พาณิชย์เผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ

พาณิชย์เผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ

avatar

Administrator


398


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ.pdf" target="_blank">พาณิชย์เผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ (The International Comparison Program : ICP) ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารโลก (World Bank) และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 176 เขตเศรษฐกิจ รวมประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ICP ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมี สนค. เป็นผู้แทนหลักของประเทศไทยในการประสานงานร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ซึ่งกำกับดูแลการดำเนินโครงการในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โครงการ ICP มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) เพื่อนำมาเป็นตัวแปรในการปรับข้อมูลให้สามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและระดับราคาของสินค้าและบริการระหว่างประเทศในหน่วยเดียวกันได้ โดยไม่คำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง กระบวนการในการจัดทำ PPP ประกอบด้วย 1) การคัดเลือกสินค้าที่เป็นตัวแทนระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 2) การจัดเก็บข้อมูลราคาสินค้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเช่าบ้าน อัตราค่าจ้างแรงงานฝีมือ และค่าตอบแทนภาครัฐ 3) การตรวจสอบข้อมูล 4) การจัดทำน้ำหนักโดยอ้างอิงจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) และ 5) การประมวลผลข้อมูลเพื่อจัดทำ PPP ของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะสะท้อนค่าครองชีพที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ทำให้สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจและวัดการเติบโตของแต่ละประเทศให้เป็นไปตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ธนาคารโลกได้เผยแพร่ผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการ ICP ในรอบปี พ.ศ. 2564 &ndash; 2566 โดยมีรายละเอียดสำคัญ &nbsp;ดังนี้&nbsp;<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; เปรียบเทียบภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ พบว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (PPP-Based Global GDP) รวมกันเกินร้อยละ 40 ได้แก่ จีน ร้อยละ 18.9 ตามด้วยสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 15.5 และอินเดีย ร้อยละ 7.2 ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และสูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน (อินโดนีเซีย ร้อยละ 2.3 เวียดนาม ร้อยละ 0.8 มาเลเซีย ร้อยละ 0.7 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 0.7 สิงคโปร์ ร้อยละ 0.5 กัมพูชา ร้อยละ 0.1 ลาว ร้อยละ 0.0 และบรูไน ร้อยละ 0.0)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมีส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 ในรอบปี พ.ศ. 2560 &ndash; 2563 มาอยู่ที่ร้อยละ 53 โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง อาทิ จีน รัสเซีย บราซิล เม็กซิโก มาเลเซีย และไทย (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 32.9) ร้อยละ 34.8 และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ อาทิ อินเดีย บังกลาเทศ อียิปต์ ปากีสถาน และเวียดนาม (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 42.3) ร้อยละ 17.9 ขณะที่กลุ่มประเทศรายได้สูงเพียงกลุ่มเดียว (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 16.4) สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกสูงถึงร้อยละ 46.3 และส่วนแบ่งของกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 8.4) อยู่ที่ร้อยละ 1.0<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกสูงที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกทั้งหมด โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค 2 อันดับแรก ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของภูมิภาคยุโรปและเอเชียกลาง อเมริกาเหนือ เอเชียใต้ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และแอฟริกาเขตใต้ทะเลทรายซาฮารา อยู่ที่ร้อยละ 25.6 16.9 9.3 7.3 4.8 และ 3.5 ตามลำดับ<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; 3 ใน 4 ของประชากรโลกมีความสามารถในการซื้อต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคส่วนบุคคลของโลก (Actual Individual Consumption (AIC) per Capita; หน่วย : เหรียญสหรัฐ ($)) ซึ่งอยู่ที่ $12,948 ต่อปี หรือหากเทียบเป็นดัชนีเท่ากับ 100 (AIC per Capita Index = 100) ประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก 3 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา ลักเซมเบิร์ก และเบอร์มิวดา โดยมีค่าการบริโภคส่วนบุคคลอยู่ที่ $52,654 (ดัชนี = 401) $47,419 (ดัชนี = 366) และ $44,806 (ดัชนี = 346) ตามลำดับ ส่วนค่าการบริโภคส่วนบุคคลของประเทศไทยอยู่ที่ $13,429 ต่อปี (ดัชนี = 104) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน (สิงคโปร์ $35,066 (ดัชนี = 271) บรูไน $23,492 (ดัชนี = 181) มาเลเซีย $21,122 (ดัชนี = 163) อินโดนีเซีย $7,642 (ดัชนี = 59) เวียดนาม $7,624 (ดัชนี = 59) ฟิลิปปินส์ $7,381 (ดัชนี = 57) ลาว $4,296 (ดัชนี = 33) และกัมพูชา $3,284 (ดัชนี = 25))<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว &nbsp;(GDP per Capita; หน่วย : เหรียญสหรัฐ ($)) พบว่า ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ ลักเซมเบิร์ก ($137,948) สิงคโปร์ ($131,864) และไอร์แลนด์ ($114,451) โดยค่าเฉลี่ย GDP per Capita ของโลกอยู่ที่ $20,271 ส่วนของประเทศไทยใกล้เคียงกับประเทศจีน คือ $20,838 และ $20,407 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน (บรูไน $80,203 มาเลเซีย $31,389 อินโดนีเซีย $12,948 เวียดนาม $12,090 ฟิลิปปินส์ $9,091 ลาว $8,315 และกัมพูชา $4,667)<br />
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &bull; เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจและวิเคราะห์รอบปี พ.ศ. 2560 &ndash; 2563 &nbsp;พบว่า จีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ยังคงเป็น 3 ประเทศแรกที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของประเทศไทยคงที่ที่ร้อยละ 1.0 และยังคงสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับรอบปีปัจจุบัน สำหรับ AIC per Capita สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก ขณะที่อันดับ 2 และ 3 มีการเปลี่ยนแปลงจากฮ่องกงและนอร์เวย์ มาเป็นลักเซมเบิร์กและเบอร์มิวดา ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 3 ขณะที่สิงคโปร์ยังครองอันดับ 1 บรูไนอันดับ 2 และมาเลเซียขยับจากอันดับ 2 ลงมาอยู่อันดับ 3 สำหรับ GDP per Capita มีการเปลี่ยนแปลง 3 อันดับแรก จาก กาตาร์ ไอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ มาเป็นลักเซมเบิร์ก สิงคโปร์ และไอร์แลนด์ ส่วนประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 2 รองจากมาเลเซีย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ.สนค. ชี้ว่า ในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ รอบปี พ.ศ. 2564 &ndash; 2566 ประเทศไทยมีค่าการบริโภคส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ซึ่งใกล้เคียงกับผลการสำรวจและวิเคราะห์รอบปี พ.ศ. 2560 &ndash; 2563 อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของอันดับต่าง ๆ ในการสำรวจครั้งนี้สะท้อนถึงความสามารถในการฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ICP นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำและพัฒนาข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจการค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายในการจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ (The International Comparison Program : ICP) ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารโลก (World Bank) และมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 176 เขตเศรษฐกิจ รวมประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ICP ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมี สนค. เป็นผู้แทนหลักของประเทศไทยในการประสานงานร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ซึ่งกำกับดูแลการดำเนินโครงการในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

          โครงการ ICP มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing Power Parity : PPP) เพื่อนำมาเป็นตัวแปรในการปรับข้อมูลให้สามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและระดับราคาของสินค้าและบริการระหว่างประเทศในหน่วยเดียวกันได้ โดยไม่คำนึงถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง กระบวนการในการจัดทำ PPP ประกอบด้วย 1) การคัดเลือกสินค้าที่เป็นตัวแทนระดับภูมิภาคและระดับประเทศ 2) การจัดเก็บข้อมูลราคาสินค้าและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเช่าบ้าน อัตราค่าจ้างแรงงานฝีมือ และค่าตอบแทนภาครัฐ 3) การตรวจสอบข้อมูล 4) การจัดทำน้ำหนักโดยอ้างอิงจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) และ 5) การประมวลผลข้อมูลเพื่อจัดทำ PPP ของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ซึ่งจะสะท้อนค่าครองชีพที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ทำให้สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจและวัดการเติบโตของแต่ละประเทศให้เป็นไปตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

          เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ธนาคารโลกได้เผยแพร่ผลการสำรวจและวิเคราะห์ของโครงการ ICP ในรอบปี พ.ศ. 2564 – 2566 โดยมีรายละเอียดสำคัญ  ดังนี้ 
          • เปรียบเทียบภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ พบว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ซึ่งสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก (PPP-Based Global GDP) รวมกันเกินร้อยละ 40 ได้แก่ จีน ร้อยละ 18.9 ตามด้วยสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 15.5 และอินเดีย ร้อยละ 7.2 ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 และสูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน (อินโดนีเซีย ร้อยละ 2.3 เวียดนาม ร้อยละ 0.8 มาเลเซีย ร้อยละ 0.7 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 0.7 สิงคโปร์ ร้อยละ 0.5 กัมพูชา ร้อยละ 0.1 ลาว ร้อยละ 0.0 และบรูไน ร้อยละ 0.0)
          • กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมีส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51 ในรอบปี พ.ศ. 2560 – 2563 มาอยู่ที่ร้อยละ 53 โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง อาทิ จีน รัสเซีย บราซิล เม็กซิโก มาเลเซีย และไทย (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 32.9) ร้อยละ 34.8 และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ อาทิ อินเดีย บังกลาเทศ อียิปต์ ปากีสถาน และเวียดนาม (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 42.3) ร้อยละ 17.9 ขณะที่กลุ่มประเทศรายได้สูงเพียงกลุ่มเดียว (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 16.4) สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกสูงถึงร้อยละ 46.3 และส่วนแบ่งของกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ (สัดส่วนประชากรโลกร้อยละ 8.4) อยู่ที่ร้อยละ 1.0
          • ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกสูงที่สุด คิดเป็น 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกทั้งหมด โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค 2 อันดับแรก ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของภูมิภาคยุโรปและเอเชียกลาง อเมริกาเหนือ เอเชียใต้ ละตินอเมริกาและแคริบเบียน ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และแอฟริกาเขตใต้ทะเลทรายซาฮารา อยู่ที่ร้อยละ 25.6 16.9 9.3 7.3 4.8 และ 3.5 ตามลำดับ
          • 3 ใน 4 ของประชากรโลกมีความสามารถในการซื้อต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการบริโภคส่วนบุคคลของโลก (Actual Individual Consumption (AIC) per Capita; หน่วย : เหรียญสหรัฐ ($)) ซึ่งอยู่ที่ $12,948 ต่อปี หรือหากเทียบเป็นดัชนีเท่ากับ 100 (AIC per Capita Index = 100) ประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก 3 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา ลักเซมเบิร์ก และเบอร์มิวดา โดยมีค่าการบริโภคส่วนบุคคลอยู่ที่ $52,654 (ดัชนี = 401) $47,419 (ดัชนี = 366) และ $44,806 (ดัชนี = 346) ตามลำดับ ส่วนค่าการบริโภคส่วนบุคคลของประเทศไทยอยู่ที่ $13,429 ต่อปี (ดัชนี = 104) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน (สิงคโปร์ $35,066 (ดัชนี = 271) บรูไน $23,492 (ดัชนี = 181) มาเลเซีย $21,122 (ดัชนี = 163) อินโดนีเซีย $7,642 (ดัชนี = 59) เวียดนาม $7,624 (ดัชนี = 59) ฟิลิปปินส์ $7,381 (ดัชนี = 57) ลาว $4,296 (ดัชนี = 33) และกัมพูชา $3,284 (ดัชนี = 25))
          • เมื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว  (GDP per Capita; หน่วย : เหรียญสหรัฐ ($)) พบว่า ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ ลักเซมเบิร์ก ($137,948) สิงคโปร์ ($131,864) และไอร์แลนด์ ($114,451) โดยค่าเฉลี่ย GDP per Capita ของโลกอยู่ที่ $20,271 ส่วนของประเทศไทยใกล้เคียงกับประเทศจีน คือ $20,838 และ $20,407 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของอาเซียน (บรูไน $80,203 มาเลเซีย $31,389 อินโดนีเซีย $12,948 เวียดนาม $12,090 ฟิลิปปินส์ $9,091 ลาว $8,315 และกัมพูชา $4,667)
          • เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจและวิเคราะห์รอบปี พ.ศ. 2560 – 2563  พบว่า จีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ยังคงเป็น 3 ประเทศแรกที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกของประเทศไทยคงที่ที่ร้อยละ 1.0 และยังคงสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับรอบปีปัจจุบัน สำหรับ AIC per Capita สหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่มีค่าการบริโภคส่วนบุคคลสูงที่สุดในโลก ขณะที่อันดับ 2 และ 3 มีการเปลี่ยนแปลงจากฮ่องกงและนอร์เวย์ มาเป็นลักเซมเบิร์กและเบอร์มิวดา ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 3 ขณะที่สิงคโปร์ยังครองอันดับ 1 บรูไนอันดับ 2 และมาเลเซียขยับจากอันดับ 2 ลงมาอยู่อันดับ 3 สำหรับ GDP per Capita มีการเปลี่ยนแปลง 3 อันดับแรก จาก กาตาร์ ไอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ มาเป็นลักเซมเบิร์ก สิงคโปร์ และไอร์แลนด์ ส่วนประเทศไทยขยับลงมาอยู่อันดับ 4 ของอาเซียน จากที่เคยอยู่อันดับ 2 รองจากมาเลเซีย

          ผอ.สนค. ชี้ว่า ในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศ รอบปี พ.ศ. 2564 – 2566 ประเทศไทยมีค่าการบริโภคส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกเล็กน้อย และสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ซึ่งใกล้เคียงกับผลการสำรวจและวิเคราะห์รอบปี พ.ศ. 2560 – 2563 อนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของอันดับต่าง ๆ ในการสำรวจครั้งนี้สะท้อนถึงความสามารถในการฟื้นตัวหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ICP นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำและพัฒนาข้อมูลดัชนีเศรษฐกิจการค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายในการจัดทำเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ

เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567