาแฟสำเร็จรูปมีมูลค่าตลาดสูงถึง 28,951.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 84 ของมูลค่าตลาดกาแฟในประเทศ และกาแฟสดมีมูลค่าตลาด 5,519.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน สภาพอากาศที่ร้อนของไทย และไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่ม 

          กระแสความต้องการบริโภคกาแฟในไทยที่เพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่หลากหลาย ประกอบกับสภาพอากาศร้อน ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ความต้องการกาแฟเย็นจากร้านสะดวกซื้อ กาแฟสำเร็จรูปแบบ RTD (Ready To Drink) และกาแฟบรรจุขวดพร้อมทานเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี กลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบและดื่มด่ำกับบรรยากาศในการดื่มกาแฟสดที่ได้เห็นความพิถีพิถันในการชงกาแฟก็ทำให้กาแฟสดเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายเหล่านี้ เกิดจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มศึกษาและเรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี

          ในปี 2566 ประเทศไทยมีผลผลิตกาแฟ 16,575 ตัน แบ่งเป็นพันธุ์อาราบิก้า และโรบัสตา ร้อยละ 48.2 และ 51.8 ตามลำดับ เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้ากาแฟ พบว่าการนำเข้ากาแฟของไทยเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 25661 ไทยมีมูลค่าการนำเข้ากาแฟ 338.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.90 เมื่อเทียบกับปี 2565 (299.77 ล้านเหรียญสหรัฐ) แบ่งเป็นการนำเข้า 
          (1) กาแฟดิบ (พิกัดศุลกากร 090111 และ 090112) 184.76 ล้านเหรียญสหรัฐ (62,171.01 ตัน) 
          (2) กาแฟคั่ว (พิกัดศุลกากร 090121 และ 090122) 27.55 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,647.14 ตัน) 
          (3) กาแฟสำเร็จรูป (พิกัดศุลกากร 210111 และ 210112) 126.11 ล้านเหรียญสหรัฐ (15,947.11 ตัน) 

          สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. – มี.ค.) ไทยมีมูลค่าการนำเข้ากาแฟ 76.3 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (1) กาแฟดิบ 31.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) กาแฟคั่ว 6.15 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) กาแฟสำเร็จรูป 38.94 ล้านเหรียญสหรัฐ

          นอกจากนี้ พบว่า มูลค่าการส่งออกกาแฟของไทยก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2566 ไทยมีมูลค่าการส่งออกกาแฟ 125.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.59 เมื่อเทียบกับปี 2565 (108.92 ล้านเหรียญสหรัฐ) แบ่งเป็นการส่งออก
          (1) กาแฟดิบ 2.20 ล้านเหรียญสหรัฐ (255.18 ตัน) 
          (2) กาแฟคั่ว 2.75 ล้านเหรียญสหรัฐ (243.23 ตัน)
          (3) กาแฟสำเร็จรูป 120.95 ล้านเหรียญสหรัฐ (24,517.72 ตัน)

          สำหรับในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค. – มี.ค.) ไทยมีมูลค่าการส่งออกกาแฟ 34.18 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็น (1) กาแฟดิบ 0.21 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) กาแฟคั่ว 1.24 ล้านเหรียญสหรัฐ และ (3) กาแฟสำเร็จรูป 32.72 ล้านเหรียญสหรัฐ

          จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า ไทยมีการนำเข้ากาแฟดิบในปริมาณมาก เพื่อบริโภคในประเทศและแปรรูปส่งออกเป็นกาแฟสำเร็จรูป แสดงให้ถึงศักยภาพด้านการแปรรูปกาแฟของไทย โดยในปี 2566 ตลาดส่งออกกาแฟสำเร็จรูปอันดับหนึ่งของไทย คือ กัมพูชา รองลงมา ได้แก่ สปป.ลาว และฟิลิปปินส์ ส่วนด้านการนำเข้า ไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบจากเวียดนามมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ อินโดนีเซีย และ สปป.ลาว 

          นายพูนพงษ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ตลาดกาแฟของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคในประเทศ และการแปรรูปเพื่อส่งออก ประเทศไทยมีศักยภาพในการแปรรูปกาแฟดิบเป็นกาแฟสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสุขภาพและความยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และปรับตัวให้เท่าทัน
การเปลี่ยนแปลง พร้อมกับนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่รักษ์โลกมาใช้ในขั้นตอนการผลิต เพื่อสามารถพัฒนากาแฟที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และสอดคล้องกับระเบียบการค้าโลกใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกกาแฟไทยไปยังตลาดคู่ค้าใหม่ ๆ มีโอกาสขยายตัว เนื่องจากตลาดกาแฟยังมีช่องว่างในการเติบโตอีกมากทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลก

 


1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์, พฤษภาคม 2567

เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567