สนค. ยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ช่วยสร้างมาตรฐานและบูรณาการข้อมูล เพื่อโอกาสทางการค้าและความยั่งยืน

สนค. ยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ช่วยสร้างมาตรฐานและบูรณาการข้อมูล เพื่อโอกาสทางการค้าและความยั่งยืน

avatar

Administrator


257


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/สนค. ยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ช่วยสร้างมาตรฐานและบูรณาการข้อมูล_2.pdf" target="_blank">สนค. ยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ช่วยสร้างมาตรฐานและบูรณาการข้อมูล_2.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงานสัมมนานำเสนอผลการดำเนินโครงการ Blockchain ยกระดับเศรษฐกิจการค้า ระยะที่ 5 โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างความตระหนักในระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า และรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอแนะในแนวทางและทิศทางของการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่เหมาะสมในอนาคต โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร และทางออนไลน์กว่า 150 ราย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นายวิชานัน นิวาตจินดา</strong> <strong>รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า</strong>&nbsp;ประธานงานสัมมนา เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดย สนค. เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain ในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรไทย จึงดำเนินโครงการประยุกต์ใช้ Blockchain ยกระดับเศรษฐกิจการค้า โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการติดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิต การรวบรวม การบรรจุหีบห่อ และการจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจต่อมาตรฐานและคุณภาพสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานระบบต้นแบบฯ รวม 160 ราย/กลุ่ม และครอบคลุมสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ปศุสัตว์ ประมง พืชอื่น ๆ และอาหารแปรรูป ในการสัมมนาครั้งนี้&nbsp;<strong>ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช</strong>&nbsp;หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินการ ประกอบด้วย การสร้างการรับรู้และฝึกอบรมการใช้งานระบบต้นแบบฯ ทำให้มีกลุ่มนำร่องผู้ใช้งานระบบต้นแบบฯ และการศึกษาและจัดทำร่างข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานจริงในการดำเนินธุรกิจและการดำเนินงานของภาครัฐได้ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้ที่สนใจ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกจากนี้ ในช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก&nbsp;<strong>นางสาวสุปราณี ก้องเกียรติกมล</strong>&nbsp;ผู้อำนวยการส่วนยุโรป 1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ให้ความรู้และนำเสนอข้อมูลระเบียบทางการค้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ ได้แก่ (1) กฎกติกาการค้าระหว่างประเทศ (2) กรอบความร่วมมือ นโยบาย และแผนงานของต่างประเทศ (3) มาตรการฝ่ายเดียวของภาครัฐประเทศต่าง ๆ และ (4) มาตรการของภาคส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม อาทิ กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation Regulation: EUDR) และมาตรการตรวจสอบย้อนกลับธุรกิจอย่างยั่งยืน (Corporate Sustainable Due Diligence) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การตรวจสอบย้อนกลับมีความสำคัญเพิ่มขึ้นและซับซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการควรติดตามแนวโน้มของนโยบายและมาตรการทางการค้าใหม่ ๆ และมองวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือปรับปรุงองค์กร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาในหัวข้อ&nbsp;<strong>&ldquo;เจาะลึกระบบตรวจสอบย้อนกลับ: โอกาสการค้าและความยั่งยืน&rdquo;</strong>&nbsp;ได้รับเกียรติจากวิทยากรจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เกี่ยวกับความสำคัญและการใช้งานระบบตรวจสอบย้อนกลับ ที่จะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมรองรับกฎกติกาการค้าสมัยใหม่ สามารถควบคุมคุณภาพและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นางสาวเบญจมาศ สืบเนียม</strong>&nbsp;ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เน้นย้ำว่า ปัจจุบัน แนวโน้มความต้องการสินค้าปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ในตลาดมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การตามสอบสินค้าได้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง มกอช. ได้พัฒนามาตรฐานและให้เครื่องหมายรับรอง Q สำหรับสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนามาตรฐานและระบบตามสอบสินค้าเกษตรบนระบบคลาวด์ อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานระบบส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าให้กับห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีศักยภาพในการบันทึกข้อมูล</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์&nbsp;</strong>ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ให้ข้อมูลว่า กยท. ได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อรองรับกฎหมาย EUDR พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงของเกษตรกรที่จะขายยางให้กับตลาดกลางของ กยท. อาทิ การบุกรุกป่า การชำระภาษี และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน EUDR จะมีราคายางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี กยท. ยังต้องพัฒนากลไกตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อไม่ให้เกษตรกรขายสินค้าที่พิกัดซ้ำกัน ซึ่งทำให้ผลผลิตยางเกินกว่ากำลังการผลิตจริง</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์</strong>&nbsp;รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า บริษัทฯ เป็นผู้จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีประเด็นเรื่องความยั่งยืน จึงได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับที่บันทึกข้อมูลบน Private Blockchain เพื่อสร้างความโปร่งใสในการควบคุมห่วงโซ่อุปทานในประเทศ ลดความเสี่ยงจากการบุกรุกพื้นที่ป่า และตรวจสอบการเผาแปลงปลูก ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา PM2.5</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นายกิตติ พงศ์กิตติวัฒนา</strong>&nbsp;นักวิเคราะห์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ชี้แจงว่า เนคเทคได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับการส่งออกทุเรียนมาตรฐาน GAP ที่ส่งออกไปจีน ซึ่งระบบตรวจสอบย้อนกลับช่วยยกระดับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุเรียนไทย พร้อมทั้งได้ให้ข้อคิดเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐควรเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>นางกนิษฐา ตรีรัตนภรณ์</strong>&nbsp;กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องใช้งานระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com มากว่า 4 ปี ให้ความเห็นว่า ระบบต้นแบบฯ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความโปร่งใสของข้อมูล และขยายโอกาสการส่งออกสินค้าอินทรีย์ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ไทย</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รอง ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า ระบบตรวจสอบย้อนกลับจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และข้อกำหนดมาตรการและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ ๆ ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ข้อมูลและความเห็นที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการปรับปรุงแนวทางและทิศทางการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ประเทศในอนาคตมากที่สุดต่อไป</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

         เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงานสัมมนานำเสนอผลการดำเนินโครงการ Blockchain ยกระดับเศรษฐกิจการค้า ระยะที่ 5 โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างความตระหนักในระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า และรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอแนะในแนวทางและทิศทางของการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่เหมาะสมในอนาคต โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ เข้าร่วมสัมมนา ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร และทางออนไลน์กว่า 150 ราย

          นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ประธานงานสัมมนา เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดย สนค. เห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain ในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรไทย จึงดำเนินโครงการประยุกต์ใช้ Blockchain ยกระดับเศรษฐกิจการค้า โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการติดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตรอินทรีย์ในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเพาะปลูก การผลิต การรวบรวม การบรรจุหีบห่อ และการจัดจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจต่อมาตรฐานและคุณภาพสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานระบบต้นแบบฯ รวม 160 ราย/กลุ่ม และครอบคลุมสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ปศุสัตว์ ประมง พืชอื่น ๆ และอาหารแปรรูป ในการสัมมนาครั้งนี้ ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช หัวหน้าคณะที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินการ ประกอบด้วย การสร้างการรับรู้และฝึกอบรมการใช้งานระบบต้นแบบฯ ทำให้มีกลุ่มนำร่องผู้ใช้งานระบบต้นแบบฯ และการศึกษาและจัดทำร่างข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานจริงในการดำเนินธุรกิจและการดำเนินงานของภาครัฐได้ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และผู้ที่สนใจ

         นอกจากนี้ ในช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก นางสาวสุปราณี ก้องเกียรติกมล ผู้อำนวยการส่วนยุโรป 1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ให้ความรู้และนำเสนอข้อมูลระเบียบทางการค้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ ได้แก่ (1) กฎกติกาการค้าระหว่างประเทศ (2) กรอบความร่วมมือ นโยบาย และแผนงานของต่างประเทศ (3) มาตรการฝ่ายเดียวของภาครัฐประเทศต่าง ๆ และ (4) มาตรการของภาคส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม อาทิ กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation Regulation: EUDR) และมาตรการตรวจสอบย้อนกลับธุรกิจอย่างยั่งยืน (Corporate Sustainable Due Diligence) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การตรวจสอบย้อนกลับมีความสำคัญเพิ่มขึ้นและซับซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการควรติดตามแนวโน้มของนโยบายและมาตรการทางการค้าใหม่ ๆ และมองวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือปรับปรุงองค์กร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการดำเนินธุรกิจ

          ในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาในหัวข้อ “เจาะลึกระบบตรวจสอบย้อนกลับ: โอกาสการค้าและความยั่งยืน” ได้รับเกียรติจากวิทยากรจากภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เกี่ยวกับความสำคัญและการใช้งานระบบตรวจสอบย้อนกลับ ที่จะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมรองรับกฎกติกาการค้าสมัยใหม่ สามารถควบคุมคุณภาพและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          นางสาวเบญจมาศ สืบเนียม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เน้นย้ำว่า ปัจจุบัน แนวโน้มความต้องการสินค้าปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ในตลาดมีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การตามสอบสินค้าได้จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง มกอช. ได้พัฒนามาตรฐานและให้เครื่องหมายรับรอง Q สำหรับสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนามาตรฐานและระบบตามสอบสินค้าเกษตรบนระบบคลาวด์ อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานระบบส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าให้กับห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีศักยภาพในการบันทึกข้อมูล

          นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ให้ข้อมูลว่า กยท. ได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อรองรับกฎหมาย EUDR พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงของเกษตรกรที่จะขายยางให้กับตลาดกลางของ กยท. อาทิ การบุกรุกป่า การชำระภาษี และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน EUDR จะมีราคายางเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี กยท. ยังต้องพัฒนากลไกตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อไม่ให้เกษตรกรขายสินค้าที่พิกัดซ้ำกัน ซึ่งทำให้ผลผลิตยางเกินกว่ากำลังการผลิตจริง

          นายวรพจน์ สุรัตวิศิษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า บริษัทฯ เป็นผู้จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีประเด็นเรื่องความยั่งยืน จึงได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับที่บันทึกข้อมูลบน Private Blockchain เพื่อสร้างความโปร่งใสในการควบคุมห่วงโซ่อุปทานในประเทศ ลดความเสี่ยงจากการบุกรุกพื้นที่ป่า และตรวจสอบการเผาแปลงปลูก ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา PM2.5

          นายกิตติ พงศ์กิตติวัฒนา นักวิเคราะห์ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ชี้แจงว่า เนคเทคได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับการส่งออกทุเรียนมาตรฐาน GAP ที่ส่งออกไปจีน ซึ่งระบบตรวจสอบย้อนกลับช่วยยกระดับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุเรียนไทย พร้อมทั้งได้ให้ข้อคิดเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐควรเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          นางกนิษฐา ตรีรัตนภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องใช้งานระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com มากว่า 4 ปี ให้ความเห็นว่า ระบบต้นแบบฯ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความโปร่งใสของข้อมูล และขยายโอกาสการส่งออกสินค้าอินทรีย์ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs ไทย

          รอง ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า ระบบตรวจสอบย้อนกลับจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และข้อกำหนดมาตรการและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ ๆ ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ข้อมูลและความเห็นที่ได้รับจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการปรับปรุงแนวทางและทิศทางการพัฒนาระบบต้นแบบการตรวจสอบย้อนกลับ TraceThai.com ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ประเทศในอนาคตมากที่สุดต่อไป

เผยแพร่เมื่อวันที่ 07 กันยายน 2567