“ภูมิธรรม” หนุนคนตัวเล็ก SME ไทย ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน ค้นหาจุดแข็ง สร้างแต้มต่อ เพิ่ม GDP ผ่าน คิดค้า.com

“ภูมิธรรม” หนุนคนตัวเล็ก SME ไทย ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน ค้นหาจุดแข็ง สร้างแต้มต่อ เพิ่ม GDP ผ่าน คิดค้า.com

avatar

Administrator


469


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/“ภูมิธรรม” หนุนคนตัวเล็ก SME ไทย ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน.pdf" target="_blank">&ldquo;ภูมิธรรม&rdquo; หนุนคนตัวเล็ก SME ไทย ปรับตัวรับโลกเปลี่ยน.pdf</a></p>

<p><br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วันที่ 2 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทย เพื่อรับมือกับผลกระทบของมาตรการทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของโลก โดยเฉพาะกับคนตัวเล็กและ SMEs ของไทย ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน GDP และเศรษฐกิจของประเทศ ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับมาตรการทางสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าจากทั่วโลก ซึ่งนายภูมิธรรมได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ และสั่งการให้จัดทำคลังความรู้ &ldquo;พาณิชย์คิดค้า อย่างยั่งยืน&rdquo; เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจ เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ การดำเนินธุรกิจและการค้าที่ยั่งยืน เทรนด์การค้า กฎระเบียบของไทยและคู่ค้าสำคัญที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลกิจกรรม สัมมนา และงานแสดงสินค้า หลักสูตรการเรียนรู้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และข้อมูลสินค้าและร้านค้าที่สนับสนุนความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ ปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการค้าจากความยั่งยืน ณ จุดเดียว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ บน www.คิดค้า.com</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดย สนค. ระบุว่า ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและให้ความสนใจกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ทำให้ส่งผลต่อนโยบายด้านการค้า ซึ่งหลายประเทศนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแพร่หลาย เช่น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นโยบายกรีนดีลของสหภาพยุโรป (European Green Deal) โดยมีกฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เพื่อลดความได้เปรียบด้านต้นทุนของสินค้าที่ผลิตในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศที่มีมาตรการจัดการกับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 และปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยจะเริ่มเก็บภาษีกับผู้นำเข้าในวันที่ 1 มกราคม 2569 ในสินค้าไฟฟ้า ซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-Free Products Regulation: EUDR) เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า และลดการมีส่วนร่วมของอียู ในการตัดไม้ทำลายป่าและทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่าทั่วโลก ครอบคลุมสินค้า 7 รายการ ได้แก่ วัว ไม้ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ และยางพารา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2566 ปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านเช่นกัน โดยมีระยะเวลา 18 เดือน สำหรับผู้ประกอบการทั่วไป (ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567)และระยะเวลา 24 เดือน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs (ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กฎหมายสอบทานธุรกิจด้านความยั่งยืน (Corporate Sustainability Due Diligence Directive: CSDDD) ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจในอียูรวมถึงบริษัทจากประเทศที่สามที่ทำธุรกิจในอียู ที่มีจำนวนพนักงานไม่น้อยกว่า 1,000 ราย และมีรายได้จากทั่วโลกไม่น้อยกว่า 450 ล้านยูโรต่อปี ต้องจัดทำรายงานสอบทาน (Due Diligence) ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปอียูจะต้องเตรียมพร้อมในการให้ข้อมูลกับผู้นำเข้าฝั่งอียูเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการสอบทานดังกล่าว</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; และยังมีกฎหมายว่าด้วยการห้ามวางจำหน่ายสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับ (Prohibiting Product Made with Forced Labour on The Union Market)ครอบคลุมสินค้าที่จำหน่ายทั้งหมดที่ผลิตในอียูเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก และสินค้านำเข้า โดยจะห้ามจำหน่ายสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับในตลาดอียู รวมทั้งห้ามนำเข้าส่งออกด้วย ทั้งนี้ หลังจากที่รัฐสภายุโรปได้อนุมัติกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว จะมีการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาของสหภาพยุโรป ทำให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จากนั้นประเทศสมาชิกอียูจะต้องออกกฎหมายภายใน โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในอีก 3 ปีข้างหน้า</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากอียูแล้ว อีกหลายประเทศก็มีนโยบายในการออกกฎหมายหรือมาตรการทางการค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดา มีแนวคิดจะใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนเช่นกัน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมและประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้กับสาขาเกษตรกรรม ย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ไทยก็อยู่ระหว่างจัดทำ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ที่จะเป็นกลไกส่งเสริมการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างแน่นอน ถ้าเริ่มเรียนรู้ ปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสจากกระแสดังกล่าว และเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ก็จะเป็นแต้มต่อ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจด้วย</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 


          วันที่ 2 มิถุนายน 2567 เวลา 8.30 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับการปรับตัวและการเตรียมความพร้อมของภาคธุรกิจไทย เพื่อรับมือกับผลกระทบของมาตรการทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มด้านความยั่งยืนของโลก โดยเฉพาะกับคนตัวเล็กและ SMEs ของไทย ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน GDP และเศรษฐกิจของประเทศ ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับมาตรการทางสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับด้านการค้าจากทั่วโลก ซึ่งนายภูมิธรรมได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาการค้าตามระเบียบการค้าโลกใหม่ และสั่งการให้จัดทำคลังความรู้ “พาณิชย์คิดค้า อย่างยั่งยืน” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำธุรกิจ เผยแพร่ข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ การดำเนินธุรกิจและการค้าที่ยั่งยืน เทรนด์การค้า กฎระเบียบของไทยและคู่ค้าสำคัญที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลกิจกรรม สัมมนา และงานแสดงสินค้า หลักสูตรการเรียนรู้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และข้อมูลสินค้าและร้านค้าที่สนับสนุนความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการเรียนรู้ ปรับตัว และแสวงหาโอกาสทางการค้าจากความยั่งยืน ณ จุดเดียว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแผนจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ บน www.คิดค้า.com

          โดย สนค. ระบุว่า ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและให้ความสนใจกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ทำให้ส่งผลต่อนโยบายด้านการค้า ซึ่งหลายประเทศนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแพร่หลาย เช่น

          นโยบายกรีนดีลของสหภาพยุโรป (European Green Deal) โดยมีกฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เพื่อลดความได้เปรียบด้านต้นทุนของสินค้าที่ผลิตในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศที่มีมาตรการจัดการกับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 และปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยจะเริ่มเก็บภาษีกับผู้นำเข้าในวันที่ 1 มกราคม 2569 ในสินค้าไฟฟ้า ซีเมนต์ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน

          กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation-Free Products Regulation: EUDR) เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า และลดการมีส่วนร่วมของอียู ในการตัดไม้ทำลายป่าและทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของป่าทั่วโลก ครอบคลุมสินค้า 7 รายการ ได้แก่ วัว ไม้ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง กาแฟ โกโก้ และยางพารา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่มิถุนายน 2566 ปัจจุบันยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านเช่นกัน โดยมีระยะเวลา 18 เดือน สำหรับผู้ประกอบการทั่วไป (ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2567)และระยะเวลา 24 เดือน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs (ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568)

          กฎหมายสอบทานธุรกิจด้านความยั่งยืน (Corporate Sustainability Due Diligence Directive: CSDDD) ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจในอียูรวมถึงบริษัทจากประเทศที่สามที่ทำธุรกิจในอียู ที่มีจำนวนพนักงานไม่น้อยกว่า 1,000 ราย และมีรายได้จากทั่วโลกไม่น้อยกว่า 450 ล้านยูโรต่อปี ต้องจัดทำรายงานสอบทาน (Due Diligence) ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าไปอียูจะต้องเตรียมพร้อมในการให้ข้อมูลกับผู้นำเข้าฝั่งอียูเพื่อประกอบการจัดทำรายงานการสอบทานดังกล่าว

          และยังมีกฎหมายว่าด้วยการห้ามวางจำหน่ายสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับ (Prohibiting Product Made with Forced Labour on The Union Market)ครอบคลุมสินค้าที่จำหน่ายทั้งหมดที่ผลิตในอียูเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก และสินค้านำเข้า โดยจะห้ามจำหน่ายสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับในตลาดอียู รวมทั้งห้ามนำเข้าส่งออกด้วย ทั้งนี้ หลังจากที่รัฐสภายุโรปได้อนุมัติกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว จะมีการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาของสหภาพยุโรป ทำให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จากนั้นประเทศสมาชิกอียูจะต้องออกกฎหมายภายใน โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในอีก 3 ปีข้างหน้า

          นอกจากอียูแล้ว อีกหลายประเทศก็มีนโยบายในการออกกฎหมายหรือมาตรการทางการค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดา มีแนวคิดจะใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนเช่นกัน

          จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาคธุรกิจไทยจะต้องเร่งปรับตัวสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกยิ่งไปกว่านั้น ไทยยังเป็นประเทศเกษตรกรรมและประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้กับสาขาเกษตรกรรม ย่อมส่งผลกระทบอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ไทยก็อยู่ระหว่างจัดทำ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ที่จะเป็นกลไกส่งเสริมการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างแน่นอน ถ้าเริ่มเรียนรู้ ปรับตัวเพื่อแสวงหาโอกาสจากกระแสดังกล่าว และเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อาทิ ปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ก็จะเป็นแต้มต่อ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจด้วย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 02 มิถุนายน 2567