พาณิชย์หารือร่วมพันธมิตร รัฐ เอกชน กำหนดแนวทางการส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย

พาณิชย์หารือร่วมพันธมิตร รัฐ เอกชน กำหนดแนวทางการส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย

avatar

Administrator


199


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์หารือร่วมพันธมิตร รัฐ เอกชน กำหนดแนวทางการส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร.pdf" target="_blank">พาณิชย์หารือร่วมพันธมิตร รัฐ เอกชน กำหนดแนวทางการส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร.pdf</a></p>

<p><em><strong>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมรับฟังความเห็นแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ &nbsp;พ.ศ. 2568 &ndash; 2570 เพื่อหารือและรับฟังความเห็นต่อประเด็นและแนวทางในการวางแผนพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบ 5 ประเด็นหลักของแนวทางการพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมไทย</strong></em>&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ &nbsp;พ.ศ. 2568 &ndash; 2570 &nbsp;โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมรับฟังความเห็น ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจพื้นฐานและมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ GDP ภาคการเกษตรจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.6 ของ GDP ประเทศ แต่พื้นที่ทำการเกษตรในประเทศกลับมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 46.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีประชากรภาคเกษตรถึงร้อยละ 44.81 ของประชากรทั้งหมด และมีแรงงานภาคเกษตรถึงร้อยละ 48.75 ของแรงงานทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าภาคเกษตรมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยอย่างเป็นระบบ เป็นแนวทางให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินงานร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย โดยคาดหวังว่าร่างแผนปฏิบัติการฉบับนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กฎระเบียบการค้า และแนวโน้มใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของไทย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือกันอย่างกว้างขวางใน <strong>5 ประเด็นการพัฒนาสำคัญ</strong>ในการขับเคลื่อนการค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ <strong>(1) การส่งเสริมการจัดการปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรและโครงสร้างพื้นฐาน</strong> โดยการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ส่งเสริมธุรกิจบริการด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผลักดันการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตรในระดับท้องถิ่น <strong>(2) การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสินค้าเกษตร</strong> โดยการพัฒนาความรู้และทักษะของเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจในการต่อรอง และส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของภาครัฐ <strong>(3) การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและการค้าสินค้าเกษตรมูลค่าสูง</strong> โดยส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรแปรรูปและเกษตรมูลค่าสูง ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทย ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้การพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีสินค้าและคู่ค้าที่หลากหลาย <strong>(4) การส่งเสริมระบบตลาดสินค้าเกษตร</strong> เพื่อรักษาเสถียรภาพการค้าสินค้าเกษตร ส่งเสริมกลไกตลาดที่เป็นธรรม พัฒนาและเพิ่มช่องทางการตลาด และ ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และ <strong>(5) การอำนวยความสะดวกทางการค้า</strong> โดยการสนับสนุนการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร และยกระดับการให้บริการประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าเกษตร</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากรับฟังความคิดเห็นจนครบถ้วนแล้ว สนค. จะนำแผนดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ไทยมีแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติเป็นเข็มทิศในการกำหนดทิศทางการการค้าของประเทศ รวมทั้งมีแนวทางให้ภาคส่วนต่าง ๆ ดำเนินงานร่วมกัน อันจะช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันทางการค้า และเสริมแกร่งเศรษฐกิจไทยให้เติบอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมรับฟังความเห็นแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ  พ.ศ. 2568 – 2570 เพื่อหารือและรับฟังความเห็นต่อประเด็นและแนวทางในการวางแผนพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของไทย จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบ 5 ประเด็นหลักของแนวทางการพัฒนาการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมไทย 

          เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติ  พ.ศ. 2568 – 2570  โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมรับฟังความเห็น ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน เกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจพื้นฐานและมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ GDP ภาคการเกษตรจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.6 ของ GDP ประเทศ แต่พื้นที่ทำการเกษตรในประเทศกลับมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 46.06 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีประชากรภาคเกษตรถึงร้อยละ 44.81 ของประชากรทั้งหมด และมีแรงงานภาคเกษตรถึงร้อยละ 48.75 ของแรงงานทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าภาคเกษตรมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก

          การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการเรื่อง การค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยอย่างเป็นระบบ เป็นแนวทางให้ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินงานร่วมกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย โดยคาดหวังว่าร่างแผนปฏิบัติการฉบับนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กฎระเบียบการค้า และแนวโน้มใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ที่จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของไทย

          ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือกันอย่างกว้างขวางใน 5 ประเด็นการพัฒนาสำคัญในการขับเคลื่อนการค้าสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ (1) การส่งเสริมการจัดการปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรและโครงสร้างพื้นฐาน โดยการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต ส่งเสริมธุรกิจบริการด้านการเกษตรตลอดห่วงโซ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผลักดันการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการลงทุนภาคเกษตรในระดับท้องถิ่น (2) การส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะผู้ประกอบการสินค้าเกษตร โดยการพัฒนาความรู้และทักษะของเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจในการต่อรอง และส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของภาครัฐ (3) การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและการค้าสินค้าเกษตรมูลค่าสูง โดยส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรแปรรูปและเกษตรมูลค่าสูง ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทย ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้การพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีสินค้าและคู่ค้าที่หลากหลาย (4) การส่งเสริมระบบตลาดสินค้าเกษตร เพื่อรักษาเสถียรภาพการค้าสินค้าเกษตร ส่งเสริมกลไกตลาดที่เป็นธรรม พัฒนาและเพิ่มช่องทางการตลาด และ ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และ (5) การอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยการสนับสนุนการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าสินค้าเกษตร และยกระดับการให้บริการประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าเกษตร

          ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากรับฟังความคิดเห็นจนครบถ้วนแล้ว สนค. จะนำแผนดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอนต่อไป เพื่อให้ไทยมีแผนปฏิบัติการด้านการค้าแห่งชาติเป็นเข็มทิศในการกำหนดทิศทางการการค้าของประเทศ รวมทั้งมีแนวทางให้ภาคส่วนต่าง ๆ ดำเนินงานร่วมกัน อันจะช่วยเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันทางการค้า และเสริมแกร่งเศรษฐกิจไทยให้เติบอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อวันที่ 06 กันยายน 2567