" ภูมิธรรม" เผยฉลอง Pride Month ดันเศรษฐกิจ เพิ่มเม็ดเงินเข้าประเทศ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนสมรสเท่าเทียม

" ภูมิธรรม" เผยฉลอง Pride Month ดันเศรษฐกิจ เพิ่มเม็ดเงินเข้าประเทศ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนสมรสเท่าเทียม

avatar

Administrator


262


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/”ภูมิธรรม“ เผยฉลอง Pride Month ดันเศรษฐกิจ.pdf" target="_blank">&rdquo;ภูมิธรรม&ldquo; เผยฉลอง Pride Month ดันเศรษฐกิจ.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยการนำของท่านนายกรัฐมนตรี ประกาศสนับสนุนทุกความหลากหลาย ได้ผนึกกำลังภาครัฐและภาคเอกชนฉลองเทศกาล Pride Month เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ LGBTQIAN+ ตลอดช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โอกาสในการขยายธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME และสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าโดยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ด้วย ซึ่งล่าสุด ได้รับรายงานจาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ถึงการวิเคราะห์การจัดงาน Pride Month ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวและการค้า และการบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ภายใต้นโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND ของรัฐบาล ที่มุ่งกระจายการท่องเที่ยวสู่ 55 จังหวัด &ldquo;เมืองน่าเที่ยว&rdquo; ที่มีศักยภาพเสริมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการเป็นศูนย์กลางการจัดงาน Event ระดับโลก ซึ่งการจัดงานเทศกาล Pride Month จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรของผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ (Pride Friendly Destination) ทั้งไทยและต่างชาติที่มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเป็นกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูง&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Ipsos ซึ่งทำการสำรวจประชาชน จำนวน 22,514 คน จาก 30 ประเทศในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566 ระบุว่า ร้อยละ 9&nbsp;<br />
ของประชากรโลกที่บรรลุนิติภาวะระบุตนเองว่าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และประชากรไทย&nbsp;ร้อยละ 9 ก็ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จำนวนประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันอาจมีสัดส่วนไม่มากนัก แต่คาดการณ์ว่าประชากรที่อยู่ใน Gen Z (เกิดหลังปี 2540) มีแนวโน้มระบุตนเองเป็นผู้มีหลากหลายทางเพศมากกว่าประชากรกลุ่ม Millennial,&nbsp;Gen X และ Baby Boomer จึงเห็นได้ว่ากลุ่ม LGBTQIAN+ นี้ถือเป็นตลาดผู้บริโภคสำคัญที่สามารถมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ผลสำรวจของ LGBT Capital บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินยังพบว่าในปี 2566 กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกมีกำลังซื้อสูงถึง 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยมีกำลังซื้อ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นอกจากนี้การจัดงานยังมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจการจัดอีเว้นท์ ธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านการจัดกิจกรรมภายในงานเฉลิมฉลอง อาทิ การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า แฟชั่นโชว์การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มภายในงานรวมทั้งธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการขนส่ง ที่ให้บริการรองรับผู้เข้าร่วมงานก็ยังได้ประโยชน์ร่วมด้วย และช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยไทยเริ่มจัดงานเฉลิมฉลอง Pride Month เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2542 และปัจจุบันมีการจัดงานอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังชุมชนในทุกภูมิภาค สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวและการจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับท้องถิ่น โดยในปี 2567 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน Pride Month มากกว่า 860,000 คน สามารถสร้าง เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; และเพื่อสนับสนุนให้ไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพ World Pride 2030 และได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจ ต้องเดินหน้าส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเสมอภาคและยั่งยืน ผ่านการสร้างระบบนิเวศที่พร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยเฉพาะการพัฒนายกระดับธุรกิจบริการของไทยให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความประทับใจและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการนำ Soft Power ของไทยมาใช้ดึงดูดและออกแบบการจัดงานของไทยให้โดดเด่น พร้อมกับการจำหน่ายสินค้าและบริการของไทย ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงและนันทนาการ อาทิ ซีรีส์วายและซีรีส์ยูริของไทยที่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแสดงถึงความเปิดกว้าง อีกทั้งเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นการส่งเสริมความเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่สอดแทรกไปกับการผลักดันสินค้าและบริการชุมชนสู่ตลาดโลก และรัฐบาลเดินหน้า ผลักดัน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมให้สำเร็จด้วย</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยการนำของท่านนายกรัฐมนตรี ประกาศสนับสนุนทุกความหลากหลาย ได้ผนึกกำลังภาครัฐและภาคเอกชนฉลองเทศกาล Pride Month เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพ LGBTQIAN+ ตลอดช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โอกาสในการขยายธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME และสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าโดยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ด้วย ซึ่งล่าสุด ได้รับรายงานจาก นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ถึงการวิเคราะห์การจัดงาน Pride Month ที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวและการค้า และการบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ภายใต้นโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND ของรัฐบาล ที่มุ่งกระจายการท่องเที่ยวสู่ 55 จังหวัด “เมืองน่าเที่ยว” ที่มีศักยภาพเสริมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการเป็นศูนย์กลางการจัดงาน Event ระดับโลก ซึ่งการจัดงานเทศกาล Pride Month จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรของผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIAN+ (Pride Friendly Destination) ทั้งไทยและต่างชาติที่มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเป็นกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูง 

          โดยข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Ipsos ซึ่งทำการสำรวจประชาชน จำนวน 22,514 คน จาก 30 ประเทศในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2566 ระบุว่า ร้อยละ 9 
ของประชากรโลกที่บรรลุนิติภาวะระบุตนเองว่าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และประชากรไทย ร้อยละ 9 ก็ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จำนวนประชากรผู้มีความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันอาจมีสัดส่วนไม่มากนัก แต่คาดการณ์ว่าประชากรที่อยู่ใน Gen Z (เกิดหลังปี 2540) มีแนวโน้มระบุตนเองเป็นผู้มีหลากหลายทางเพศมากกว่าประชากรกลุ่ม Millennial, Gen X และ Baby Boomer จึงเห็นได้ว่ากลุ่ม LGBTQIAN+ นี้ถือเป็นตลาดผู้บริโภคสำคัญที่สามารถมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ผลสำรวจของ LGBT Capital บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินยังพบว่าในปี 2566 กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลกมีกำลังซื้อสูงถึง 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยมีกำลังซื้อ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

          นอกจากนี้การจัดงานยังมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจการจัดอีเว้นท์ ธุรกิจบริการด้านอาหาร ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านการจัดกิจกรรมภายในงานเฉลิมฉลอง อาทิ การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า แฟชั่นโชว์การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มภายในงานรวมทั้งธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการขนส่ง ที่ให้บริการรองรับผู้เข้าร่วมงานก็ยังได้ประโยชน์ร่วมด้วย และช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยไทยเริ่มจัดงานเฉลิมฉลอง Pride Month เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2542 และปัจจุบันมีการจัดงานอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ อาทิ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังชุมชนในทุกภูมิภาค สร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวและการจำหน่ายสินค้าและบริการให้กับท้องถิ่น โดยในปี 2567 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน Pride Month มากกว่า 860,000 คน สามารถสร้าง เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 4,500 ล้านบาท 

          และเพื่อสนับสนุนให้ไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพ World Pride 2030 และได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐกิจ ต้องเดินหน้าส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเสมอภาคและยั่งยืน ผ่านการสร้างระบบนิเวศที่พร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยเฉพาะการพัฒนายกระดับธุรกิจบริการของไทยให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความประทับใจและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการนำ Soft Power ของไทยมาใช้ดึงดูดและออกแบบการจัดงานของไทยให้โดดเด่น พร้อมกับการจำหน่ายสินค้าและบริการของไทย ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงและนันทนาการ อาทิ ซีรีส์วายและซีรีส์ยูริของไทยที่ได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการแสดงถึงความเปิดกว้าง อีกทั้งเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นการส่งเสริมความเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศที่สอดแทรกไปกับการผลักดันสินค้าและบริการชุมชนสู่ตลาดโลก และรัฐบาลเดินหน้า ผลักดัน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมให้สำเร็จด้วย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567