สนค. - สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมผลักดันการค้าอาหารแห่งอนาคต

สนค. - สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมผลักดันการค้าอาหารแห่งอนาคต

avatar

Administrator


627


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. - สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมผลักดันการค้าอาหารแห่งอนาคต.pdf" target="_blank">สนค. - สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ร่วมผลักดันการค้าอาหารแห่งอนาคต.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมหารือร่วมกับสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ว่าอาหารแห่งอนาคตเป็นสินค้าดาวรุ่งที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าขั้นพื้นฐานของไทย รวมถึงจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 สนค. ให้การต้อนรับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และคณะกรรมการสมาคม ร่วมหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการผลักดันการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สมาคมการค้าอาหารแห่งอนาคตไทยได้ร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง สนค. ในการกำหนดคำนิยามอาหารแห่งอนาคตจัดกลุ่มสินค้า และวางเป้าหมายการส่งออกเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยได้กำหนดนิยามอาหารอนาคตไทย (Future Food) ว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ตอบสนองวิถีชีวิตของคนในโลกยุคใหม่ มีกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมตอบโจทย์ความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาใน 3 มิติ คือ สุขภาพและสังคม (Future Well-being) ความยั่งยืน (Sustainability) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งปัจจุบันแบ่งอาหารอนาคตออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) อาหารฟังก์ชัน (Functional food) และสารประกอบเชิงฟังก์ชัน (Functional ingredients) (2) อาหารทางการแพทย์ (Medical food) และอาหารเฉพาะบุคคล (Personalized food) (3) อาหารอินทรีย์ (Organic) และ (4) อาหารโปรตีนทางเลือก (Alternative protein)</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าอาหารแห่งอนาคต คิดเป็นมูลค่า 4,107.72 ล้านเหรียญสหรัฐ (142,958.80 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากปีก่อนหน้า</strong> เป็นสินค้าอาหารฟังก์ชันและสารประกอบเชิงฟังก์ชันมากที่สุด 3,684.50 ล้านเหรียญสหรัฐ (128,248.02 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 89.7 ของการส่งออกอาหารแห่งอนาคตทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล 183.73 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,391.96 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.5 โปรตีนทางเลือก 182.81 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,351.10 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.5 และอาหารอินทรีย์ 56.68 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,967.72 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 1.4 โดยมี<strong>ตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ</strong> (สัดส่วน 13.8%) <strong>เวียดนาม</strong> (10.7%) <strong>จีน</strong> (10.3%) <strong>เมียนมา</strong> (7.8%) และ<strong>กัมพูชา</strong> (7.5%) ตามลำดับ <strong>สำหรับ ปี 2567 (มกราคม &ndash; เมษายน) ไทยส่งออกสินค้าอาหารแห่งอนาคต มูลค่า 1,437.26 ล้านเหรียญสหรัฐ (51,674.74 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า</strong> โดยยังคงส่งออกอาหารฟังก์ชันและสารประกอบเชิงฟังก์ชันมากที่สุด 1,305.35 ล้านเหรียญสหรัฐ (46,935.06 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 90.8 อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล &nbsp;62.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,244.26 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.3 โปรตีนทางเลือก 56.67 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,035.61 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 3.9 และอาหารอินทรีย์ 12.79 ล้านเหรียญสหรัฐ (459.81 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 0.9</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สนค. ตระหนักถึงศักยภาพของสินค้าอาหารแห่งอนาคต ที่จะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร รวมถึงต่อยอดจุดแข็งของไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก โดยข้อมูลการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารแห่งอนาคตถือเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจใช้ในการตัดสินใจ กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของธุรกิจ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ในการกำหนดนโยบาย ขณะนี้ สนค. อยู่ระหว่างการจัดทำ &ldquo;แดชบอร์ดอาหารแห่งอนาคต&rdquo; โดยร่วมมือกับสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทยด้านการออกแบบและแสดงผลข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลการค้าเชิงลึกได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วน และทันต่อเทรนด์สินค้าศักยภาพใหม่ ๆ ของไทย สำหรับแดชบอร์ดดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ &ldquo;คิดค้า Briefing&rdquo; ที่จะเน้นให้ข้อมูลการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยแบบย่อย แต่เชิงลึก เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก ซึ่ง สนค. มีแผนจะเปิดตัว บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ภายในเร็วๆ นี้</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมหารือร่วมกับสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ว่าอาหารแห่งอนาคตเป็นสินค้าดาวรุ่งที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าขั้นพื้นฐานของไทย รวมถึงจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

          เมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 สนค. ให้การต้อนรับนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และคณะกรรมการสมาคม ร่วมหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการผลักดันการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สมาคมการค้าอาหารแห่งอนาคตไทยได้ร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง สนค. ในการกำหนดคำนิยามอาหารแห่งอนาคตจัดกลุ่มสินค้า และวางเป้าหมายการส่งออกเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยได้กำหนดนิยามอาหารอนาคตไทย (Future Food) ว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ตอบสนองวิถีชีวิตของคนในโลกยุคใหม่ มีกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมตอบโจทย์ความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาใน 3 มิติ คือ สุขภาพและสังคม (Future Well-being) ความยั่งยืน (Sustainability) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งปัจจุบันแบ่งอาหารอนาคตออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) อาหารฟังก์ชัน (Functional food) และสารประกอบเชิงฟังก์ชัน (Functional ingredients) (2) อาหารทางการแพทย์ (Medical food) และอาหารเฉพาะบุคคล (Personalized food) (3) อาหารอินทรีย์ (Organic) และ (4) อาหารโปรตีนทางเลือก (Alternative protein)

          ปี 2566 ไทยส่งออกสินค้าอาหารแห่งอนาคต คิดเป็นมูลค่า 4,107.72 ล้านเหรียญสหรัฐ (142,958.80 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากปีก่อนหน้า เป็นสินค้าอาหารฟังก์ชันและสารประกอบเชิงฟังก์ชันมากที่สุด 3,684.50 ล้านเหรียญสหรัฐ (128,248.02 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 89.7 ของการส่งออกอาหารแห่งอนาคตทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล 183.73 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,391.96 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.5 โปรตีนทางเลือก 182.81 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,351.10 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.5 และอาหารอินทรีย์ 56.68 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,967.72 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 1.4 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ (สัดส่วน 13.8%) เวียดนาม (10.7%) จีน (10.3%) เมียนมา (7.8%) และกัมพูชา (7.5%) ตามลำดับ สำหรับ ปี 2567 (มกราคม – เมษายน) ไทยส่งออกสินค้าอาหารแห่งอนาคต มูลค่า 1,437.26 ล้านเหรียญสหรัฐ (51,674.74 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยยังคงส่งออกอาหารฟังก์ชันและสารประกอบเชิงฟังก์ชันมากที่สุด 1,305.35 ล้านเหรียญสหรัฐ (46,935.06 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 90.8 อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล  62.45 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,244.26 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 4.3 โปรตีนทางเลือก 56.67 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,035.61 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 3.9 และอาหารอินทรีย์ 12.79 ล้านเหรียญสหรัฐ (459.81 ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละ 0.9

          นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สนค. ตระหนักถึงศักยภาพของสินค้าอาหารแห่งอนาคต ที่จะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร รวมถึงต่อยอดจุดแข็งของไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก โดยข้อมูลการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารแห่งอนาคตถือเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจใช้ในการตัดสินใจ กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของธุรกิจ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ในการกำหนดนโยบาย ขณะนี้ สนค. อยู่ระหว่างการจัดทำ “แดชบอร์ดอาหารแห่งอนาคต” โดยร่วมมือกับสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทยด้านการออกแบบและแสดงผลข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลการค้าเชิงลึกได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วน และทันต่อเทรนด์สินค้าศักยภาพใหม่ ๆ ของไทย สำหรับแดชบอร์ดดังกล่าวจะอยู่ภายใต้ “คิดค้า Briefing” ที่จะเน้นให้ข้อมูลการค้าสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยแบบย่อย แต่เชิงลึก เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก ซึ่ง สนค. มีแผนจะเปิดตัว บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ภายในเร็วๆ นี้

เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567