พาณิชย์ระดมสมองทุกภาคส่วน วางยุทธศาสตร์เร่งเครื่องส่งออกไทยสู่เวทีโลก

พาณิชย์ระดมสมองทุกภาคส่วน วางยุทธศาสตร์เร่งเครื่องส่งออกไทยสู่เวทีโลก

avatar

Administrator


181


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/ข่าว พาณิชย์ระดมสมองทุกภาคส่วน วางยุทธศาสตร์เร่งเครื่องส่งออกไทยสู่เวทีโลก.pdf" target="_blank">ข่าว พาณิชย์ระดมสมองทุกภาคส่วน วางยุทธศาสตร์เร่งเครื่องส่งออกไทยสู่เวทีโลก.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<em>สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน กว่า 40 หน่วยงาน ในประเด็นการพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ&nbsp;พ.ศ. 2568 &ndash; 2570 โดยที่ประชุมเห็นชอบ 4 ประเด็นการพัฒนาสำคัญ ได้แก่ (1) การยกระดับการส่งเสริมสินค้าส่งออกที่มุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มีศักยภาพสอดรับกับกระแสโลกและความต้องการของตลาดในอนาคต&nbsp;(2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ (3) การสนับสนุนการใช้นวัตกรรม และยกระดับมาตรฐานสินค้า และ (4) การคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ สร้างความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมทางการค้าให้ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก</em></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความสำคัญของภาคการส่งออกในฐานะกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการส่งออกไทยกำลังเผชิญความท้าทายและปัญหาเชิงโครงสร้างมากมาย อีกทั้งมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว จึงจำเป็นต้องระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดแนวทางผลักดันการส่งออกร่วมกัน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แผนการพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้การส่งออกมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยที่ประชุมได้เห็นชอบ <u>4 ประเด็นการพัฒนาสำคัญ</u> ในการพลิกโฉมการส่งออกไทย ประกอบด้วย <strong>(1) การยกระดับการส่งเสริมสินค้าส่งออกที่มุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มีศักยภาพสอดรับกับกระแสโลกและความต้องการของตลาดในอนาคต</strong> โดยมุ่งเน้นส่งเสริมสินค้าตามแนวคิด BCG สินค้าสำหรับยุค Next Normal อาทิ สินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าเกษตรมูลค่าสูง สินค้าอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องมือแพทย์ สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการกระจายสัดส่วนตลาดส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และการปรับการส่งเสริมการค้าในตลาดหลักให้เป็นการส่งเสริมแบบรายเมือง/มณฑล/รัฐ <strong>(2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ</strong> ผ่านการจัดทำ FTA เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และแสวงหาพันธมิตรและคู่ค้าในตลาดใหม่ ๆ ผ่านการใช้กรอบความร่วมมือกับต่างประเทศให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA <strong>(3) สนับสนุนการใช้นวัตกรรม และยกระดับมาตรฐานสินค้า</strong> เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการผลิต รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น และ <strong>(4) คุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ</strong> สร้างความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางการค้าให้ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ผ่านการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการทางการค้าให้เอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจยุคใหม่ และสามารถรักษาผลประโยชน์ทางการค้า พร้อมทั้งสอดรับกับบริบททางการค้าระหว่างประเทศ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นายพูนพงษ์ฯ ได้กล่าวขอบคุณผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการพัฒนาและยกระดับสินค้าส่งออกไทย ภาคเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ&nbsp;เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และสร้างความยั่งยืนให้กับผู้ส่งออกไทยในห่วงโซ่การผลิตระดับโลก</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

         สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน กว่า 40 หน่วยงาน ในประเด็นการพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ พ.ศ. 2568 – 2570 โดยที่ประชุมเห็นชอบ 4 ประเด็นการพัฒนาสำคัญ ได้แก่ (1) การยกระดับการส่งเสริมสินค้าส่งออกที่มุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มีศักยภาพสอดรับกับกระแสโลกและความต้องการของตลาดในอนาคต (2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ (3) การสนับสนุนการใช้นวัตกรรม และยกระดับมาตรฐานสินค้า และ (4) การคุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ สร้างความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมทางการค้าให้ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

         วันที่ 26 สิงหาคม 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความสำคัญของภาคการส่งออกในฐานะกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการส่งออกไทยกำลังเผชิญความท้าทายและปัญหาเชิงโครงสร้างมากมาย อีกทั้งมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว จึงจำเป็นต้องระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดแนวทางผลักดันการส่งออกร่วมกัน

          แผนการพัฒนาและยกระดับการส่งออกของไทย มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้การส่งออกมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยที่ประชุมได้เห็นชอบ 4 ประเด็นการพัฒนาสำคัญ ในการพลิกโฉมการส่งออกไทย ประกอบด้วย (1) การยกระดับการส่งเสริมสินค้าส่งออกที่มุ่งเป้าไปยังสินค้าที่มีศักยภาพสอดรับกับกระแสโลกและความต้องการของตลาดในอนาคต โดยมุ่งเน้นส่งเสริมสินค้าตามแนวคิด BCG สินค้าสำหรับยุค Next Normal อาทิ สินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าเกษตรมูลค่าสูง สินค้าอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องมือแพทย์ สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการกระจายสัดส่วนตลาดส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูง และการปรับการส่งเสริมการค้าในตลาดหลักให้เป็นการส่งเสริมแบบรายเมือง/มณฑล/รัฐ (2) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ ผ่านการจัดทำ FTA เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน และแสวงหาพันธมิตรและคู่ค้าในตลาดใหม่ ๆ ผ่านการใช้กรอบความร่วมมือกับต่างประเทศให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA (3) สนับสนุนการใช้นวัตกรรม และยกระดับมาตรฐานสินค้า เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการผลิต รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาให้มากขึ้น และ (4) คุ้มครองผู้ประกอบการภายในประเทศ สร้างความเข้มแข็งและเป็นธรรมทางการค้าให้ผู้ส่งออกไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ผ่านการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรการทางการค้าให้เอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการประกอบธุรกิจยุคใหม่ และสามารถรักษาผลประโยชน์ทางการค้า พร้อมทั้งสอดรับกับบริบททางการค้าระหว่างประเทศ

           นายพูนพงษ์ฯ ได้กล่าวขอบคุณผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการพัฒนาและยกระดับสินค้าส่งออกไทย ภาคเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และสร้างความยั่งยืนให้กับผู้ส่งออกไทยในห่วงโซ่การผลิตระดับโลก

เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567