พาณิชย์ จัดสัมมนา ชี้แนวทางรัฐและเอกชนปรับใช้นวัตกรรมดันธุรกิจโลจิสติกส์

พาณิชย์ จัดสัมมนา ชี้แนวทางรัฐและเอกชนปรับใช้นวัตกรรมดันธุรกิจโลจิสติกส์

avatar

Administrator


210


<p><strong>ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม:&nbsp;</strong><a href="https://uploads.tpso.go.th/พาณิชย์ จัดสัมมนา ชี้แนวทางรัฐและเอกชนปรับใช้นวัตกรรมดันธุรกิจโลจิสติกส์_1.pdf" target="_blank">พาณิชย์ จัดสัมมนา ชี้แนวทางรัฐและเอกชนปรับใช้นวัตกรรมดันธุรกิจโลจิสติกส์_1.pdf</a></p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) &nbsp;กระทรวงพาณิชย์ จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และผลักดันให้หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จำนวนกว่า 100 หน่วยงาน รับทราบและนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปปรับใช้และขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<strong> นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์</strong> <strong>ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์</strong> ประธานเปิดงานสัมมนา (17 ก.ย. 67) เปิดเผยว่า สนค. ตระหนักถึงบทบาทของธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อศึกษาภาพรวมด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มการเติบโต ศักยภาพ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศต้นแบบที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาบริการโลจิสติกส์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ช่วยยกระดับการดำเนินกิจการ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และต่อยอดการส่งออกบริการได้<br />
ในอนาคต</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ผศ. ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล</strong> ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลผลการศึกษาโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) และดำเนินรายการสัมมนาสองช่วง ได้แก่ (1) นำเสนอร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจบริการ โดยได้รับเกียรติจาก <strong>นายปฐม อินทโรดม</strong> กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย <strong>นายพฤฒิพงศ์ เกตุปัญญา</strong> นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ<strong>นายคงฤทธิ์ จันทริก</strong> ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยร่วมให้ความเห็น และ (2) นำเสนอแนวทางสำหรับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยได้รับเกียรติจาก <strong>นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์</strong> นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ <strong>นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ</strong> ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์ SME ไทย <em>นางสาวสุนันทา ชาญสมาธิ</em> ผู้จัดการสมาคมธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น และ<strong>นายสิทธิศักดิ์ วงศ์สมนึก</strong> ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จิซทิกซ์ จำกัด ร่วมให้ความเห็น&nbsp;</p>

<p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <strong>ผอ.สนค.</strong> กล่าวทิ้งท้ายว่า งานสัมมนาในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนจะได้รับทราบผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ทั้งข้อเสนอสำหรับ<u>ภาครัฐ</u> ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ (1) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (2) การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมทักษะให้กับบุคลากรโลจิสติกส์ (3) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทย (4) การส่งเสริมการลงทุน หรือสิทธิพิเศษทางด้านภาษี (5) กฎหมายที่ส่งเสริม สนับสนุน ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ และ (6) ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและธุรกิจซอฟแวร์ และแนวทางสำหรับ<u>ภาคเอกชน</u> ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินความต้องการและความพร้อมขององค์กร (2) การพิจารณาคัดเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจ (3) การพัฒนาทักษะบุคลากร (4) การวางแผนและการดำเนินการที่เน้นขั้นตอน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี (5) การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยี (6) การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร (7) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภค (8) การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และ (9) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนำข้อเสนอดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนเป็นระบบ พร้อมรองรับความท้าทายและโอกาสในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล</p>

ดาวน์โหลดข้อมูลฉบับเต็ม: 

          สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)  กระทรวงพาณิชย์ จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โครงการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และผลักดันให้หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จำนวนกว่า 100 หน่วยงาน รับทราบและนำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปปรับใช้และขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนา (17 ก.ย. 67) เปิดเผยว่า สนค. ตระหนักถึงบทบาทของธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) เพื่อศึกษาภาพรวมด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มการเติบโต ศักยภาพ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศต้นแบบที่ผู้ประกอบการมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาบริการโลจิสติกส์ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการโลจิสติกส์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ช่วยยกระดับการดำเนินกิจการ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ และต่อยอดการส่งออกบริการได้
ในอนาคต

          ผศ. ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลผลการศึกษาโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในภาคบริการศักยภาพ (ธุรกิจบริการโลจิสติกส์) และดำเนินรายการสัมมนาสองช่วง ได้แก่ (1) นำเสนอร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐในการส่งเสริมผู้ประกอบการให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในธุรกิจบริการ โดยได้รับเกียรติจาก นายปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย นายพฤฒิพงศ์ เกตุปัญญา นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยร่วมให้ความเห็น และ (2) นำเสนอแนวทางสำหรับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคบริการโลจิสติกส์ โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ ประธานกิตติมศักดิ์สมาพันธ์ SME ไทย นางสาวสุนันทา ชาญสมาธิ ผู้จัดการสมาคมธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น และนายสิทธิศักดิ์ วงศ์สมนึก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จิซทิกซ์ จำกัด ร่วมให้ความเห็น 

          ผอ.สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า งานสัมมนาในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนจะได้รับทราบผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ทั้งข้อเสนอสำหรับภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ (1) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (2) การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมทักษะให้กับบุคลากรโลจิสติกส์ (3) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทย (4) การส่งเสริมการลงทุน หรือสิทธิพิเศษทางด้านภาษี (5) กฎหมายที่ส่งเสริม สนับสนุน ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ และ (6) ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทาน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและธุรกิจซอฟแวร์ และแนวทางสำหรับภาคเอกชน ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินความต้องการและความพร้อมขององค์กร (2) การพิจารณาคัดเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจ (3) การพัฒนาทักษะบุคลากร (4) การวางแผนและการดำเนินการที่เน้นขั้นตอน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี (5) การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยี (6) การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร (7) การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภค (8) การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และ (9) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถนำข้อเสนอดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนเป็นระบบ พร้อมรองรับความท้าทายและโอกาสในอนาคต เพื่อให้ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567