สนค. หนุนภาครัฐและเอกชนร่วมมือแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ รับมือปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต

สนค. หนุนภาครัฐและเอกชนร่วมมือแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ รับมือปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต

avatar

Administrator


424


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. หนุนภาครัฐและเอกชนร่วมมือแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ รับมือปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต.pdf" target="_blank">สนค. หนุนภาครัฐและเอกชนร่วมมือแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ รับมือปัญหาเศรษฐกิจในอนาคต.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า จากปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 พบว่า จำนวนประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 13,064,929 &nbsp;สัดส่วนร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด (ประชากรทั้งหมดของประเทศไทย 66,052,615 คน) และเป็นปีที่มีอัตราการเกิดของประชากรน้อยกว่าอัตราการตายต่อเนื่องเป็นปีที่สามนับจากปี 2564 สอดคล้องกับสถานการณ์ในหลายประเทศที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรช้าลงพร้อมกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัญหาของอัตราส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอาจไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างประชากรเท่านั้น แต่ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจาก (1) <u>ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน</u> ทำให้ประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าแรงงานในภาคการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแรงงานเหล่านี้มักส่งรายได้จากการทำงานกลับไปประเทศบ้านเกิดในสัดส่วนที่สูง ทำให้เงินค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (2) <u>ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการของประเทศเพิ่มขึ้น</u> โดยเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ รัฐบาลต้องแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งมารองรับสถานการณ์ดังกล่าว คาดว่าต้นทุนจากการขยายสวัสดิการและสิทธิสำหรับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (3) <u>ความน่าสนใจด้านการลงทุนของประเทศลดลง</u> เนื่องจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่รายได้ต่อหัวของประชากรที่ลดลง ทำให้ความน่าสนใจของไทยในฐานะตลาดขนาดใหญ่ของภูมิภาคในสายตาของนักลงทุนถูกลดระดับความสำคัญลง และ (4) <u>การสะสมทุนในประเทศลดลง</u> เนื่องจากผู้สูงอายุหรือแรงงานในวัยเกษียณมักมีรายได้ลดลง และแนวโน้มในการใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีการออมน้อย ภาวะการออมในประเทศที่ลดลง จะส่งผลต่อการสะสมทุน ทำให้การพัฒนาประเทศช้ากว่าที่ควร&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หากพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) <u>มาตรการด้านการให้เงินช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการดำรงชีพ</u> เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มาตรการให้เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (2) <u>มาตรการส่งเสริมการทำงาน หรือการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ</u> ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำเงินเดือนมาหักภาษีได้สองเท่า และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่รวมกลุ่มในการจัดกิจกรรมและบริการที่ครอบคลุมทุกมิติทางด้านสุขภาพ สังคม จิตใจ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างรายได้และการมีงานทําที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ และ (3) <u>มาตรการส่งเสริมการออม</u> หรือการจ่ายเงินสมทบเพื่อรองรับการเกษียณอายุ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ อาจยังไม่เพียงพอที่จะใช้รับมือกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุในอนาคต</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ฯ กล่าวต่อว่า ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน โดย (1) <u>ขยายเวลาเกษียณอายุโดยสมัครใจ</u> โดยเฉพาะในหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากร เพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาผู้สูงอายุขาดรายได้ในการดำรงชีพ ขณะที่ต้องมีการให้แรงจูงใจภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น (2) <u>เร่งปรับเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อผู้สูงอายุ</u> จาก <em>&ldquo;ภาระที่ต้องแบกรับ&rdquo;</em>&nbsp; ให้เป็น <em>&ldquo;สินทรัพย์มากประสบการณ์&rdquo;</em> โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการทำงานของผู้สูงอายุ (3) <u>บูรณาการภารกิจระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อสร้างระบบเพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพ</u> หาตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (4) <u>นำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาช่วยในการบริหารศูนย์ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ</u> โดยให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่ต้องการหารายได้เพิ่มเติมจากการรับจ้างทำงานประเภทต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้ทักษะที่มีความแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละคน ในขณะที่ผู้ที่ต้องการแรงงานสามารถกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นที่ต้องการ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่สามารถระบุทักษะที่มี พร้อมงานที่ต้องการได้ โดยแพลตฟอร์มมีหน้าที่จับคู่ความต้องการของทั้งสองฝ่าย (5) <u>ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ</u> สำหรับงานที่ไม่ต้องใช้กำลังกายมาก และ (6) <u>สร้างระบบนิเวศน์การจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบที่มีความยั่งยืน</u> มากกว่าการเน้นพัฒนาทักษะอย่างเดียวโดยไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ระบุว่า จากปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุด โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 พบว่า จำนวนประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 13,064,929  สัดส่วนร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด (ประชากรทั้งหมดของประเทศไทย 66,052,615 คน) และเป็นปีที่มีอัตราการเกิดของประชากรน้อยกว่าอัตราการตายต่อเนื่องเป็นปีที่สามนับจากปี 2564 สอดคล้องกับสถานการณ์ในหลายประเทศที่มีอัตราการเพิ่มของประชากรช้าลงพร้อมกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น 

          ปัญหาของอัตราส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอาจไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในเชิงสังคมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างประชากรเท่านั้น แต่ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ เนื่องจาก (1) ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้ประเทศไทยต้องอาศัยการนำเข้าแรงงานในภาคการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแรงงานเหล่านี้มักส่งรายได้จากการทำงานกลับไปประเทศบ้านเกิดในสัดส่วนที่สูง ทำให้เงินค่าจ้างในส่วนนี้ไม่ได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (2) ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขและสวัสดิการของประเทศเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ รัฐบาลต้องแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งมารองรับสถานการณ์ดังกล่าว คาดว่าต้นทุนจากการขยายสวัสดิการและสิทธิสำหรับผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (3) ความน่าสนใจด้านการลงทุนของประเทศลดลง เนื่องจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่รายได้ต่อหัวของประชากรที่ลดลง ทำให้ความน่าสนใจของไทยในฐานะตลาดขนาดใหญ่ของภูมิภาคในสายตาของนักลงทุนถูกลดระดับความสำคัญลง และ (4) การสะสมทุนในประเทศลดลง เนื่องจากผู้สูงอายุหรือแรงงานในวัยเกษียณมักมีรายได้ลดลง และแนวโน้มในการใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้มีการออมน้อย ภาวะการออมในประเทศที่ลดลง จะส่งผลต่อการสะสมทุน ทำให้การพัฒนาประเทศช้ากว่าที่ควร 

          หากพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) มาตรการด้านการให้เงินช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการดำรงชีพ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มาตรการให้เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย และสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (2) มาตรการส่งเสริมการทำงาน หรือการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำเงินเดือนมาหักภาษีได้สองเท่า และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่รวมกลุ่มในการจัดกิจกรรมและบริการที่ครอบคลุมทุกมิติทางด้านสุขภาพ สังคม จิตใจ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างรายได้และการมีงานทําที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ และ (3) มาตรการส่งเสริมการออม หรือการจ่ายเงินสมทบเพื่อรองรับการเกษียณอายุ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนการออมแห่งชาติ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ อาจยังไม่เพียงพอที่จะใช้รับมือกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

          นายพูนพงษ์ฯ กล่าวต่อว่า ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน โดย (1) ขยายเวลาเกษียณอายุโดยสมัครใจ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากร เพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาผู้สูงอายุขาดรายได้ในการดำรงชีพ ขณะที่ต้องมีการให้แรงจูงใจภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น (2) เร่งปรับเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อผู้สูงอายุ จาก “ภาระที่ต้องแบกรับ”  ให้เป็น “สินทรัพย์มากประสบการณ์” โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการทำงานของผู้สูงอายุ (3) บูรณาการภารกิจระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ เพื่อสร้างระบบเพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพ หาตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ (4) นำดิจิทัลแพลตฟอร์มมาช่วยในการบริหารศูนย์ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ โดยให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่ต้องการหารายได้เพิ่มเติมจากการรับจ้างทำงานประเภทต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุได้ใช้ทักษะที่มีความแตกต่างกันไปตามความถนัดของแต่ละคน ในขณะที่ผู้ที่ต้องการแรงงานสามารถกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นที่ต้องการ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุที่สามารถระบุทักษะที่มี พร้อมงานที่ต้องการได้ โดยแพลตฟอร์มมีหน้าที่จับคู่ความต้องการของทั้งสองฝ่าย (5) ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ สำหรับงานที่ไม่ต้องใช้กำลังกายมาก และ (6) สร้างระบบนิเวศน์การจ้างงานผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบที่มีความยั่งยืน มากกว่าการเน้นพัฒนาทักษะอย่างเดียวโดยไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน

เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567