แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2567

แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2567

avatar

Administrator


1379


<p style="text-align:center"><strong>ดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2567</strong></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า <strong>ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมิถุนายน 2567 เท่ากับ 108.50 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2566</strong> ซึ่งเท่ากับ 107.83 <strong>ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ 0.62 (YoY)</strong> โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก ผลกระทบจากฐานต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าในเดือนก่อนหน้าสิ้นสุดลง ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดสูงขึ้นในอัตราชะลอตัว เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกหลังจากสิ้นสุดช่วงสภาพอากาศร้อนจัด สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ</strong> ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้นร้อยละ 1.54 (YoY) เร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำอันดับ 23 จาก 126 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (บรูไน สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย)&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นร้อยละ 0.62 (YoY) ในเดือนนี้</strong> มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.48</strong> จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) กลุ่มอาหารสด อาทิ ไข่ไก่ ผลไม้สด (มะม่วง ทุเรียน กล้วยน้ำว้า แตงโม กล้วยหอม องุ่น สับปะรด) และผักสด (มะเขือเทศ ขิง ฟักทอง พริกสด ต้นหอม บวบ ผักบุ้ง มะเขือ ผักชี) กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน กาแฟ (ร้อน/เย็น)) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป น้ำพริกแกง) ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร มะนาว ปลาทู น้ำมันพืช ไก่ย่าง ส้มเขียวหวาน หัวหอมแดง และกระเทียม เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.71</strong> จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน) กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรีและบุรุษ กระดาษชำระ) และกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (สุรา เบียร์) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (น้ำยาซักแห้ง) เสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>เงินเฟ้อพื้นฐาน </strong>(เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) <strong>สูงขึ้นร้อยละ 0.36 (YoY)</strong> ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.39 (YoY)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 ลดลงร้อยละ 0.31 (MoM) ตามการลดลงของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.67</strong> ปรับลดลงตามราคาผักสด (มะเขือ ถั่วฝักยาว มะนาว แตงกวา ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง ผักกาดขาว) เนื้อสุกร ปลาทู น้ำมันพืช และอาหารโทรสั่ง (Delivery) ขณะที่ ไข่ไก่ ทุเรียน มะม่วง และไก่ย่าง ราคาปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา <strong>และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.07</strong> จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน) และของใช้ส่วนบุคคลบางรายการ (แชมพู สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับสูงขึ้น อาทิ น้ำมันดีเซล ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และค่าแต่งผมสตรีและบุรุษ เป็นต้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่ามีแนวโน้มอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดยปัจจัยที่ยังทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ</strong> ได้แก่ (1) ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า ตามมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ (2) สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อภาคการเกษตรมากขึ้น หลังจากสิ้นสุดช่วงอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าภาคการเกษตรปรับเข้าสู่ระดับปกติ และ (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกรายใหญ่ รวมทั้งการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ตามสภาวะที่มีการแข่งขันสูง <strong>ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น</strong> ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) ความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้ <strong>กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 &ndash; 1.0</strong> (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2567 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)</strong> สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 44.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 57.9 สาเหตุที่ดัชนียังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นคาดว่ามาจาก&nbsp;(1) สถานการณ์ภายนอกประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ชะลอตัว (2) ความเข้มงวดของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อจากปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และ (3) ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพและราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม มาตรการของภาครัฐต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น</p>

<p style="text-align:center"><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705153049-1.png" /></p>

<p>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า&nbsp;<br />
กระทรวงพาณิชย์<br />
5 กรกฎาคม 2567</p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705151903-2.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705151919-3.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705152025-6.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705151938-4.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705151951-5.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705152119-7.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705152129-8.jpeg" /></p>

<p><img src="https://uploads.tpso.go.th/image-20240705152139-9.jpeg" /></p>

ดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2567

                    นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมิถุนายน 2567 เท่ากับ 108.50 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.83 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ 0.62 (YoY) โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก ผลกระทบจากฐานต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าในเดือนก่อนหน้าสิ้นสุดลง ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดสูงขึ้นในอัตราชะลอตัว เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกหลังจากสิ้นสุดช่วงสภาพอากาศร้อนจัด สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก 

                    อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้นร้อยละ 1.54 (YoY) เร่งตัวขึ้นจากปัจจัยชั่วคราว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำอันดับ 23 จาก 126 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (บรูไน สปป.ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย) 

                    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นร้อยละ 0.62 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                    หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.48 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) กลุ่มอาหารสด อาทิ ไข่ไก่ ผลไม้สด (มะม่วง ทุเรียน กล้วยน้ำว้า แตงโม กล้วยหอม องุ่น สับปะรด) และผักสด (มะเขือเทศ ขิง ฟักทอง พริกสด ต้นหอม บวบ ผักบุ้ง มะเขือ ผักชี) กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน กาแฟ (ร้อน/เย็น)) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาลทราย กะทิสำเร็จรูป น้ำพริกแกง) ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร มะนาว ปลาทู น้ำมันพืช ไก่ย่าง ส้มเขียวหวาน หัวหอมแดง และกระเทียม เป็นต้น

                    หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.71 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน) กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรีและบุรุษ กระดาษชำระ) และกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (สุรา เบียร์) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (น้ำยาซักแห้ง) เสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี เป็นต้น

                    เงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.36 (YoY) ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.39 (YoY)

                    ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 ลดลงร้อยละ 0.31 (MoM) ตามการลดลงของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.67 ปรับลดลงตามราคาผักสด (มะเขือ ถั่วฝักยาว มะนาว แตงกวา ผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง ผักกาดขาว) เนื้อสุกร ปลาทู น้ำมันพืช และอาหารโทรสั่ง (Delivery) ขณะที่ ไข่ไก่ ทุเรียน มะม่วง และไก่ย่าง ราคาปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.07 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน) และของใช้ส่วนบุคคลบางรายการ (แชมพู สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาปรับสูงขึ้น อาทิ น้ำมันดีเซล ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว และค่าแต่งผมสตรีและบุรุษ เป็นต้น

                    แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 3 ปี 2567 คาดว่ามีแนวโน้มอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 โดยปัจจัยที่ยังทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ (1) ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า ตามมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ (2) สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อภาคการเกษตรมากขึ้น หลังจากสิ้นสุดช่วงอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ปริมาณผลผลิตและราคาสินค้าภาคการเกษตรปรับเข้าสู่ระดับปกติ และ (3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกรายใหญ่ รวมทั้งการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ตามสภาวะที่มีการแข่งขันสูง ขณะที่ปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) ความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้น 

                    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0 – 1.0 (ค่ากลางร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

                    ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนมิถุนายน 2567 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565) สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 44.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จากระดับ 57.9 สาเหตุที่ดัชนียังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นคาดว่ามาจาก (1) สถานการณ์ภายนอกประเทศส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยให้ชะลอตัว (2) ความเข้มงวดของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อจากปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และ (3) ความกังวลต่อภาระค่าครองชีพและราคาพลังงาน อย่างไรก็ตาม มาตรการของภาครัฐต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 
กระทรวงพาณิชย์
5 กรกฎาคม 2567

เผยแพร่เมื่อวันที่ 05 กรกฎาคม 2567