สนค. - มจธ. ร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์

สนค. - มจธ. ร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์

avatar

Administrator


325


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. - มจธ. ร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์.pdf" target="_blank">สนค. - มจธ. ร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์.pdf</a></p>

<p><strong>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์</strong> กล่าวภายหลังเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นแนวทางพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์ว่า สนค. ตระหนักถึงบทบาทของธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อศึกษาภาพรวมด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มการเติบโต ศักยภาพ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศต้นแบบที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาบริการโลจิสติกส์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ช่วยยกระดับการดำเนินกิจการ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และต่อยอดการส่งออกบริการได้ในอนาคต</p>

<p>ซึ่งจากสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนนิติบุคคลรวม 43,378 ราย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีการเปิดกิจการใหม่ รวม 1,555 ราย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการโลจิสติกส์ยังเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนโลจิกสติกส์ของไทยยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยในปี 2565 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีมูลค่ารวม 2.382 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.7 ต่อ GDP และคาดการณ์ว่า ในปี 2566 สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 13.3 - 13.8 ต่อ GDP รวมทั้งจากการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของ World Bank ในปี 2566 ไทยอยู่อันดับที่ 34 จาก 139 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ไทยยังมีช่องว่างในการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ และจำเป็นต้องมีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ให้เข้มแข็งและแข่งขันได้</p>

<p>ในการประชุมครั้งนี้ <strong>ผศ. ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล</strong> ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลโครงการและดำเนินรายการในช่วงเสวนา โดยได้รับเกียรติจาก <strong>นายสุรรัฐ เนียมกลาง</strong> รักษาการที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ <strong>ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธเนศ โสรัตน์</strong> กรรมการและเลขาธิการ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และรองประธานกรรมการในเครือบริษัท วี-เซิร์ฟ กรุ๊ป และ <strong>ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์</strong> นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย และผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท วีมูฟ แพลตฟอร์ม จํากัด ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสวนาหัวข้อ &quot;ความก้าวหน้าและความสำคัญของนวัตกรรมในธุรกิจโลจิสติกส์&quot; ก่อนจะเข้าสู่ช่วงระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้ที่สนใจ</p>

<p><strong>นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์</strong> กล่าวทิ้งท้ายว่า การประชุมระดมความเห็นในครั้งนี้ ข้อมูล ความเห็น ประเด็นท้าทาย และโอกาสที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการประชุมจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ โดย สนค. และมจธ. จะนำความเห็นที่ได้มาผนวกกับผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และจัดงานสัมมนาเผยแพร่แก่ทุกภาคส่วนต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นแนวทางพัฒนานวัตกรรมธุรกิจโลจิสติกส์ว่า สนค. ตระหนักถึงบทบาทของธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อศึกษาภาพรวมด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มการเติบโต ศักยภาพ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศต้นแบบที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาบริการโลจิสติกส์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ช่วยยกระดับการดำเนินกิจการ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และต่อยอดการส่งออกบริการได้ในอนาคต

ซึ่งจากสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจุบัน มีจำนวนนิติบุคคลรวม 43,378 ราย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีการเปิดกิจการใหม่ รวม 1,555 ราย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการโลจิสติกส์ยังเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนโลจิกสติกส์ของไทยยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยในปี 2565 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีมูลค่ารวม 2.382 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.7 ต่อ GDP และคาดการณ์ว่า ในปี 2566 สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 13.3 - 13.8 ต่อ GDP รวมทั้งจากการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของ World Bank ในปี 2566 ไทยอยู่อันดับที่ 34 จาก 139 ประเทศทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ไทยยังมีช่องว่างในการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ และจำเป็นต้องมีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจบริการโลจิสติกส์ให้เข้มแข็งและแข่งขันได้

ในการประชุมครั้งนี้ ผศ. ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลโครงการและดำเนินรายการในช่วงเสวนา โดยได้รับเกียรติจาก นายสุรรัฐ เนียมกลาง รักษาการที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธเนศ โสรัตน์ กรรมการและเลขาธิการ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และรองประธานกรรมการในเครือบริษัท วี-เซิร์ฟ กรุ๊ป และ ดร.ปิยะนุช สัมฤทธิ์ นายกสมาคมขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ไทย และผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท วีมูฟ แพลตฟอร์ม จํากัด ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสวนาหัวข้อ "ความก้าวหน้าและความสำคัญของนวัตกรรมในธุรกิจโลจิสติกส์" ก่อนจะเข้าสู่ช่วงระดมความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้ที่สนใจ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การประชุมระดมความเห็นในครั้งนี้ ข้อมูล ความเห็น ประเด็นท้าทาย และโอกาสที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการประชุมจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ โดย สนค. และมจธ. จะนำความเห็นที่ได้มาผนวกกับผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และจัดงานสัมมนาเผยแพร่แก่ทุกภาคส่วนต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567