พาณิชย์! เสริมแกร่ง ติดปีกธุรกิจล้งผลไม้

พาณิชย์! เสริมแกร่ง ติดปีกธุรกิจล้งผลไม้

avatar

Administrator


262


หมวดหมู่:

<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์เสริมแกร่ง ติดปีกธุรกิจล้งผลไม้.pdf" target="_blank">พาณิชย์เสริมแกร่ง ติดปีกธุรกิจล้งผลไม้.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จับมือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงาน &ldquo;ติดปีกล้งผลไม้ เสริมแกร่งไทยสู่เวทีโลก&rdquo; เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาแนวทางส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้งผลไม้) รวมทั้งมีการเสวนา &ldquo;ล้งผลไม้ไทย: ปัญหาอุปสรรค โอกาส และความท้าทาย&rdquo; เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ ห้องฉลาดลบเลอสรรค์ กระทรวงพาณิชย์&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่าได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโรงคัดบรรจุผลไม้ โดยมี TDRI เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ของธุรกิจล้งผลไม้ทั้งของผู้ประกอบการไทยและต่างชาติรวมทั้งนโยบาย มาตรการและกฎระเบียบด้านการค้า และศึกษาผลกระทบของธุรกิจล้งผลไม้ของต่างชาติที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานผลไม้ไทย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทัศนคติ มุมมอง และความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อธุรกิจล้งผลไม้ของต่างชาติ โครงการศึกษาฯ ครอบคลุมผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย และมะพร้าวน้ำหอม โดยที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่หลายจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน จันทบุรี ราชบุรี และชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จากการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิชาการและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ล้งผลไม้ต่างชาติมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการค้าผลไม้ไทย ผลกระทบทางบวก ได้แก่ (1) ตลาดส่งออกผลไม้ไทยขยายตัว ล้งจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในไทยตั้งแต่ปี 2546 ที่ไทยกับจีนยกเลิกภาษีนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และส่งผลให้การส่งออกผลไม้จากไทยไปจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง (2) สร้างแรงจูงใจในการผลิตผลไม้คุณภาพ เนื่องจากราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพ จึงทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการผลิตผลไม้ให้ได้มาตรฐานการส่งออก (3) เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เนื่องจากตลาดจีนมีความต้องการสูง ทำให้มีการตั้งล้งผลไม้ในแหล่งเพาะปลูกมากขึ้น (4) ล้งไทยมีรายได้จากการทำธุรกิจคัดบรรจุผลไม้ (5) เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ลดการพึ่งพาหรือรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง และแก้ไขปัญหาเกษตรกรถูกกดราคา (6) ราคาผลไม้สูงขึ้น โดยล้งต่างชาติช่วยทำให้ราคาผลไม้ขยับสูงขึ้น ส่งผลดีต่อระบบราคาผลไม้โดยรวม (7) เพิ่มรายได้ด้านภาษีของรัฐบาล และ (8) ช่วยแก้ปัญหาการขายผลไม้แบบเหมาสวนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบด้านราคาและสัญญาไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรที่ยังนิยมจะขายผลไม้แบบเหมาสวน เนื่องจากสะดวกและช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีตลาดรองรับที่แน่นอนและได้รับเงินมัดจำล่วงหน้าเป็นทุนในการดูแลสวน</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับผลกระทบทางลบ ได้แก่ (1) เพิ่มการพึ่งพาตลาดจีน เป็นปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจการค้า (2) ข้อกังวลเรื่องการครอบงำตลาดของล้งจีน นักลงทุนจีนเข้ามาทำธุรกิจล้งผลไม้ในไทยเพิ่มขึ้น มีบทบาทตลอดห่วงโซ่อุปทานและขยายการซื้อขายผลไม้ไปในหลายจังหวัด มีข้อกังวลเรื่องการผูกขาดตลาดและสามารถกำหนดราคาผลไม้ไทยในอนาคต (3) ล้งไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ในขณะที่การส่งออกผลไม้ของไทยขยายตัว แต่ล้งไทยกลับสูญเสียส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากล้งไทยส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รวบรวมผลไม้เพื่อส่งออกซึ่งได้ผลกำไรน้อย และล้งไทยยังประสบปัญหาการเข้าถึงตลาดจีนเนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินทุน ภาษา และกฎระเบียบ (4) ข้อกังวลเรื่องการครอบครองที่ดิน มีข้อกังวลว่าล้งจีนจะเข้ามาซื้อที่ดินและเป็นเจ้าของพื้นที่ปลูกผลไม้ โดยใช้คนไทยเป็นตัวแทน (นอมินี) ซึ่งอาจส่งผลต่อการครอบครองที่ดินในอนาคต และ (5) ความเสี่ยงในพฤติกรรมการร่วมกำหนดราคารับซื้อ หรือการฮั้วกดราคาผลไม้&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; TDRI ชี้ถึงแนวทางการยกระดับล้งผลไม้ไทย 4 ด้าน เพื่อพัฒนาการแข่งขันและรักษาผู้นำตลาดผลไม้เมืองร้อนอย่างแข็งแกร่ง ดังนี้ (1) การขยายตลาดไปยังภูมิศาสตร์ใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย และตลาดที่มีคนเอเชียอยู่มาก ทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น เพิ่มงบประมาณและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในต่างประเทศ (2) การกำกับดูแล เพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น ติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบคุณภาพผลไม้ที่ออกสู่ตลาด และการตรวจสอบความเป็นเจ้าของที่ดินของล้งต่างชาติ (3) การเพิ่มศักยภาพล้งผลไม้ไทย โดยรัฐสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนการรวมกลุ่มของล้งผลไม้ไทยและเกษตรกรชาวสวนผลไม้ สนับสนุนความรู้และการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและคุณภาพของผลผลิต และสนับสนุนให้ล้งไทยมีความสามารถในการส่งออกได้ด้วยตนเอง และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของทีมเก็บเกี่ยวเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพของผลไม้ และ (4) การพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงลึก&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นายพูนพงษ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันมีล้งผลไม้ในไทยมากกว่า 2,122 ราย ซึ่งการเข้ามาของต่างชาติ เป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย หากเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยปรับตัวเร่งพัฒนาคุณภาพและขยายตลาดผลไม้ให้กว้างขวางมากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียวมากเกินไป อีกทั้งช่วยสร้างความมั่นคงทางอาชีพ สร้างรายได้ และเสริมสร้างให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลกได้อย่างแน่นอน โดย สนค. จะเผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านเว็บไซต์ www.tpso.go.th เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลายต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จับมือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดงาน “ติดปีกล้งผลไม้ เสริมแกร่งไทยสู่เวทีโลก” เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาแนวทางส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้งผลไม้) รวมทั้งมีการเสวนา “ล้งผลไม้ไทย: ปัญหาอุปสรรค โอกาส และความท้าทาย” เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ ห้องฉลาดลบเลอสรรค์ กระทรวงพาณิชย์ 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่าได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโรงคัดบรรจุผลไม้ โดยมี TDRI เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ของธุรกิจล้งผลไม้ทั้งของผู้ประกอบการไทยและต่างชาติรวมทั้งนโยบาย มาตรการและกฎระเบียบด้านการค้า และศึกษาผลกระทบของธุรกิจล้งผลไม้ของต่างชาติที่มีต่อห่วงโซ่อุปทานผลไม้ไทย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ทัศนคติ มุมมอง และความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อธุรกิจล้งผลไม้ของต่างชาติ โครงการศึกษาฯ ครอบคลุมผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด ลำไย และมะพร้าวน้ำหอม โดยที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่หลายจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน จันทบุรี ราชบุรี และชุมพร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ส่งออกสำคัญของไทย 

          จากการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิชาการและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ล้งผลไม้ต่างชาติมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการค้าผลไม้ไทย ผลกระทบทางบวก ได้แก่ (1) ตลาดส่งออกผลไม้ไทยขยายตัว ล้งจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในไทยตั้งแต่ปี 2546 ที่ไทยกับจีนยกเลิกภาษีนำเข้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และส่งผลให้การส่งออกผลไม้จากไทยไปจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง (2) สร้างแรงจูงใจในการผลิตผลไม้คุณภาพ เนื่องจากราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพ จึงทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการผลิตผลไม้ให้ได้มาตรฐานการส่งออก (3) เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เนื่องจากตลาดจีนมีความต้องการสูง ทำให้มีการตั้งล้งผลไม้ในแหล่งเพาะปลูกมากขึ้น (4) ล้งไทยมีรายได้จากการทำธุรกิจคัดบรรจุผลไม้ (5) เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย ลดการพึ่งพาหรือรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง และแก้ไขปัญหาเกษตรกรถูกกดราคา (6) ราคาผลไม้สูงขึ้น โดยล้งต่างชาติช่วยทำให้ราคาผลไม้ขยับสูงขึ้น ส่งผลดีต่อระบบราคาผลไม้โดยรวม (7) เพิ่มรายได้ด้านภาษีของรัฐบาล และ (8) ช่วยแก้ปัญหาการขายผลไม้แบบเหมาสวนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียเปรียบด้านราคาและสัญญาไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรที่ยังนิยมจะขายผลไม้แบบเหมาสวน เนื่องจากสะดวกและช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีตลาดรองรับที่แน่นอนและได้รับเงินมัดจำล่วงหน้าเป็นทุนในการดูแลสวน

          สำหรับผลกระทบทางลบ ได้แก่ (1) เพิ่มการพึ่งพาตลาดจีน เป็นปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจการค้า (2) ข้อกังวลเรื่องการครอบงำตลาดของล้งจีน นักลงทุนจีนเข้ามาทำธุรกิจล้งผลไม้ในไทยเพิ่มขึ้น มีบทบาทตลอดห่วงโซ่อุปทานและขยายการซื้อขายผลไม้ไปในหลายจังหวัด มีข้อกังวลเรื่องการผูกขาดตลาดและสามารถกำหนดราคาผลไม้ไทยในอนาคต (3) ล้งไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ในขณะที่การส่งออกผลไม้ของไทยขยายตัว แต่ล้งไทยกลับสูญเสียส่วนแบ่งตลาด เนื่องจากล้งไทยส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รวบรวมผลไม้เพื่อส่งออกซึ่งได้ผลกำไรน้อย และล้งไทยยังประสบปัญหาการเข้าถึงตลาดจีนเนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินทุน ภาษา และกฎระเบียบ (4) ข้อกังวลเรื่องการครอบครองที่ดิน มีข้อกังวลว่าล้งจีนจะเข้ามาซื้อที่ดินและเป็นเจ้าของพื้นที่ปลูกผลไม้ โดยใช้คนไทยเป็นตัวแทน (นอมินี) ซึ่งอาจส่งผลต่อการครอบครองที่ดินในอนาคต และ (5) ความเสี่ยงในพฤติกรรมการร่วมกำหนดราคารับซื้อ หรือการฮั้วกดราคาผลไม้ 

          TDRI ชี้ถึงแนวทางการยกระดับล้งผลไม้ไทย 4 ด้าน เพื่อพัฒนาการแข่งขันและรักษาผู้นำตลาดผลไม้เมืองร้อนอย่างแข็งแกร่ง ดังนี้ (1) การขยายตลาดไปยังภูมิศาสตร์ใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย และตลาดที่มีคนเอเชียอยู่มาก ทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น เพิ่มงบประมาณและกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในต่างประเทศ (2) การกำกับดูแล เพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ เช่น ติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบคุณภาพผลไม้ที่ออกสู่ตลาด และการตรวจสอบความเป็นเจ้าของที่ดินของล้งต่างชาติ (3) การเพิ่มศักยภาพล้งผลไม้ไทย โดยรัฐสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนการรวมกลุ่มของล้งผลไม้ไทยและเกษตรกรชาวสวนผลไม้ สนับสนุนความรู้และการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและคุณภาพของผลผลิต และสนับสนุนให้ล้งไทยมีความสามารถในการส่งออกได้ด้วยตนเอง และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของทีมเก็บเกี่ยวเพื่อรักษามาตรฐานคุณภาพของผลไม้ และ (4) การพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงลึก 

          นายพูนพงษ์กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันมีล้งผลไม้ในไทยมากกว่า 2,122 ราย ซึ่งการเข้ามาของต่างชาติ เป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย หากเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยปรับตัวเร่งพัฒนาคุณภาพและขยายตลาดผลไม้ให้กว้างขวางมากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียวมากเกินไป อีกทั้งช่วยสร้างความมั่นคงทางอาชีพ สร้างรายได้ และเสริมสร้างให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลกได้อย่างแน่นอน โดย สนค. จะเผยแพร่รายงานฉบับสมบูรณ์ผ่านเว็บไซต์ www.tpso.go.th เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลายต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 02 กันยายน 2567