RSPO มาตรฐานปาล์มยั่งยืน ทางเลือกเพื่อเพิ่มมูลค่า และทางรอดสู่ความยั่งยืน

RSPO มาตรฐานปาล์มยั่งยืน ทางเลือกเพื่อเพิ่มมูลค่า และทางรอดสู่ความยั่งยืน

avatar

Administrator


568


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/RSPO มาตรฐานปาล์มยั่งยืน ทางเลือกเพื่อเพิ่มมูลค่า และทางรอดสู่ความยั่งยืน.pdf" target="_blank">RSPO มาตรฐานปาล์มยั่งยืน ทางเลือกเพื่อเพิ่มมูลค่า และทางรอดสู่ความยั่งยืน.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระทรวงพาณิชย์ โดยนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่าปัจจุบันท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง ผู้บริโภคทั่วโลกต่างตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับสินค้าที่ผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น การปรับตัวสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เป็นต้น จึงมีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยไทยมีผลผลิตปาล์มน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ของโลก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 4.49 ของผลผลิตปาล์มโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60.49 และ 21.79 ตามลำดับ ไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 6 ล้านไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มกว่า 4 แสนครัวเรือน ข้อมูลปี 2566 พบว่า ผลผลิตปาล์มน้ำมันของไทยมีจำนวน 18.27 ล้านตัน และสามารถผลิตเป็นน้ำมันปาล์มได้ 3.33 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์ม แบ่งเป็น <strong>การใช้ในประเทศ</strong> เพื่อการบริโภคและใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ <strong>ร้อยละ 67.56</strong> สำหรับ<strong>ส่งออก ร้อยละ 24.64</strong> ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 86.78) เมียนมา (ร้อยละ 9.24) เคนยา (ร้อยละ 2.05) และจีน (ร้อยละ 0.70) ตามลำดับ <strong>และเป็นสต็อกในประเทศ ร้อยละ 7.80</strong> &nbsp;ซึ่งการผลิตน้ำมันปาล์มแบบดั้งเดิม มักเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มลพิษทางอากาศ และปัญหาทางสังคม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้น ผู้ประกอบการและเกษตรกร<br />
ผู้ปลูกปาล์ม จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ได้ตามมาตรฐานสากล</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO</strong> เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ปัจจุบันได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากที่สุด เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตและการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ผ่านมาตรฐานสากลที่น่าเชื่อถือ สอดรับกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) เน้นความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดย RSPO ได้กำหนดหลักการ 8 ข้อ เพื่อเป็นกรอบการผลิตปาล์มที่ยั่งยืน ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใส 2) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ 3) ความมุ่งมั่นในการทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาว 4) วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 5) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 6) ความรับผิดชอบต่อพนักงาน บุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 7) การพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ และ 8) ความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกิจกรรมหลักอย่างต่อเนื่อง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยมาตรฐาน RSPO จะมีบทบาทเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกฎเกณฑ์การค้าโลกที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น สหภาพยุโรป (EU) กำหนดกฎระเบียบสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation Regulation: EUDR) ที่ครอบคลุมสินค้าปาล์มน้ำมัน กำหนดให้ผลผลิตของสินค้าต้องไม่มาจากการบุกรุกพื้นที่ป่า และมีกระบวนการผลิตที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มาตรฐาน RSPO ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน เช่น มาเลเซีย</strong> รับซื้อผลผลิตที่มีมาตรฐาน RSPO&nbsp;ในราคาที่สูง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรายย่อยในการขอรับการรับรอง RSPO เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้ที่สูงขึ้น โดยมีบริษัทน้ำมันปาล์มรายใหญ่สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>อินโดนีเซีย</strong> ประสบความสำเร็จในการขายน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรอง RSPO ให้กับผู้ซื้อจากต่างประเทศผ่านทางแพลตฟอร์มการซื้อขาย PalmTrace ของ RSPO ส่งผลให้สมาคมเกษตรกรมีรายได้รวมกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ&nbsp;ในระยะเวลา 3 ปี (2563 -2565)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>มาตรฐาน RSPO ในกลุ่มประเทศผู้บริโภค เช่น ในยุโรป</strong> เป็นผู้นำระดับโลกในการผลักดันการบริโภคน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ปี 2021 ยุโรปเป็นกลุ่มผู้บริโภคปาล์มยั่งยืนรายใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นร้อยละ 45 ของการบริโภคน้ำมันปาล์มยั่งยืนทั่วโลก <strong>ญี่ปุ่น</strong> ก่อตั้งเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนญี่ปุ่น (Japan Sustainable Palm Oil Network: JaSPON) ในเดือนเมษายน 2562 เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อและการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในตลาดญี่ปุ่น มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในการผลิตน้ำมันปาล์มและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ประเทศไทย</strong> จากข้อมูลเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืน รายงานว่า เดือนมีนาคม 2567 ไทยมีสมาชิกผู้ปลูกปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO รวม 87 กลุ่ม ประกอบด้วย เกษตรกรรายย่อยอิสระ 83 กลุ่ม และรายใหญ่ (ที่มีสวนและโรงงาน) 4 กลุ่ม โดยสมาชิกได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO จำนวน 25 กลุ่ม 9,261 ราย พื้นที่ได้รับการรับรอง 326,718.75 ไร่ คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.12 ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย 246,902.44 ไร่ และบริษัทที่มีโรงสกัดน้ำมันปาล์ม 79,816.31 ไร่</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า มาตรฐาน RSPO เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย ที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากผู้ประกอบการมีความพร้อมในการตรวจสอบและยืนยันที่มาของผลิตภัณฑ์ ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การรวมกลุ่ม และด้านเงินทุน จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็จะเป็นโอกาสในการผลิตปาล์มที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในโลกปัจจุบัน รวมทั้งเป็นโอกาสในการรักษาความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และการขยายสู่ตลาดใหม่ ๆ ได้อีกด้วย</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          กระทรวงพาณิชย์ โดยนายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่าปัจจุบันท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง ผู้บริโภคทั่วโลกต่างตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับสินค้าที่ผลิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น การปรับตัวสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เป็นต้น จึงมีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

          ปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยไทยมีผลผลิตปาล์มน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ของโลก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 4.49 ของผลผลิตปาล์มโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60.49 และ 21.79 ตามลำดับ ไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 6 ล้านไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มกว่า 4 แสนครัวเรือน ข้อมูลปี 2566 พบว่า ผลผลิตปาล์มน้ำมันของไทยมีจำนวน 18.27 ล้านตัน และสามารถผลิตเป็นน้ำมันปาล์มได้ 3.33 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์ม แบ่งเป็น การใช้ในประเทศ เพื่อการบริโภคและใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ร้อยละ 67.56 สำหรับส่งออก ร้อยละ 24.64 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 86.78) เมียนมา (ร้อยละ 9.24) เคนยา (ร้อยละ 2.05) และจีน (ร้อยละ 0.70) ตามลำดับ และเป็นสต็อกในประเทศ ร้อยละ 7.80  ซึ่งการผลิตน้ำมันปาล์มแบบดั้งเดิม มักเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มลพิษทางอากาศ และปัญหาทางสังคม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของชุมชน ดังนั้น ผู้ประกอบการและเกษตรกร
ผู้ปลูกปาล์ม จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ได้ตามมาตรฐานสากล

          มาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนที่ปัจจุบันได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมากที่สุด เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตและการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่ผ่านมาตรฐานสากลที่น่าเชื่อถือ สอดรับกับแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) เน้นความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดย RSPO ได้กำหนดหลักการ 8 ข้อ เพื่อเป็นกรอบการผลิตปาล์มที่ยั่งยืน ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใส 2) การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ 3) ความมุ่งมั่นในการทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาว 4) วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดของผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 5) ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ 6) ความรับผิดชอบต่อพนักงาน บุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 7) การพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ และ 8) ความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกิจกรรมหลักอย่างต่อเนื่อง

          โดยมาตรฐาน RSPO จะมีบทบาทเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากกฎเกณฑ์การค้าโลกที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น สหภาพยุโรป (EU) กำหนดกฎระเบียบสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation Regulation: EUDR) ที่ครอบคลุมสินค้าปาล์มน้ำมัน กำหนดให้ผลผลิตของสินค้าต้องไม่มาจากการบุกรุกพื้นที่ป่า และมีกระบวนการผลิตที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น

          มาตรฐาน RSPO ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน เช่น มาเลเซีย รับซื้อผลผลิตที่มีมาตรฐาน RSPO ในราคาที่สูง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรายย่อยในการขอรับการรับรอง RSPO เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้ที่สูงขึ้น โดยมีบริษัทน้ำมันปาล์มรายใหญ่สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO

          อินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จในการขายน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรอง RSPO ให้กับผู้ซื้อจากต่างประเทศผ่านทางแพลตฟอร์มการซื้อขาย PalmTrace ของ RSPO ส่งผลให้สมาคมเกษตรกรมีรายได้รวมกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 3 ปี (2563 -2565) 

          มาตรฐาน RSPO ในกลุ่มประเทศผู้บริโภค เช่น ในยุโรป เป็นผู้นำระดับโลกในการผลักดันการบริโภคน้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ปี 2021 ยุโรปเป็นกลุ่มผู้บริโภคปาล์มยั่งยืนรายใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นร้อยละ 45 ของการบริโภคน้ำมันปาล์มยั่งยืนทั่วโลก ญี่ปุ่น ก่อตั้งเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืนญี่ปุ่น (Japan Sustainable Palm Oil Network: JaSPON) ในเดือนเมษายน 2562 เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อและการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในตลาดญี่ปุ่น มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในการผลิตน้ำมันปาล์มและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม 

          ประเทศไทย จากข้อมูลเครือข่ายปาล์มน้ำมันยั่งยืน รายงานว่า เดือนมีนาคม 2567 ไทยมีสมาชิกผู้ปลูกปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน RSPO รวม 87 กลุ่ม ประกอบด้วย เกษตรกรรายย่อยอิสระ 83 กลุ่ม และรายใหญ่ (ที่มีสวนและโรงงาน) 4 กลุ่ม โดยสมาชิกได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO จำนวน 25 กลุ่ม 9,261 ราย พื้นที่ได้รับการรับรอง 326,718.75 ไร่ คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.12 ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย 246,902.44 ไร่ และบริษัทที่มีโรงสกัดน้ำมันปาล์ม 79,816.31 ไร่

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า มาตรฐาน RSPO เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทย ที่มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากผู้ประกอบการมีความพร้อมในการตรวจสอบและยืนยันที่มาของผลิตภัณฑ์ ผ่านการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การรวมกลุ่ม และด้านเงินทุน จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็จะเป็นโอกาสในการผลิตปาล์มที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในโลกปัจจุบัน รวมทั้งเป็นโอกาสในการรักษาความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด และการขยายสู่ตลาดใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อวันที่ 03 กรกฎาคม 2567