จับตา! เทรนด์ความมั่นคงทางอาหารของโลก เปลี่ยนโฉมการค้าสินค้าเกษตร

จับตา! เทรนด์ความมั่นคงทางอาหารของโลก เปลี่ยนโฉมการค้าสินค้าเกษตร

avatar

Administrator


571


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/จับตา! เทรนด์ความมั่นคงทางอาหารของโลก เปลี่ยนโฉมการค้าสินค้าเกษตร.pdf" target="_blank">จับตา! เทรนด์ความมั่นคงทางอาหารของโลก เปลี่ยนโฉมการค้าสินค้าเกษตร.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การความมั่นคงทางอาหารของโลก พบว่าประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของไทย ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ล้วนมีมาตรการความมั่นคงทางอาหารในทิศทางเดียวกัน คือ การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ลดการนำเข้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร และสนับสนุนการจ้างงานในประเทศให้มากขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จีน ออกกฎหมายความมั่นคงด้านอาหาร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 กำหนดให้กระบวนการและขั้นตอนการผลิตอาหารต้องดำเนินการและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอุปทานธัญพืชภายในประเทศ ปกป้องความมั่นคงทางอาหาร และปกป้องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง และได้กำหนดแนวทางนโยบายการเกษตรและการพัฒนาชนบทประจำปี (Rural Revitalization) ซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน โดยมุ่งพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตธัญพืชในประเทศ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตที่ดีของประชาชน ลดความยากจน ลดความหิวโหย และภาวะขาดแคลนอาหารในทุกสถานการณ์ อาทิ การแพร่ระบาดของโรค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งต่าง ๆ และความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น โดยเร่งพัฒนาพื้นที่และลดความยากจน มุ่งเน้นสร้างความเท่าเทียมของประชากร สร้างงานโดยใช้ภาคเกษตรผลักดันเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับคนในชาติ ควบคู่กับเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น รวมทั้งใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และสร้างภาคเกษตรที่ยั่งยืน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ญี่ปุ่น มีนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้า และผลักดันให้มีการผลิตข้าวสาลี ถั่วเหลือง ธัญพืชอาหารสัตว์ หญ้าแห้ง และปุ๋ยภายในประเทศเพิ่มขึ้น มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง มีเป้าหมายเพิ่มการเพาะปลูกสินค้าเกษตร พืชเลี้ยงสัตว์ ปรับฐานราคาสินค้าเกษตรให้เหมาะสม และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของเด็ก และการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; มาเลเซีย มีนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนและยืดหยุ่นในภาคเกษตรกรรม ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มกำลังการผลิตอาหาร และให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในราคาจับต้องได้ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรเพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลักดันการส่งออก ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีมาตรการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อพิจารณาสถานการณ์การนำเข้าสินค้าธัญพืช (HS Code 10) ของโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงทางอาหาร พบว่า ในปี 2566 โลกนำเข้าธัญพืช 176,156.7 ล้านเหรียญสหรัฐ<sup>1</sup>&nbsp;(ลดลงร้อยละ 13.4 จากปีก่อนหน้า) สินค้าธัญพืชที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ข้าวสาลีและเมสลิน มีสัดส่วนร้อยละ 37.1 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของโลก (2) ข้าวโพด มีสัดส่วนร้อยละ 34.7 (3) ข้าว มีสัดส่วนร้อยละ 18.8 (4) ข้าวบาร์เลย์ มีสัดส่วนร้อยละ 6.5 และ (5) ข้าวฟ่าง มีสัดส่วนร้อยละ 1.3 ตามลำดับ&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประเทศผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ของไทยมีการนำเข้าสินค้าธัญพืช ดังนี้&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (1) <u>จีน</u> มีการนำเข้าธัญพืช 20,544.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปีก่อนหน้า) โดยจีนมีมูลค่าการนำเข้าธัญพืชสูงสุดอันดับหนึ่งของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 11.7 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่จีนนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าวบาร์เลย์) โดยจีนนำเข้าจากบราซิลมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 19.7 และ 18.5 ตามลำดับ และนำเข้าจากไทยเพียง 298.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของจีน&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (2) <u>สหรัฐอเมริกา</u> มีการนำเข้าธัญพืช 3,588.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า) โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 14 ของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 2 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่สหรัฐฯ นำเข้ามาก ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าวโอ๊ต) โดยสหรัฐฯ นำเข้าจากแคนาดามากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 47.9 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับสอง มีมูลค่า 733.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของสหรัฐฯ<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (3) <u>ญี่ปุ่น</u> มีการนำเข้าธัญพืช 8,149.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 16 จากปีก่อนหน้า) โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และเม็กซิโก มีสัดส่วนร้อยละ 4.6 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าว) โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ มากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 43.2 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของญี่ปุ่น และนำเข้าจากไทย 199.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของญี่ปุ่น&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (4) <u>มาเลเซีย</u> มีการนำเข้าธัญพืช 2,529.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปีก่อนหน้า) โดยมาเลเซียเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 20 ของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 1.4 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่มาเลเซียนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว และข้าวสาลีและเมสลิน) โดยมาเลเซียนำเข้าธัญพืชจากอาร์เจนตินามากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของมาเลเซีย และนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของมาเลเซีย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อพิจารณาการส่งออกข้าว<sup>2</sup>&nbsp;ซึ่งเป็นสินค้าธัญพืชส่งออกที่สำคัญของไทย ในปี 2566 ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก<sup>3</sup>&nbsp;รองจากอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 5,144.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.33 จากปีก่อนหน้า ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ อิรัก และจีน มีสัดส่วนร้อยละ 14.2 12.3 8.9 8.2 และ 6.0 ของมูลค่าการส่งออกข้าวของไทย ตามลำดับ โดยไทยส่งออกข้าวไป 5 ประเทศดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของการส่งออกข้าวไทยไปตลาดโลก สำหรับในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม &ndash; พฤษภาคม) ของปี 2567 ไทยส่งออกข้าวเป็นมูลค่า 2,659.53 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปริมาณ 4.06 ล้านตัน) ขยายตัวร้อยละ 39.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &ldquo;ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยต่างให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น สนับสนุนเกษตรกรในประเทศ และลดการนำเข้า โดยธัญพืชเป็นสินค้าสำคัญสำหรับความมั่นคงทางอาหาร ปัจจุบันการส่งออกธัญพืชของไทยในภาพรวมยังเติบโตดี อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างใกล้ชิด รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ไทยสามารถปรับกลยุทธ์ทั้งด้านการผลิตและการค้าให้สอดคล้องสถานการณ์ของโลก ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติที่ดีของประเทศต่าง ๆ ในการกำหนดนโยบายและมาตรการด้านความมั่นคงทางอาหารมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยกำหนดแผนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพของคนไทย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป&rdquo; นายพูนพงษ์กล่าว</p>

<p>&nbsp;</p>

<hr />
<p><sup>1</sup> ข้อมูลจาก www.trademap.org<br />
<sup>2 </sup>ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร<br />
<sup>3</sup> ข้อมูลจาก www.trademap.org</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การความมั่นคงทางอาหารของโลก พบว่าประเทศที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารรายสำคัญของไทย ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ล้วนมีมาตรการความมั่นคงทางอาหารในทิศทางเดียวกัน คือ การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ลดการนำเข้า ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร และสนับสนุนการจ้างงานในประเทศให้มากขึ้น 

          จีน ออกกฎหมายความมั่นคงด้านอาหาร มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 กำหนดให้กระบวนการและขั้นตอนการผลิตอาหารต้องดำเนินการและพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอุปทานธัญพืชภายในประเทศ ปกป้องความมั่นคงทางอาหาร และปกป้องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง และได้กำหนดแนวทางนโยบายการเกษตรและการพัฒนาชนบทประจำปี (Rural Revitalization) ซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน โดยมุ่งพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตธัญพืชในประเทศ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ 

          สหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตที่ดีของประชาชน ลดความยากจน ลดความหิวโหย และภาวะขาดแคลนอาหารในทุกสถานการณ์ อาทิ การแพร่ระบาดของโรค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความขัดแย้งต่าง ๆ และความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น โดยเร่งพัฒนาพื้นที่และลดความยากจน มุ่งเน้นสร้างความเท่าเทียมของประชากร สร้างงานโดยใช้ภาคเกษตรผลักดันเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับคนในชาติ ควบคู่กับเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น รวมทั้งใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และสร้างภาคเกษตรที่ยั่งยืน

          ญี่ปุ่น มีนโยบายเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้า และผลักดันให้มีการผลิตข้าวสาลี ถั่วเหลือง ธัญพืชอาหารสัตว์ หญ้าแห้ง และปุ๋ยภายในประเทศเพิ่มขึ้น มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง มีเป้าหมายเพิ่มการเพาะปลูกสินค้าเกษตร พืชเลี้ยงสัตว์ ปรับฐานราคาสินค้าเกษตรให้เหมาะสม และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของเด็ก และการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 

          มาเลเซีย มีนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนและยืดหยุ่นในภาคเกษตรกรรม ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มกำลังการผลิตอาหาร และให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในราคาจับต้องได้ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรเพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและผลักดันการส่งออก ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีมาตรการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร

          เมื่อพิจารณาสถานการณ์การนำเข้าสินค้าธัญพืช (HS Code 10) ของโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงทางอาหาร พบว่า ในปี 2566 โลกนำเข้าธัญพืช 176,156.7 ล้านเหรียญสหรัฐ1 (ลดลงร้อยละ 13.4 จากปีก่อนหน้า) สินค้าธัญพืชที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ (1) ข้าวสาลีและเมสลิน มีสัดส่วนร้อยละ 37.1 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของโลก (2) ข้าวโพด มีสัดส่วนร้อยละ 34.7 (3) ข้าว มีสัดส่วนร้อยละ 18.8 (4) ข้าวบาร์เลย์ มีสัดส่วนร้อยละ 6.5 และ (5) ข้าวฟ่าง มีสัดส่วนร้อยละ 1.3 ตามลำดับ 

          ประเทศผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ของไทยมีการนำเข้าสินค้าธัญพืช ดังนี้ 
                (1) จีน มีการนำเข้าธัญพืช 20,544.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปีก่อนหน้า) โดยจีนมีมูลค่าการนำเข้าธัญพืชสูงสุดอันดับหนึ่งของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 11.7 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่จีนนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าวบาร์เลย์) โดยจีนนำเข้าจากบราซิลมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ 19.7 และ 18.5 ตามลำดับ และนำเข้าจากไทยเพียง 298.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของจีน 
                (2) สหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าธัญพืช 3,588.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อนหน้า) โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 14 ของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 2 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่สหรัฐฯ นำเข้ามาก ได้แก่ ข้าว ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าวโอ๊ต) โดยสหรัฐฯ นำเข้าจากแคนาดามากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 47.9 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทยเป็นอันดับสอง มีมูลค่า 733.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของสหรัฐฯ
                (3) ญี่ปุ่น มีการนำเข้าธัญพืช 8,149.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 16 จากปีก่อนหน้า) โดยญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 3 ของโลก รองจากจีน และเม็กซิโก มีสัดส่วนร้อยละ 4.6 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลีและเมสลิน และข้าว) โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ มากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 43.2 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของญี่ปุ่น และนำเข้าจากไทย 199.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของญี่ปุ่น 
                (4) มาเลเซีย มีการนำเข้าธัญพืช 2,529.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากปีก่อนหน้า) โดยมาเลเซียเป็นผู้นำเข้าธัญพืชอันดับ 20 ของโลก มีสัดส่วนร้อยละ 1.4 ของการนำเข้าธัญพืชของโลก (ธัญพืชที่มาเลเซียนำเข้ามาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว และข้าวสาลีและเมสลิน) โดยมาเลเซียนำเข้าธัญพืชจากอาร์เจนตินามากที่สุด มีสัดส่วนร้อยละ 29.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของมาเลเซีย และนำเข้าจากไทยเป็นมูลค่า 212.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.4 ของมูลค่าการนำเข้าธัญพืชของมาเลเซีย

          เมื่อพิจารณาการส่งออกข้าว2 ซึ่งเป็นสินค้าธัญพืชส่งออกที่สำคัญของไทย ในปี 2566 ไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก3 รองจากอินเดีย มีมูลค่าการส่งออก 5,144.44 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.33 จากปีก่อนหน้า ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ อิรัก และจีน มีสัดส่วนร้อยละ 14.2 12.3 8.9 8.2 และ 6.0 ของมูลค่าการส่งออกข้าวของไทย ตามลำดับ โดยไทยส่งออกข้าวไป 5 ประเทศดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของการส่งออกข้าวไทยไปตลาดโลก สำหรับในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม – พฤษภาคม) ของปี 2567 ไทยส่งออกข้าวเป็นมูลค่า 2,659.53 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปริมาณ 4.06 ล้านตัน) ขยายตัวร้อยละ 39.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 

          “ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยต่างให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น สนับสนุนเกษตรกรในประเทศ และลดการนำเข้า โดยธัญพืชเป็นสินค้าสำคัญสำหรับความมั่นคงทางอาหาร ปัจจุบันการส่งออกธัญพืชของไทยในภาพรวมยังเติบโตดี อย่างไรก็ตาม จะต้องติดตามสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างใกล้ชิด รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้ไทยสามารถปรับกลยุทธ์ทั้งด้านการผลิตและการค้าให้สอดคล้องสถานการณ์ของโลก ตลอดจนนำแนวทางการปฏิบัติที่ดีของประเทศต่าง ๆ ในการกำหนดนโยบายและมาตรการด้านความมั่นคงทางอาหารมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยกำหนดแผนพัฒนาระบบเกษตรและอาหารให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพของคนไทย ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป” นายพูนพงษ์กล่าว

 


1 ข้อมูลจาก www.trademap.org
2 ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
3 ข้อมูลจาก www.trademap.org

เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2567