สนค. รับลูก ได้เวลา “พระรอง” รับบทเด่นในการส่งออก

สนค. รับลูก ได้เวลา “พระรอง” รับบทเด่นในการส่งออก

avatar

Administrator


835


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. รับลูก ได้เวลา “พระรอง” รับบทเด่น.pdf" target="_blank">สนค. รับลูก ได้เวลา &ldquo;พระรอง&rdquo; รับบทเด่น.pdf</a></p>

<p style="text-align:center"><strong>สนค. วิเคราะห์สินค้าส่งออกระดับรอง เพื่อชี้เป้าสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตแต่มูลค่ายังน้อย&nbsp;เพื่อตอบสนองนโยบายการดูแลสินค้าแบบเท่าเทียมและผลักดันสู่การส่งออกมากขึ้น</strong></p>

<p>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้รับมอบหมายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลักดันการส่งออก &ldquo;สินค้าระดับรอง&rdquo; ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น</p>

<p>จากข้อมูลการส่งออกสินค้าของไทยพบว่า การส่งออกสินค้าในแต่ละหมวด มีการกระจุกตัวอยู่ที่ &ldquo;สินค้าหลัก&rdquo; มาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งในปัจจุบัน สินค้ากลุ่มดังกล่าวต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นและการเติบโตที่ลดลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยยังไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพเท่าที่ควร นอกจากกลยุทธ์การเปิดตลาดใหม่และเพิ่มส่วนแบ่งจากตลาดเดิมแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันสินค้าตัวเด่นระดับรอง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ มีการเติบโตได้ดี และมีความต้องการจากตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีมูลค่าการส่งออกน้อย</p>

<p>ข้อมูลการส่งออกในปี 2566 เผยให้เห็นว่า สินค้าส่งออก 20 อันดับแรกของไทย ค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้ากลุ่มเดิม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น &ldquo;สินค้าหลัก&rdquo; ที่เป็น &ldquo;พระเอก&rdquo; ในการส่งออกของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกมากถึง 181,864.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,270,411.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.9 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยประกอบไปด้วย รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น สนค. จึงได้วิเคราะห์สินค้าส่งออกที่เหลือ ซึ่งมีมูลค่า 102,696.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,538,596.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.1 ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งนับว่ามีมูลค่าและสัดส่วนการส่งออกที่ไม่น้อย โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการเติบโตและความต้องการของโลกภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 พบว่า &ldquo;สินค้าระดับรอง&rdquo; ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีความน่าสนใจ มีศักยภาพในการส่งออกเพื่อผลักดันให้มีมูลค่าส่งออกเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หมวดสินค้าเกษตร อาทิ สับปะรดสด ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง ลำไยแช่เย็นจนแข็ง ข้าวโพดอ่อนสดหรือแช่เย็น เห็ดสดหรือแช่เย็น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไข่ไก่สด ธัญพืช ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร อาทิ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ สิ่งปรุงรสอาหาร นมและผลิตภัณฑ์นม และไอศกรีม สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม&nbsp;</p>

<p>นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สนค. อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อระบุ &ldquo;สินค้าที่จะมาเป็นพระรอง&rdquo; และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการผลักดันเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือ เพื่อร่วมกันหาแนวทางและกลยุทธ์ผลักดันการส่งออก &ldquo;สินค้าระดับรอง&rdquo; ของไทย รวมไปถึงการวิเคราะห์หาตลาดใหม่ ๆ เพื่อเร่งขยับตัวเลขส่งออก ตามนโยบาย &ldquo;ขยายตลาดเดิม เสริมตลาดใหม่&rdquo; ของรัฐบาล และเพื่อให้การส่งออกยังสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

สนค. วิเคราะห์สินค้าส่งออกระดับรอง เพื่อชี้เป้าสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตแต่มูลค่ายังน้อย เพื่อตอบสนองนโยบายการดูแลสินค้าแบบเท่าเทียมและผลักดันสู่การส่งออกมากขึ้น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้รับมอบหมายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลักดันการส่งออก “สินค้าระดับรอง” ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

จากข้อมูลการส่งออกสินค้าของไทยพบว่า การส่งออกสินค้าในแต่ละหมวด มีการกระจุกตัวอยู่ที่ “สินค้าหลัก” มาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งในปัจจุบัน สินค้ากลุ่มดังกล่าวต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นและการเติบโตที่ลดลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยยังไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพเท่าที่ควร นอกจากกลยุทธ์การเปิดตลาดใหม่และเพิ่มส่วนแบ่งจากตลาดเดิมแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันสินค้าตัวเด่นระดับรอง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพ มีการเติบโตได้ดี และมีความต้องการจากตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีมูลค่าการส่งออกน้อย

ข้อมูลการส่งออกในปี 2566 เผยให้เห็นว่า สินค้าส่งออก 20 อันดับแรกของไทย ค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้ากลุ่มเดิม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “สินค้าหลัก” ที่เป็น “พระเอก” ในการส่งออกของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกมากถึง 181,864.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 6,270,411.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.9 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยประกอบไปด้วย รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น สนค. จึงได้วิเคราะห์สินค้าส่งออกที่เหลือ ซึ่งมีมูลค่า 102,696.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,538,596.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.1 ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งนับว่ามีมูลค่าและสัดส่วนการส่งออกที่ไม่น้อย โดยวิเคราะห์จากแนวโน้มการเติบโตและความต้องการของโลกภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 พบว่า “สินค้าระดับรอง” ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีความน่าสนใจ มีศักยภาพในการส่งออกเพื่อผลักดันให้มีมูลค่าส่งออกเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หมวดสินค้าเกษตร อาทิ สับปะรดสด ทุเรียนแช่เย็นจนแข็ง ลำไยแช่เย็นจนแข็ง ข้าวโพดอ่อนสดหรือแช่เย็น เห็ดสดหรือแช่เย็น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ไข่ไก่สด ธัญพืช ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร อาทิ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ สิ่งปรุงรสอาหาร นมและผลิตภัณฑ์นม และไอศกรีม สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิดเครื่องยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม 

นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สนค. อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อระบุ “สินค้าที่จะมาเป็นพระรอง” และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการผลักดันเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึงภาคเอกชนและผู้ประกอบการ จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือ เพื่อร่วมกันหาแนวทางและกลยุทธ์ผลักดันการส่งออก “สินค้าระดับรอง” ของไทย รวมไปถึงการวิเคราะห์หาตลาดใหม่ ๆ เพื่อเร่งขยับตัวเลขส่งออก ตามนโยบาย “ขยายตลาดเดิม เสริมตลาดใหม่” ของรัฐบาล และเพื่อให้การส่งออกยังสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567